อนิรุทธคำฉันท์

อนิรุทธคำฉันท์

เนื้อหาอย่างย่อ

หนังสืออนิรุทธ์คําฉันท์  นับถือกันมาแต่โบราณจนตราบเท่าทุกวันนี้   ว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าสูงทางวรรณคดี    และกล่าวกันว่า   ศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง    เช่นที่มีผู้แต่งคำโคลง   บอกไว้ในสมุดไทยเล่มหนึ่ง   ดังได้นำมาพิมพ์ลงไว้ตอนท้ายคำฉันในสมุดเล่มนี้  ( หน้า 92 )   ตามหลักฐานที่สอบสวนได้ในระยะนี้ปรากฏว่า   ศรีปราชญ์เป็นบุตรพระโหราธิบดี   และมีตัวอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์   มหาราช  ซึ่งทรงครองราชย์สมัยในกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2 199 - 2231    ด้วยปรากฏความปราดเปรื่องในเชิงกวีของศรีปราชญ์    ตั้งแต่อายุยังเยาว์วัย   สมเด็จพระนารายณ์   มหาราชจึงมีพระราชดำรัสให้  พระโหราธิบดี  ผู้บิดานำ    ศรีปราชญ์    เข้าเฝ้าถวายตัว   และโปรดให้รับราชการใกล้ชิดพระองค์  เมื่อราว ต้นรัชกาลนั้นศรีปราชญ์    เป็นผู้มีปฏิภาณในการกวีและสมเด็จพระนารายณ์  มหาราชก็ทรงเป็นขัตติยกวี   ที่โปรดการแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์จึงโปรดปราน ศรีปราชญ์   และโปรดให้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ตลาดมา   แต่ตอนปลายรัชสมัย   ศรีปราชญ์  ต้องรับโทษ     และโปรดให้เนรเทศไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช  ศรีปราชญ์ ไปมีอันเป็นต้องถูกประหารชีวิตลงที่นั่น    สันนิษฐานว่าก่อนหรือ ราวปี พ.ศ. 2226    ซึ่งขณะที่สิ้นชีวิตนั้น ศรีปราชญ์  คงจะมีอายุระหว่าง 30 ถึง 35 ปี   มีประวัติพิสดารดังได้พิมพ์ไว้ในหนังสือ  “ ประวัติและโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ ”   เป็นอีกเล่มหนึ่งนั้นแล้วเข้าใจว่า ศรีปราชญ์    คงจะแต่งอนิรุทธ์คําฉันท์   หรือถวายสมเด็จพระนารายณ์   มหาราช   ด้วยความประสงค์ที่จะใช้ในการเล่น  หนังใหญ่   มีบอกไว้ในตอนท้าย        ( หน้า 91 )ว่า                                          ด้วยเดชะบุญญา               ธิกาเรอัสมพงษ์ 

