เยาวพจน์ ตอน ๖

เนื้อหาอย่างย่อ

อ่านบทกลอนกล่อมเด็กปลอบเด็กและบทเด็กเล่นย่อมจะมีการอยู่เห็นจะทุกชาติทุกภาษาเพราะมีธรรมดาทั่วไปในหมู่มนุษย์ทุกชาติ เด็กๆย่อมจะจำบทกลอนชนิดนี้ได้ไม่มากก็น้อยแทบทุกคน และบทกลอนบางบทก็เห็นจะเป็นของเก่าแกสืบต่อกันมาทางปากช้านานทำไมบทกลอนเหล่านี้จึงคงสืบต่อด้วยปากจำกันได้สืบมา ไม่สาบสูญไปก็น่าจะเป็นด้วยโดยปกติของมนุษย์มักชอบฟังเรื่องราวนิยายนิทานถ้าเรื่องนั้นผูกขึ้นไว้เป็นบทกลอนก็ฟังเพราะหูชวนให้จำได้ง่าย แต่ก่อนที่จะรู้จักฟังบทกลอนเป็นให้ได้รู้เรื่องราวก็จะต้องได้ยินได้ฟังบทกลอนสำหรับเด็กมาก่อนธรรมดาบทกลอน ถึงว่าจะเป็นเรื่องอย่างที่เด็กร้องเล่นก็ดีผู้ต้นคิดที่ถูกคุณก็มักเอาความคิดความอ่านและขนบธรรมเนียมประเพณีหรือสิ่งของที่มีอยู่ในสมัยผู้แต่งเข้าไปแทรกอยู่ในบทกลอนที่แต่งขึ้นโดยที่ตนเองไม่รู้สึกหรือมุ่งหมายไว้ว่าความคิดความอ่านเรานั้นจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของคนรุ่นหลัง เพราะบทกลอนของเก้าขี้เหล้าหรือจดจำกันได้สืบมาถ้ายังไม่ถูกแก้ข้อความและคำในภาษาแล้วย่อมจะเป็นดังหนึ่งแว่นฉายให้เห็นเรื่องราวในครั้งเก่าก่อนที่เร้นอยู่ได้ดี ยกตัวอย่างเช่นเวลาพวกเด็กเด็กจะเล่นซ่อนหาหรือเล่นอะไรต้องการให้คนหนึ่งรับเคราะห์เป็นผู้อยู่โยง ก็จะมีการล้อมกันเป็นวงแล้วคนหนึ่งตั้งตัวเป็นหัวหน้าเอาเองเอามือชี้ไปที่ตัวเล็กคนอื่นทีละ คนปากก็ร้องว่า กะเกยเลยละกุ้งกะมุไม้ ถ้ามีเด็กมากด้วยกันบางทีก็ใช้นั่งกันเป็นวงแบมือทั้งสองข้างลงกับพื้นเอามือที่ปากก็ว่า จ้ำจี้ เป็นทำนองเดียวกันถ้าใครถูกจี้ด้วยคำสุดท้าย ในบทก็ออกไปจากวงทำเช่นนี้วนเวียนไปหลายหนจนเหลือคนสุดท้ายก็รับขอเป็นผู้อยู่โยง การเล่นของเด็กชนิดที่กล่าวนี้ปรากฏว่ามีอยู่ทุกชาติทุกภาษาบทที่ใช้รองก็เลื่อนเพื่อนฟังไม่ได้เรื่องได้ราวเหมือนกัน นักปราชญ์ชาวตะวันตกที่ใฝ่ใจในเรื่องชนิดนี้ได้รวบรวมบทที่เด็กชาติต่างๆ ใช้ร้องเล่นกันแล้วเอามาเปรียบเทียบพิจารณาคือ ทำการค้นคว้าหาความรู้จึงเห็นได้ว่าวิธีจ้ำจี้มีลักษณะคล้ายครึ่งกับวิธีกี่ชนชาติป่าเถื่อนอนารยชนยังคงใช้อยู่ สำหรับเสียงหาตัวผู้ที่จะไปทำการอะไรอย่างหนึ่งเป็นต้นว่าออกไปสู้รบตบมือตัวต่อตัวกับศัตรูหรือต้องออกไปฝ่าอันตรายหรือให้เป็นผู้ที่จะต้องรับเคราะถูกฆ่าบูชายัญเป็นต้นเพราะฉะนั้นจ้ำจี้เห็นจะเป็นวิธีเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น ที่ซื้อมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ซึ่งต่อมามนุษย์มีความเจริญดีขึ้นได้เลิกใช้เสียแล้ว จะคงเหลือ เป็นเค้ามาให้เห็นรางๆ ที่จะเป็นการเล่นของเด็กเท่านั้น เพราะเด็กกับชนชาติป่าเถื่อนที่ยังไม่เจริญก็มีลักษณะต่างๆคล้ายคลึงกัน น่าจะเป็นด้วยเหตุผลเช่นนี้ชาวประเทศที่รุ่งเรืองเค้ามักรวบรวมบทกลอนจำพวกนี้ไว้ มีบทกล่อมบทปลอบและอดเล่นของเด็กที่มีอยู่ในภาษาของเขาเพราะได้ประโยชน์ที่จะรักษาคติประเพณีของเดิมซึ่งเป็นสมบัติของชาติไว้และอีกอย่างหนึ่งก็ใช้เป็นหนังสือสำหรับเด็กอ่านได้ด้วย เพราะเด็กเด็กมีความคิดนักโลดโผนเรื่องชนิดนี้ตลอดจนนิยายนิทานจึงเป็นที่ชอบอัธยาศัยของเด็กชวนให้เด็กชอบอ่านฟังมากกว่าเรื่องชนิดอื่น ว่าในส่วนบทกลมบทตลอดและบทของเล่นของเด็กในภาษาไทยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงดำริรวบรวมบทที่มีอยู่แพร่หลายในกรุงเทพพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้นเมื่อพ.