< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน >

พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน

พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน

เนื้อหาอย่างย่อ

ท่านเจ้าคุณอนิรุทธเทาวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ)  เป็นเชษฐศิลปินทางโขนละครผู้หนึ่ง และเคยเป็นผู้บัญชาการกรมมหรสพมาในรัชกาลที่6   ซึ่งนับเป็นผู้บัญชาการคนสุดท้ายเพราะสิ้นสุดรัชกาลนั้น แล้วกรมมหรสพก็ต้องยุบเลิกและ ท่านเจ้าคุณอนิรุทธเทวา ก็ออกจากประจำการไป นับแต่นั้นมาก็มักจะได้ยินคำกล่าวกันว่าศิลปะทางโขน   และละครรำของหลวงเสื่อมโทรมมาโดยลำดับแต่ท่านเจ้าคุณอนิรุทธเทวา  ก็ยังพยายามรวบรวมและให้อุปการะศิลปิน เพื่อผดุงรักษาแบบแผนของศิลปทำโขนละคอน   ซึ่งเคยมีอยู่ในรัชกาลที่ 6  ให้ดำรงคง เป็นศิลปทายาทอยู่สืบมาได้ตลอด เวลาอันสมควรด้วยกำลังและความสามารถในส่วนตัวของท่านเองเป็นทางให้ศิลปินบางคนในสมัยรัชกาลที่หกและในสมัยของท่านได้มีโอกาสนำแบบแผนศิลปะมาฝึกหัดสั่งสอนบรรดาศิษย์ยานุศิษย์ สืบต่อมาในกองการสังคีต กรมศิลปากรและเมื่อกรมศิลปากรได้ฟื้นฟูปรับปรุงศิลปโขนขึ้นใหม่แล้วนำโขนชุดนาคบาศของนักเรียนนาฏศิลป ออกแสดงให้ประชาชน  ณ โรงละครศิลปากร เมื่อปลายพ.ศ. 2489 ท่านเจ้าคุณอนิรุทเทวา  ก็อุตสาหะ  มาดูและสังเกตเห็นว่าท่านนั่งดูอยู่ด้วยความตั้งใจตลอดเวลา  หลังจากการแสดงจบแล้วท่านได้แสดงความปิติยินดีต่อข้าพเจ้าว่า   ที่ได้ฟื้นฟูปรับปรุงโขนขึ้นได้อีกนี้ นับว่าได้ก่อรูปก่อร่างขึ้นได้ใหม่แล้วขั้นต่อไป ก็ยังแต่จะตกแต่งให้ประณีตงดงามยิ่งขึ้นท่านกล่าวเตือนว่า   อย่าพึ่งท้อถอยเสีย และท่านรับปากไว้ว่าต่อไปนี้ท่านจะช่วยแต่   อนิจจาหลังแต่นั้นมาไม่ช้าท่านก็ล้มเจ็บด้วยโรคหัวใจตลอดมา จนถึงแก่อนิจกรรมในที่สุดบางทีสวรรค์จะบันดาลให้ท่านพ้นภารกิจอันน่าเหน็ดเหนื่อย   ในเรื่องศิลปะที่ไม่รู้จักจบนี้เสียทีเพราะได้ตรากตรำมานานมากแล้วแม้ร่างกายของท่านจะแตกดับไปแล้วแต่กิตติคุณในความเป็นศิลปินทั้งกายและใจของท่านจะยังคงอยู่ในความระลึกถึงของบุคคลทั่วไปตลอดกาลนาน ประวัติย่อแสดงหน้าที่การงานในราชการของท่านซึ่งตีพิมพ์ไว้ต่อจากคำอุทิศนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ชวนให้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านนับว่าท่านเป็นเชษฐศิลปินผู้ควรแก่คารวะ   และยกย่องเชิดชูของบรรดาศิลปินรุ่นหลังทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้คณะข้าราชการศิลปินและนักเรียนนาฏศิลป์ในกองการสังคีตกรมศิลปากร