ผูกฉันสนององค์                 คุณท่านอันสุนทร  

มีคำกล่าวกันสืบมาว่าศรีปราชญ์แต่งคำฉันท์เรื่องนี้ โดยไม่แต่งคำนมัสการไว้ข้างต้น   เป็นการไม่ประพฤติตามประเพณีแต่งภาพบทกลอนเป็นเรื่องราวซึ่งกวีอื่นๆปฏิบัติกันเป็นแบบแผนมาแต่ก่อน   แต่ก็มีบางท่านสันนิษฐานว่าศรีปราชญ์คงจะแต่งคำนมัสการ    ไว้เหมือนกันหากแต่เมื่อคัดสืบๆ   กันมาผู้คัดลอกในชั้นหลังคงจะไม่ได้คัดเอาคำนมัสการข้างต้นติดมาด้วยฉบับที่พบกันในชั้นหลังนี้จำกัดคำนมัสการไป แต่ถ้าท่านผู้อ่านเคยทราบเรื่องราวในพระราชพงศาวดาร ตอนก่อนสมเด็จพระนารายณ์   มหาราชเสด็จ    ขึ้นครองราชสมบัติและตอนแรกของราชจะเห็นได้ว่าได้มีการช่วงชิงอำนาจและเกิดความไม่สงบขึ้น     ในระยะนั้นตลอดมาแรกเริ่มด้วยพระศรีสุธรรมราชาร่วมกับสมเด็จพระนารายยึดราชสมบัติจากเจ้าฟ้าชายแล้วพระศรีสุธรรมราชาเกิดแตกร้าวกับสมเด็จพระนารายจนในที่สุดพระศรีสุธรรมราชาพ่ายแพ้ไปและสมเด็จพระนารายณ์และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติทั้งในตอนต้นรัชกาลก็แสดงถึงความแตกร้าวภายใน    เช่นมีเรื่องระหองระแหงกับพระไตรภูวนาจิตตวงค์ พร ราชอนุชาเป็นต้น   ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ ศรีปราชญ์อาจคงจะรู้เรื่องดีเมื่อแต่งอนิรุทธ์คําฉันท์นี้ จึงเริ่มคำประพันธ์สดุดีเปรียบเทียบแฝงความหมายไว้อย่างฉลาดด้วยกาพย์ฉบังเพียง 2 บทว่า                           ปางพระจักรีแปลเป็น                                กฤษณะราชฎรเข็น

อรินทรเซี้ยนสยบนา                          

สะเด็ดแสดงนำในเมืองทวา-            รพดีสมญา

คือวิษณุโลก บ่ปาน

ถ้าจะแปลความหมายของกาพย์ข้างต้นนี้    พอเป็นเขาก็น่าจะได้ความว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระกฤษณะ   ทรงปราบยุคเข็ญจนอริราชศัตรูราบคาบ    หมดเสี้ยนหมดสิ้นเสี้ยนหาในแผ่นดินแล้วก็   เสด็จขึ้นเสวยราชในพระนคร ชื่อทวารวดีศรีอยุธยา   ซึ่งเปรียบด้วยโลกสวรรค์ขององค์พระวิษณุเป็นเจ้าก็ไม่ปาน   เรื่องก็เข้ากันได้ดีกับเหตุการณ์ในระยะเริ่มแรกรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและกาพย์ 2 บทนี้   จะถือเป็นคำนมัสการที่ ศรีปราชญ์   ได้แต่งสดุดีเพื่อขอความคุ้มครองจากสมเด็จพระนารายณ์  มหาราช   พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระบรมราชานุภาพไพศาลได้หรือไม่ขอฝากไว้เป็นข้อวินิจฉัยของท่านผู้รู้สึกไปในการจัดงานสัปดาห์แห่งวรรณคดีประจำปี 2503 เห็นควรจัดพิมพ์  อนิรุทธ์คําฉันท์  นี้ขึ้นให้แพร่หลายและเพื่อที่จะช่วยย่อยความ   และถ้อยคำในคำฉันท์เรื่องนี้ข้าพเจ้าจึงทำเชิงอรรถลงไปไว้ในบางแห่งพร้อมกับได้เรียบเรียนที่มาของอนิรุทธ์คําฉันท์  และบทละครเรื่อง อุณรุท นำมาพิมพ์ไว้ด้วยกับท่านได้ขอแรงในอดีตเรื่องฤทธิ์เรียนให้ช่วยบันทึกสอบถามท้ายการที่แตกต่างกันอันปรากฏในสมุดไทยที่เขียนอนิรุทธ์คําฉันท์แต่ละเล่มไว้ด้วยดังได้นำมาพิมพ์ไว้ในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าขอขอบคุณ   นาย  หรัด  เรืองฤทธิ์   เปรียญ   เป็นอย่างยิ่งหวังว่าหนังสืออนิรุทธ์คําฉันท์เล่มนี้คงจะ ได้รับความสนใจจากท่านผู้รู้และนักเลงหนังสือทั่วไป


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018