ศ. 2463 แล้วทรงแจกจ่ายหนังสือนั้นไปยังเจ้าพนักงานอำนวยการโรงเรียนต่างๆตามหัวเมืองขอให้ช่วยสืบหาบทกลอนอันใช้กันอยู่ในหัวเมืองนั้น แล้วจัดส่งมาให้หอสมุดในเวลานี้หอสมุดแห่งชาติมีบทกลอนจำพวกนี้รวบรวมไว้แล้วมากกว่า 1000 บท มีทุกหัวเมืองมณฑลทางปักษ์ใต้และฝ่ายเหนือ เป็นหนังสือที่ทาผู้มีศรัทธาพิมพ์ขึ้นไว้ไม่ให้ศูนย์ก็จะเป็นประโยชน์ในทางความรู้ไม่น้อยทั้งจะเป็นการรักษาสมบัติของชาติไทยไว้ได้อีกส่วนหนึ่ง ส่วนเรื่องยวพจน์ที่พิมนี้เป็นหนังสือที่เก็บเอาบทกลอนที่กล่าวข้างต้นมาตั้งเป็นแม่บทแล้วผูกเป็นกลอนขยายความออกไปตอนต้นที่พิมพ์มาแล้ว แต่งเป็นฉันก็มีส่วนในหนังสือเล่มนี้แต่งเป็นบทละครเป็นเรื่องขนาดใหญ่ สำนวนความและโวหารว่าแต่งดีชวนอ่านสมควรพิมพ์รักษาไว้ ผู้ซึ่งแต่ยวพจน์ ปรากฏในโครงบานแผนกว่า ชื่อโมรา แต่งเมื่อจุลศักราช 1246 พ.ศ. 2427 เป็นเวลาล่วงมา 50 กว่าปีแล้วได้ความว่านายโมราผู้นี้เป็น ทหารมหาดเล็กมียศเป็น เปซายัน เทียบชั้นจ่านายสิบแต่เรียกกันเป็นสามัญว่า เปโมรา ซึ่งนักหนังสือรุ่นเก่ารู้จักกันโดยมากเพราะเปโมรา เป็นผู้ชอบแต่งหนังสือชนิดที่ขบขันโลดโผนมีปฏิญาณวางไว้แล้วก็แต่งได้ดีชวนอ่านให้เกิดความบันเทิงขึ้นได้ นับว่าเป็นศิลปะของกวีอันหนึ่งยากที่จะเป็นได้ทุกคนได้มีผู้จำบทกลอนที่เปโมรา แต่งไว้ได้บางบทนอกจากที่มีพิมพ์ในยวพจน์นี้เช่น "หมอเอ๋ยจงฟังสาร คำโบราณท่านกล่าวมา เป็นหมอให้ศึกษา เวชศาสตร์และทางลม"ตำราเวชศาสตร์ของเก่าของเปโมราว่า "หมอเอ๋ยจงฟังสาร คำโบราณท่านกล่าวมา เป็นหมอให้ยกขา ขึ้นข้างหนึ่งแล้วจึงเบา" และ "อย่าเรียนกลองแขก ทำให้ใจแตก มันไม่เป็นผล เร่ตีหน้าบ้าน รำคาญหูคน เขาว่าเขาบ่น ผู้คนนินทา" (ปฐมกา) ของเปโมราว่า "จะเรียนกลองแขก อย่าตีให้แตก จึงจะเป็นผล เที่ยวตีตามบ้าน ทำการมงคล ไม่มีใครบ่น ผู้คนนินทา" คราวหนึ่งตามที่หลวงภักดีอดิสัย (ปาน วิมุกตกุล) เล่าให้ฟังว่า เปโมรา ตามเสด็จกรมพระยา ดำรงราชานุภาพจากกรุงเทพไปถึงท้ายเกาะใหญ่ได้ยินเสียงอะไรโหยหวนก็รับสั่งถาม เปโมราว่า แน่ะอะไรร้อง เปโมรา กราบทูล เป็นโคลงว่าดังนี้ "เสียงนุชนาฎเจ้า จับใจ" แต่พอกราบทูลได้เพียงเท่านี้ก็ได้ยินเสียงบ๊งๆ ต่อท้ายจึงรู้ได้ว่าเป็นเสียงสุนัขหอน เปโมรา ก็เลยแต่งต่อให้จบเป็นโครงบทหนึ่งดังนี้ เสียงนุชนาฏเจ้า จับใจ เอ๊ะ ผิดปลาดไป เห่าด้วย โอ๊ะ กัดพี่ยาใย หยอกเล่น หรือแม่ เอ๊ะผิดมนุษย์ม้วย แน่แล้วนางหมาฯ นอกจากนี้ยังมีบทกลอนอื่นๆของเปโมรานี้ มีผู้จำกันได้อีกหลายบทและบางบทก็ว่า ผาดโผนถึงที่และติดจะไม่สุภาพแต่ก็ช่างเสาะหาคำมาว่าอ่านแล้วชวนให้เกิดความขบขันกล่าวกันว่า บางบทก็ได้เคยอ่านถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเวลาทรงเครื่องใหญ่ด้วย


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018