บทละคอน เรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ

เนื้อหาอย่างย่อ

บทละคอนเรื่องอิเหนาตอนลมหอบนี้ได้ปรับปรุงกันขึ้นใหม่โดยได้รับความร่วมมือจากหม่อมแผ้วสนิทวงศ์เสนีและนายมนตรีตราโมทสำหรับใช้เป็นแสดงนาฏกรรมตามแบบละคอนในณโรงละคอนศิลปากรประจำปีพ.ศ.๒๔๙๙ความจริงบทละครเรื่องอิเหนาที่ปรับปรุงใหม่นี้ควรจะเรียกชื่อตอน”เผาเมือง”ตาที่รู้จักกันมาอย่างกว้างขวางและแพร่หลายซึ่งดูจะกินใจและซึมทราบความรุ้สึดีมากทั้งมีฉากเผาเมืออยู่ในท้องเรื่องด้วยแต่ผู้รู้ร่วมกันปรับปรุงเห็นว่าการให้ชื่อตอนเช่นนั้นดูจะฟังกร้าวและแข็งไปสักหน่อยอยากจะให้ชื่อตอนที่รู้สึกเยือกเย็นขึ้นบ้างสมกับเป็นการแสดงตามแบบละครในจึงตกลงให้ชื่อว่า”ตอนลมหอบย”ตามท้องเรื่องที่จบลงเป็นฉากสุดท้ายท่านผู้ดูที่รักศิลปทางละคอนรำและเคยให้การสนับสนุนการแสดงนาฎกรรมณโรงละคอนศิลปากรตลอดมาคงจะยังจำได้ว่าการแสงดนาฎกรรมณโรงละคอนศิลปากรนั้นนอกจากแสดงโขนแล้วส่วนมากกเป็นการแสดงละคอนนอกหรือละคอนพันทางซึ่งเป็นศิลปแบบละคอนนกส่วนละคอนในนั้นเรื่องอิเหนาออกแสดงณโรงละคอนศิลปากรเพียง๒ครั้งคือครั้งแรกเมื่อพ.ศ.๒๔๙๐แสดงตั้งแต่ตอนตัดอดกไม้ฉายกริชจนถึงท้าวดาหาบวงสรวงแต่ก็เป็นการแสดงแบบดึกดำบรรพ์ตามบทละคอนดึกดำบรรพ์ซึ่งสำเด็กเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้และครั้งที่๒เมื่อพ.ศ.๒๔๙๓แสดงตอน”ประสันตาต่อนก”ตามบทซึ่งได้รับปรับปรุงกันขึ้นในกรมศิลปากรเพื่อใช้สำหรับการแสงดในคราวนั้นนับแต่นั้นมาประชาชนก็มิได้มีโอกาสได้ชมละคอนในณโรงละคอนศิลปากรมาเป็นเวลาถึง๕ปีคงได้ชมกันแต่ละคอนนอกตลอดมาจึงเห็นกันว่าควรจะได้นำละคอนในซึ่งเป็นนาฎศิลปชั้นประณีตและงดงามอีกแบบหนึ่งออกเสนอให้ประชาชนได้ชมอีกสักครั้งเพื่อท่านผุ้ดูจะได้ทบทวนความจำเปรียบเทียบกันดูว่ามีแบบแผนและความมุ่งหมายในรสนิยมทางศิลปแตกต่างกันอย่างไรด้วยเหตุนี้จึงได้ร่วมกับปรับปรุงบทละคอนเรื่องอิเหนาตอนลมหอบนำออกแสดงในครั้งนี้อีกตอนหนึ่งท่านที่เคยอ่านและขื้นใจในบทละคอนเรืองอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๒อยู่แล้วเมื่ออ่านบท “ตอนลมหอบ” ซึ่งปรับปรุงกันขึ้นใหม่ในสมุดเล่มนี้อาจเห็นว่าบทปรับปรุงใหม่นี้ดำเนินเรื่องรวบรัตตัดความหมายไปและยิ่งกว่านั้นท่านที่มีความพอใจในการอ่านบทพระราชนิพนธ์และมีความเลือมใสอยู่เป็นพื้นอารมณ์ก็อาจเห็นไปว่าการนำพระราชนิพนธ์มาแก้ไขปรับปรุงไปเช่นนี้เป็นการบังอาจเกินไปก็ได้แต่ท่านผู้มีใจกว้างขวางทั้งหลายก็ย่อมจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการแสดงละคอนรำแบบเก่าของเราแต่เดิมมานั้นเป็นการแสดงไปตามบทซึ่งเดินเรื่องโดยมิต้องอาศัยฉากส่วนการสร้างนาฎกรรมที่นำออกแสดงณโรงละคอนศิลปากรนอกจากการต้องหาทางให้เรื่องดำเนินไปได้โดยเร็วตามความนิยมในสมัยปัจจุบันแล้วยังมีการแบ่งฉากและสร้างฉากประกอบการแสดงให้เข้ากับท้องเรื่องในตอนนั้นๆอีกด้วยจำเป็นต้องปรับปรุงการแสดงให้เข้ากับฉากและเวทีและเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงบทให้ประสานประสมกลมกลืนกันเท่าท่ามารถจะทำได้จึงหวังว่าคงจะได้รับความเห็นใจบ้างตามสมควร.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018