ประเพณีเก่าของไทย

ประเพณีเก่าของไทย

เนื้อหาอย่างย่อ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวเป็นปาฐคถา เรื่องประเพณีไทยไว้เมื่อวันที่๒๐มกราคมพ.ศ.๒๔๗๕ว่าประเพณีแบ่งได้๓ชนิดคือประเพณีส่วนบุคคลประเพณีส่วนชุมชนประเพณีส่วนรัฐบาลที่เรียกว่าประเพณีก็คือคนทั้งหลายทำตามๆกันมาคนแต่ก่อนเคยทำอย่างใดคนต่อมาก็ทำอย่างนั้นประเพณีเมื่อแรกมีขึ้นก็เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญเหมาะแก่ความเป็นอยู่และความเชื่อถือของหมู่คนสมัยนี้ครั้นเวลาล่วงต่อมาบ้านเมืองมีความเจริญความเป็นอยู่และความคิดของคนก็เปลี่ยนแปลงไปประเพณีใดที่เหมาะแก่สมัยก่อนแต่ไม่เหมาะแก่สมัยหนึ่งประเพณีนั้นก็เสื่อมและสูญไปเปลี่ยนเป็นใหม่ให้เข้ากันได้กับความเจริญถ้าประเพณีใดไม่ดีไม่ชั่วจะถือหรือไม่ถือก็ไม่มีเสียหายอย่างไรประเพณีนั้นมักเหลือสืบต่อกันมากลายเป็นประเพณีที่ทำตามๆกันไม่มีผู้ใดรู้ต้นสายปลายเหตุว่าทำไมจึงต้องทำอย่างนั้นเป็นแต่ถือว่าถ้าไม่ทำก็เป็นผิดประเพณีรู้สึกไม่สบายใจกลัวคนอื่นเขาจะว่าหรือเข้าใจว่าอาจเกิดเหตุเภทภัยอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นได้เพราะเป็นวิสัยธรรมดาของมนุษย์ถ้าสิ่งใดเคยทำตามๆกันมาเมื่อเห็นว่าไม่เป็นเหตุทำให้เดือดร้อนหรือเสียหายอย่างไรก็ไม่อยากเปลี่ยนแปลงใหม่ให้ลําบากเหตุนี้ประเพณีที่สืบต่อกันมาแม้ล้างประเพณีจะพ้นสมัยที่จำเป็นแล้วจึงยังคงเหลืออยู่อย่างที่พูดกันว่าประเพณีตายยากในที่นี้จะรวบรวมประเพณีเก่าของไทยที่ทั้งที่เลิกแล้วและทั้งที่ยังทำกันอยู่จะกล่าวแต่เรื่องประเพณีส่วนบุคคลคือ๑ประเพณีเนื่องในการเกิดการเลี้ยงลูกและการศึกษา๒ประเพณีเนื่องในการแต่งงาน๓ประเพณีเนื่องในการสร้างบ้านปลูกเรือน๔ประเพณีเนื่องในการทำมาหากินประเพณีทำบุญและการสนุกรื่นเริงซึ่งเป็นส่วนของประชุมชน และ 5 ประเพณีเนื่องในการตายจะแยกกล่าวต่างหากเป็นเรื่องๆไปพร้อมทั้งนำเอาประเพณีของชาติต่างๆที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อวิจารณ์กันดูเป็นทางหาความรู้เรื่องประเพณีเก่าๆว่าเหตุไรจึงเกิดมีประเพณีอย่างนั้นๆขึ้นและเพราะเหตุไรประเพณีลางอย่างจึงมีเหมือนกันในชาติต่างๆ ความรู้เหล่านี้จะเป็นเครื่องช่วยให้เห็นความเป็นอยู่และความคิดความเห็นของบรรพบุรุษของเราว่าเคยเป็นมาแล้วอย่างไรและเจริญคลี่คลายต่อมาอย่างไรจนถึงสมัยปัจจุบันอันเป็นความรู้ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018