หนังสือเรื่องตะเลงพ่ายนี้แต่เดิมเมื่อแรกเจอพิมพ์ก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็นการใหญ่ ถึงต้องลำบากยากเย็นอะไรนัก เพราะหนังสือก็ไม่สู้เก่าแก่ลี้ลับนัก คงจะไม่มีปัญหามากถ้ามีบ้างก็ตัดสินใจได้ไม่สู้ยาก จึงได้เริ่มการดังนี้คือได้พยายามหาฉบับพิมพ์ซึ่งพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณได้ทรงจัดพิมพ์ขึ้น ที่โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวังเป็นครั้งแรกนั้น จะเอามาใช้เป็นต้นฉบับก็เผอิญหาไม่ได้ ได้แต่ฉบับของโรงพิมพ์นายเทพ ซึ่งนับเป็นพิมพ์ครั้งที่๒ กลับฉบับของโรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ ซึ่งนับเป็นพิมพ์ครั้งที่๓ ดันมาเมื่อเห็นว่าขาดฉบับของโรงพิมพ์หลวง ซึ่งเป็นฉบับสำคัญเสียเกรงว่าจะคลาดเคลื่อน จึงพยายามหาฉบับสมุดไทยมา เพื่อใดเป็นเครื่องสอบก็ได้มาจบหนึ่ง กับเศษกะร่องกะแร่งอีกสองสามเล่ม คือหนังสือนี้เป็นสมุดไทยสี่เล่มจบ หาได้มาที่บริบูรณ์แต่จบเดียว แล้วได้เล่ม๑ มาอีกสองเล่ม เล่ม๒ อีกเล่มหนึ่ง เล่ม๓ อีกสองเล่ม เล่ม๔ อีกเล่มหนึ่ง ไม่เป็นสำรับกัน เพียงกระนั้นก็พอทำให้อุ่นใจ จึงได้สั่งให้พิมพ์และตรวจในการสอบนั้นเล่า นอกจากสอบในหนังสือตะเลงพ่ายเองดั่งได้กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าที่ใดสงสัยในท้องเรื่องของพงศาวดารซึ่งไม่อาจตัดสินได้เฉพาะฉบับตะเลงพ่าย ก็ได้อาศัยตรวจสอบความในพระราชพงศาวดารด้วย ใช้ฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเล และฉบับอื่นๆในหอพระสมุดวชิรญาณอีกมาก จึงรวมความว่าในการที่พิมพ์ครั้งนี้ ถ้าในที่ใดวิปลาสมีใจความเป็นสองทาง ทางโน้นก็ได้ทางนี้ก็ได้หรือทางโน้นก็ใช่ทางนี้ก็ใช่แล้ว ได้ทำคำอธิบายไว้ทั้งสิ้น สำหรับให้ท่านผู้รู้ได้วินิจฉัยและให้เป็นทางใช้ปัญญาของผู้เรียน ข้าพเจ้าขอแนะนำแก่ท่านผู้อ่านว่า ถ้าจะให้สะดวกแล้วก่อนที่จะอ่านควรจะให้ใครเปิด คัดเลขในคำอธิบายมาจดลงไว้ในเนื้อเรื่องให้ตรงที่เสียก่อน เมื่ออ่านไปถึงไปพบตัวเลข ก็จะเตือนให้เปิดดูคำอธิบายได้ไม่ข้ามเสีย อนึ่ง ข้าพเจ้าขอขอบพระเดชพระคุณ พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนสมมตอมรพันธ์ ที่ได้ทรงช่วยตรวจคำอธิบายนี้ด้วย แจ้งความพิมพ์ครั้งที่สอง ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้ได้ขาดคำอธิบายท้ายเล่มของฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งมาลงไว้เป็นเชิงอรรถ (ฟุตโนต) เพราะฉะนั้นการที่จะอ่านเชิงอรรถในหนังสือนี้ จึงควรอ่านคำนำในคราวพิมพ์ครั้งแรกเสียก่อนจึงจะทราบข้อความในเชิงอรรถได้ดีขึ้น เพื่อจะให้หนังสือนี้เป็นประโยชน์ในการเรียนศัพท์และในทางวรรณคดียิ่งขึ้น จึงได้ทำคำอธิบายศัพท์เพิ่มเติมขึ้นไว้ในตอนท้าย แต่เพราะหนังสือนี้ใช้ศัพท์มากร้านจะอธิบายไว้ให้ทั่วถึงทุกอย่างก็จะเพิ่มหน้ากระดาษมากเกินควรไป จึงได้เลือกอธิบายแต่ศัพท์หรือข้อความที่เห็นว่าจำเป็น กล่าวคืออธิบายเฉพาะแต่ศัพท์และข้อความที่ใช้ในเชิงประพันธ์ซึ่งมีความหมายเฉพาะเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งเท่านั้นส่วนศัพท์ที่มีคำแปลตรงไปตรงมาซึ่งมีในปทานุกรมแล้ว ไม่ได้อธิบายไว้ด้วย ให้ผู้เรียนไปค้นความหมายเอาในปทานุกรมของกระทรวงธรรมการนั้นเทอญ
< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ หนังสืออ่านกวีนิพนธ์ ตะเลงพ่าย >
แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ หนังสืออ่านกวีนิพนธ์ ตะเลงพ่าย
เนื้อหาอย่างย่อ
หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 05/03/2018