ในงานฌาปนกิจศพ นางวิภาพร ภูมิจิตร กำหนดงานวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๙ ณ ฌาปนสถานกองทัพบกวัดโสมนัสวิหาร นายเฉลียว ภูมิจิตร ซึ่งเป็นพี่ชาย ได้มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปาการ เพื่อขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือ เรื่องพระร่วง พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานนี้ กรมศิลปากรยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ตามความประสงค์ หนังสือเรื่องพระร่วงที่ตีพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย อันความรู้เรื่องราวต่างๆของชาติที่เป็นมาแล้วในอดีต ว่าเคยเจริญเคยเสื่อมมาอย่างไรเคยมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมาแต่ก่อนอย่างไร และต่อมาได้คลี่คลยผันแปรไปอย่างไร เหล่านี้เป็นอาทิ ย่อมสำคัญอยู่ที่ประวัติศาสตร์ ก็ประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรานั้นจัดแบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค ๑ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค๑ เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นาชธานียุค๑ เรื่องประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี มีที่อาจตรวจสอบให้รู้เรื่องราวได้ไม่สู้ยากนัก ด้วยมีหนังสือพระราชพงศาวดารอยู่เป็นหลักและมีหนังสือต่างๆ ที่พระแต่งบ้าง โหรแต่งบ้าง ราชการแต่งบ้าง บุคคลแต่งบ้าง เป็นเครื่องประกอบพระราชพงศาดารอีกเป็นอันมาก ทั้งยังมีหนังสือพงศาวดาของประเทศใกล้เคียงที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกันมา ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสอบสวนอีกเล่า เช่นหนังสือพงศาวดารพม่า พงศาวดารเขมร และพงศาวดารมอญ เป็นต้น ส่วนเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติไทยยุคกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้นในชั้นเดิมอยู่แต่เป็นเรื่องลี้ลับพ้นวิสัยที่จะทราบเรื่องราวอันแน่นอนได้โดยไม่มีหนังสือพระราชพงศาวดารและหนังสือโบราณที่มีอยู่พอจะตรวจตราสอบสวนให้รู้เรื่องได้บ้างก็เป็นหนังสือจำพวกนิทานหรือนิยายปรัมปราอันจะเชื่อถือได้ยากขึ้นต้นหนังสือพงศาวดารเหนือซึ่งมีเรื่องราวล้วนแต่เหลือเชื่อถ้าจะสอบสวนเอาความจริงก็ต้องหันลงไปจะเชื่อถือทางนั้นหาได้ไม่ เรื่องประวัติศาสตร์ยุคกรุงสุโขทัยจึงเป็นเรื่องมืดมนอยู่ช้านานจนเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีเสมานี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองฝ่ายเหนือขณะยังทรงผนวชอยู่เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ไปได้ศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยมา ๒ หลักหลัก ๑ เป็นจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่หลัก ๑ เป็นจารึกของพระมหาธรรมราชาหรือไทยศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักแรกที่จารึกด้วยอักษรไทยและเป็นจารึกที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยเล่าเรื่องกรุงสุโขทัยตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองราชสมบัติมาจนถึงแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหงซึ่งเป็นเรื่องลี้ลับมาจากก่อนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพากเพียรพิจารณาอักษรไทยที่จารึกในหลักศิลานั้นจนทรงทราบวิธีอ่านและทรงทราบเรื่องราวที่จารึกไว้นั้นโดยตลอดความลี้ลับเรื่องประวัติศาสตร์ยุคกรุงสุโขทัยจึงได้ปรากฏเปิดเผยออกมาเป็นครั้งแรกส่วนศิลาจารึกของพระมหาธรรมราชาหรือไทยนั้นจารึกด้วยอักษรขอมเป็นภาษาเขมรมีเรื่องราวเป็นข้อสำคัญในประวัติศาสตร์เหมือนกันครั้นต่อมามีผู้เอาเป็นธุระควรขวายหาและตรวจอ่านศิลาจารึกต่างๆมากขึ้นความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของไทยในยุคนั้นจึงมีที่ตรวจสอบขอให้ได้เรื่องราวแน่นอนขึ้นโดยลำดับ จารึกต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ให้ความสว่างแก่ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ยุคกรุงสุโขทัยได้มากเพียงไรก็ดีแต่ส่วนใหญ่หนักไปในด้านวัฒนธรรมและศาสนาคดีส่วนด้านโบราณคดียังหาได้เรื่องบริบูรณ์ไม่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงอุตสาหสอบสวนค้นคว้าทางโบราณคดีต่อมาจนรวบรวมได้เรื่องราวปะติดปะต่อเป็นข้อวินิจฉัยนั้นมีหลักฐานตามระเบียบพงศาวดารให้ชื่อว่านิทานโบราณคดีเรื่องพระร่วงดังปรากฏในสมุดพิมพ์เล่มนี้นับได้ว่าทรงเกื้อกูลวิชาโบราณคดีของไทยให้ดำเนินก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งหนังสือเรื่องพระร่วงนี้ได้เคยพิมพ์มาแล้ว 3 ครั้งคือครั้งแรกพิมพ์แจกเป็นราชานุสรณ์ในการพระราชกุศล ๕๐ วันพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อพ.ศ ๒๔๘๙ ครั้งที่ ๒ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายติดสิริสวัสดิ์พ.ศ๒๔๙๕และพิมพ์ครั้งที่ ๓ พิมพ์ในงานฉลองสมณศักดิ์ปัจจัยส่งเสริมให้นางวิภาภรณ์ภูมิจิตรผู้วายชนม์ประสบแต่อิฏฐคุณมนุญผล เสวยทิพยสมบัติในสุคติภพสมดังเจตน์จำนงของเจ้าภาพทุกประการเทอญ
< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / เรื่องพระร่วง >
เรื่องพระร่วง
เนื้อหาอย่างย่อ
หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 28/05/2018