บ้านไทยภาคกลางมีลักษณะพิเศษในรูปทรงเป็นที่ประทับใจ ต่อท่านผู้มีรถสนิยมในศิลปะและมีความใครจะชมเราอยากเป็นเจ้าของทั้งนี้เพราะทรวดทรงเป็นแรงบันดาลใจเป็นประการสำคัญ ถึงแม้ในปัจจุบันสังคมทำให้ความเป็นอยู่ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าโบราณแต่ท่านผู้รักศิลปะยังคงเคลิ้มฝันต่อทรวดทรงของบ้านไทยโดยผสมผสานหน้าที่ใช้สอยโครงสร้างและวัสดุก่อสร้าง ของอาคารให้เข้ากับทรวดทรงบ้านไทยจึงเป็นการเน้นให้เห็นว่าทรวดทรง มีอิทธิพลต่อหน้าที่ใช้สอยเป็นอย่างมากทั้งนี้เทคนิคในการก่อสร้างผสมกลมกลืนเข้ากันได้อย่างดี จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ว่าให้เป็นหนังสือภาษาไทยที่พอใจยึดถือเป็นตำราสถาปัตยกรรมไทยประเภทบ้านพักอาศัยซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องราวของความเป็นมาของบ้านไทยภาคกลางและปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อลักษณะและการออกแบบเพื่อความเป็นอยู่ของคนไทย และประการสำคัญที่สุดก็คือเพื่อให้การออกแบบรูปร่างลักษณะทั่วไปของบ้านไทยภาคกลางมีหลักเกณฑ์ที่พอจะยึดถือได้ประกอบไปด้วยส่วนรายละเอียดต่างๆเป็นแนวทางในการที่จะนำไปเป็นแบบฉบับในการออกแบบหรือเขียนแบบและการก่อสร้างบ้านไทยภาคกลางหรือเพื่อออกแบบดัดแปลงได้ทันที ก่อนที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ได้สำรวจวิจัยจากบ้านไทยเกือบ 100 หลังคาเรือนเพื่อหาข้อมูลวิวัฒนาการและเพื่อได้ข้อยุติมาเสนอแนะไว้ มันใจว่าจะเป็นแนวทางที่นิสิตนักศึกษาสถาปนิกและผู้ที่สนใจจะยึดถือเป็นแบบฉบับได้แต่การจะกระทำสิ่งใดที่จะให้สมบูรณ์ไม่มีข้อผิดพลาดย่อมเป็นไปได้โดยยากหนังสือเล่มนี้ก็เช่นกัน หากมีข้อควรได้รับคำแนะนำติชมแล้วขอน้อมรับด้วยความยินดี การแต่งหนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าได้รับความกรุณาอย่างสูงสุดจากท่านศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา ) ศิลปดุษฎีบัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา ซึ่งท่านให้คำสอนอบรมแก่ข้าพเจ้าทั้งยังได้ควบคุมไปสำรวจบ้านไทยภาคกลางหลายหลังด้วยความเอ็นดูและเต็มใจอย่างยิ่งและได้รับคำแนะนำโดยใกล้ชิดจากอาจารย์ ชม้อย อุดมศิลป อาจารย์พิเศษในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอย่างสูงไว้ในที่นี้ด้วย โดยเฉพาะอาจารย์ฤทัย ใจจงรัก ศิลปะบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับสองสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมค้นคว้า ออกแบบเขียนแบบทุกแผ่นทุกรูปด้วยความปราณีต ตั้งใจอุตสาหวิริยะด้วยความรักในงานเต็มใจปฏิบัติด้วยน้ำใจอันแท้จริงหนังสือนี้จึงสำเร็จมาได้ด้วยดีขอขอบใจอย่างสุดซึ้งไว้ ณ ที่นี้ด้วย
๘๘ หน้า
เลขหมู่หนังสือ: ๗๒๘.๖๔ ศ๘๓๗บ ฉ.๑