< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / พระราชหัดถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู >

พระราชหัดถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู

พระราชหัดถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู

เนื้อหาอย่างย่อ

หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในแหลมมลายู เรียกกันมาแต่ก่อนเปน ๒ ชื่อบรรดาหัวเมืองที่ตั้งอยู่ทางชายทะเลอ่าวสยาม คือมณฑลชุมพร มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี เหล่านี้เรียกว่า “หัวเมืองปักษ์ใต้” บรรดาหัวเมืองซึ่งอยู่ทางชายทเลอ่าวเบงกอล คือ มณฑลภูเก็จ เรียกว่า “หัวเมืองฝ่ายทเลตวันตก” หรือ “หัวเมืองฝ่ายตะวันตก” ก็หัวเมืองที่อยู่ในแหลมมาลายูทั้งปวงนั้น แต่โบราณไปมายาก นอกจากเวลามีศึกสงคราม พระเจ้าแผ่นดินจึงมิได้เสด็จไปประพาส มีปรากฏในหนังสือ “สิหิงคนิทาน” ตำนานพระพุทธสิงหิงค์ กล่าวว่าสมเด็จพระร่วง (สันนิษฐานว่าพระเจ้ารามคำแหง) ได้เสด็จลงไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงเมืองนครศรีธรรมราช แต่เปนเรื่องนิทาน ถ้าว่าตามเรื่องพงศาวดาร ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานีสืบมา ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งพนะองค์ใดได้เสด็จ ไปประพาส จนถึงรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร เมื่อมีเรือกลไฟเปนราชพาหนะแล้ว พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้เปนครั้งแรกเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ เสด็จไปจนถึงเมืองสงขลาครั้ง ๑ ต่อมาเมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๔๐๖ เสด็จไปประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้จนถึงเมืองปัตตานีอีกครั้ง ๑ แต่ส่วนหัวเมืองฝ่ายทเลตวันตกและหัวเมืองมลายูประเทศราช คือเมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานูนั้น พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปนพระองค์แรกที่จะได้เสด็จไปประพาส

                ในรัชกาลที่ ๕ พะบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายูเปนครั้งแรก เมื่อคราวเสด็จเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ ครั้งนั้นเมื่อขาเสด็จไปเมืองสิงคโปร์แวะประพาสเมืองสงขลาแห่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อเสด็จไปอินเดียในปีมะแม พ. ศ. ๒๔๑๔ ขากลับได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่าย ทะเลตะวันตก คือเมืองภูเก็จ เมืองพังงาเมืองไทรบุรี แล้วเสด็จทางสถลมารคจากเมืองไทรบุรี ข้ามแหลมมลายูมาลงเรือพระที่นั่งที่เมืองสงขลา กลับกรุงเทพ  ฯ แต่นั้นก็เว้นว่างการเสด็จประพาสหัวเมืองในแหลมลายูมาถึง ๑๗ ปี ในระหว่างนั้นเสด็จประพาสแต่ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันออกและฝ่ายเหนือ มาจนถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ จึงได้เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายูอีก ตั้งแต่คราวนี้ต่อมาก็เสด็จประพาสเนืองๆจนตลอดรัชกาล ดูเหมือนจะได้เคยเสด็จไปถึงเมืองในแหลมมลายู ทั้งในแดนไทยและแดนอังกฤษทั่วทุกเมือง เว้นแต่เมืองกระบี่ในแดนไทยกับเมืองเนครีเซมบิสันในแดนมลายูของอังกฤษ ๒ เมืองเท่านั้น แต่การเสด็จประพาสหัวเมืองมลายู มักเสด็จตามมณฑลปักษ์ใต้ในพระราชอาณาเขตเปนพื้น

                ในเวลาเสด็จปะพาสหัวเมืองทางไกล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมักทรงพระราชนิพนธ์จดหมายรายการที่เสด็จไปแทบทุกครั้ง ทรงพระราชนิพนธ์เปนจดหมายรายวัน เช่นเมื่อเสด็จประพาสเกาะชาครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ บ้าง ทรงพระราชนิพนธ์เปนพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ เช่นพระราชหัตถเลขาพระราชทานมาถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ฯ เมื่อเสด็จไปยุโรปครั้งแรกและพระราชทานมาถึงสมเด็จหญิงน้อย (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานภดล) เมื่อเสด็จไปยุโรปครั้งหลัง และโปรด ฯ ให้รวมเป็นหนังสือเรื่องไกลบ้านนั้นบ้าง ทรงเปนพระราชหัตถเลขาบอกข้าวยังผู้รักษานคร ดังเช่นเมื่อคราวเสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลฝ่ายเหนือบ้าง ในการเสด็จประพาสแหลมมลายู พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์เปนพระราชหัตถเลขาบอกว่าทรงเล่าเรื่องที่เสด็จประพาสมายังผู้รักษาพระนครหลายคราว พระราชหัตถเลขาเหล่านี้ยังหาเคยได้พิมพ์ไม่

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ มีพระราชาประสงค์จะให้พิมพ์หนังสือเปนของพระราชทานพระเมรุพระศพวมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานกรมราชเลขาธิการคัดสำเนาพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเรื่องเสด็จประพาสแหลมมลาย ๔ คราว เปรพระหัตถเลขา ๑๓ ฉบับ ส่งมายังหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และโปรดเกล้า ฯ ให้กรรมการหอพระสมุดตรวจฉบับจัดการพิมพ์ทูลเกล้า ฯ ถวายทรงแจกในงานพระเมรุท้องสนามหลวงครั้งนี้

                เมื่อตรวจดูพระราชหัตถเลขาที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เห็นรายการพิสดารตอนเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์คราว ร.ศ. ๑๐๙ ขาดอยู่ตอน ๑ สืบถามในกรมราชเลขาธิการ ก็ว่าต้นฉบับมีอยู่เพียงเท่าที่ส่งมาจึงสันนาฐานว่าจะมิได้มีเวลาทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพิสดารตอนที่ค้างนั้น เพราะในเวลาเสด็จประพาสหาเวลาว่างได้โดยยาก ถ้าผู้อ่านพระราชหัตถเลขาซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ สังเกตจะเห็นได้ว่า แม้ทรงพระราชนิพนธ์พระราชหัตถเลขาเหล่านี้ ก็ต้อทรงพยายามลำบากพระองค์มิใช่น้อย

                ในการพิมพ์พระราชหัตถเลขาครั้งนี้ ได้เติมอธิบายหมายเลขและรวบรวมรูปฉายาลักษณ์ซึ่งมีอยู่ในหอพระสมุด ฯ บ้าง ขอกระจก


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 24/05/2018