ซึ่งเป็นเสมือนทายาทของกรมมหรสพจึงมีสมานฉันท์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานในสัตตมวารที่หก นับแต่วันถึงแก่อนิจกรรมของท่านและตีพิมพ์หนังสือ พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคร  นี้อุทิศเป็นธรรมะวิทยาทานเสมือนเป็นเครื่องสักการะแด่ดวงวิญญาณของท่านเชษฐศิลปินอีกโสดหนึ่งด้วย ไปที่ไหว้ครูของศิลปินทางโขนละครและดนตรีปี่พาทย์เป็นวิธีที่ควรยกย่องและผดุงรักษาไว้ เพราะครูบาอาจารย์ที่ดีย่อมเป็นผู้ให้ความรอบรู้เฉลียวฉลาดในศิลปวิทยาการแก่สิทธิ์ของตน เพื่อความเป็นคนโดยสมควรแก่คนจึงเป็นผู้ควรแก่คารวะบูชาของศิษย์ตลอดไป   พิธีไหว้ครูนั้นปรากฏว่าท่านคณาจารย์แต่ก่อน  ได้กำหนดระเบียบ  และบัญญัติวิธีไว้ให้ปฏิบัติกันมาด้วยหลักเกณฑ์อันดีเพื่อให้เกิดมงคลและประสิทธิภาพแก่บรรดาศิลปินทุกคน แต่เป็นกฎธรรมดาของระเบียบบัญญัติทั้งหลายที่ไม่ได้จัดการลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร   หรือจดไว้เพียงเพื่อช่วยความจำ ฉันสงวนไว้รู้กันแต่เฉพาะตัวครูบาอาจารย์มาบอกเราให้ปฏิบัติสืบต่อกันมาด้วยความทรงจำนานนานเข้าก็วิปลาสคาดเคลื่อนไปจากบัญญัติเดิมบ้าง   บางอย่างก็กลายรูปไปบ้างระเบียบการไหว้ครูโขนละครและดนตรีปี่พาทย์ ก็ตกอยู่ในกฎธรรมดาดังกล่าวนี้แต่จะตำหนิครูบาอาจารย์แต่ก่อนว่าทำหวงแหนก็ไม่ได้ เพราะถ้าผู้มีความไม่สุจริตในใจได้ระเบียบบัญญัติของท่านไปแล้วนำไปใช้ตามความประสงค์ของตนที่มีความไม่สุจริตในใจก็กลายเป็นไร้ประสิทธิภาพ นำความสูญเสียมาสู่วงการศิลปะและพ่อให้เกิดอัปมงคลขึ้นแก่ศิลปินทั่วไปทั้งจะกล่าวหาว่าท่านปิดบังซ่อนเร้นก็ไม่ถูกอีก   เพราะปรากฏว่าเมื่อท่านผู้เป็นคณาจารย์นั้นๆ ทันสังเกตพิจารณาเห็นว่า สิทธิ์คนใดมีคุณวุฒิดีแล้วมีสุจริตในใจท่านก็ยกตำรับตำราประสิทธิ์ประสาทไว้ให้แก่สิทธิ์คนนั้นมอบให้เป็นตัวแทนที่จะทำการไหว้ครูและครอบให้ศิษย์ยานุศิษย์สืบไป แต่ถ้าผู้ใดมิได้รับประสิทธ์ประสาท ใครเป็นตัวแทนของท่านแม่จะได้ตำรับตำราไปก็เพียงแต่เก็บไว้บูชาไม่เป็นผู้นำทำพิธีไหว้ครูและครอบให้แก่ใครได้ระเบียบบัญญัติในการไหว้ครู และตำราครอบโขนละคอน จึงมีเป็นหลักฐานสืบมา พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน ที่ข้าพเจ้ารวบรวมไว้นี้แต่เดิมก็เคยเก็บและสงวนไว้รู้กันโดยเฉพาะเหมือนกันแต่เมื่อพิจารณาดูก็เห็นว่ามีข้อวิปลาสคาดเคลื่อนอยู่จึงพยายามตรวจตราชำระสอบสวนตามเวลาว่างตอนใดเห็นว่าผิดเพี้ยนก็แก้ไขตามที่เห็นว่าที่ถูกที่ควรจะเป็นอย่างที่แก้นั้นเช่น คาถาภาษาบาลีและชื่อหัวข้อธรรม ตอนใดเห็นว่าขาดตกบกพร่องก็เพิ่มเติมมาให้ครบเช่น ตอนกล่าวถึงจำนวนเท่านั้นเท่านี้แต่ขาดจำนวนไปแล้วตอนใดที่สงสัยไม่แน่ใจก็ทำเป็นเชิงอรรถไว้ ส่วนตอนใดที่ข้าพเจ้ายังไม่สามารถทราบข้อผิดถูกก็พยายามรักษาถ้อยคำและอักขระไว้ตามต้นฉบับเดิมเช่น ตอนที่เป็นอาคมเวทมนตร์บางแห่ง  (ในหน้า 25, 26และ28  ของฉบับพิมพ์เล่มนี้) ซึ่งตอนที่กล่าวถึงภายหลังนี้คาดคะเนว่า    เดิมจะเป็นคำสันสกฤตและถ้าเป็นจริงดังคาดคะเน ก็จะต้องถือว่าท่านคณาจารย์แต่ก่อนผู้บัญญัติพิธีไหว้ครู   และครอบโขนละครและดนตรีปี่พาทย์นี้ถ้าจะต้องบัญญัติไว้ด้วยความรอบคอบ แม้แต่เพลงหน้าพาทย์ที่ทำประกอบในพิธีก็เลือกกำหนดไว้แต่ล้วนเพลงฉันครูคงจะถือเป็นบทบัญญัติสำคัญที่สามารถอำนวยประสิทธิภาพแก่ผู้เข้าประกอบพิธีไหว้ครูและผู้ได้รับครอบจากครูแล้ว เพื่อให้มีภาวะศิลปินเป็นผู้ควรแก่การยกย่อง เช่นเดียวกับบทบัญญัติไว้ในวิธีบรรพชาอุปสมบท ของพระภิกษุสงฆ์ใน พระบวรพุทธศาสนา ซึ่งในครั้งโบราณกำหนดให้ผู้เข้ารับบรรพชาอุปสมบทต้องรับพระไตรสรณคมน์    ทั้งในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตควบกัน เพื่อป้องกันอักขระวิบัติและสิ่งสำคัญของท่านคณาจารย์ศิลปินผู้นำทำพิธีไหว้   และครอบนั้น   เข้าใจว่าอยู่ที่ความมั่นคงในสมาธิจิตและกำลังใจอันสุจริตของท่าน ถ้าเข้าวิปลาสคาดเคลื่อนอันใดยังมีอยู่อีกในหนังสือเรื่อง พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน ที่รวบรวมชำระไว้นี้ข้าพเจ้าขอฝากท่านผู้รู้ได้โปรดช่วยกันพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องสมบูรณ์ในกาลต่อไป และโดยเหตุที่หนังสือนี้เคยเป็นตำราที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยสงวนรักษากันไว้โดยเฉพาะเมื่อได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่ขึ้นเช่นนี้แล้วข้าพเจ้าก็ขอฝากคำวอนให้แก่ท่านผู้ใดรับไปคุณนำไปใช้ด้วยความเคารพและสุจริตเพื่อรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพของศิลปะและเพื่อเกิดมงคลแก่บรรดาศิลปินผู้ควรแก่การยกย่องตลอดไป ในนามของคณะข้าราชการศิลปินและนักเรียนนาฏศิลป์ในกองการสังคีต ขออำนาจกุศลทักษิณานุประทานและธรรมบรรณาการ วิทยาสาธารณะกุศลอันเกิดแก่สมานฉันท์นี้จงอำนวยอิฏฐคุณมนูญผล ให้สำเร็จ แด่ท่านเจ้าคุณอนิรุทธเทวา   (ม.ล.ฟื้น พึงบุญ) เชษฐศิลปิน  ผู้ล่วงลับไปสู่สัมปรายภาพแล้วนั้น  เทอญ.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018