< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ >

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑

เนื้อหาอย่างย่อ

พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงนำความจำนงของคุณหญิงมุกมนตรีที่จะได้หนังสือพิมพ์แจกในงานศพเจ้าพระยามุขมนตรี มาแจ้งแก่ข้าพเจ้าและได้ส่งปรึกษาว่าจะพิมพ์เรื่องอะไรดี ผลของการปรึกษาได้มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าควรพิมพ์จารึกกรุงสุโขทัยอีกครั้งหนึ่ง ที่ว่าอีกครั้งหนึ่งนั้นก็เพราะศิลาจารึกกรุงสุโขทัยนี้ เจ้าพระยามุขมนตรีได้เคยพิมพ์แจกมาแล้วครั้งหนึ่ง ในงานทำบุญฉลองอายุครบสี่รอบของท่านเมื่อปีชวดพ.ศ. 2467 ครั้งท่านยังรับราชการในตำแหน่งอุปราชชามณฑลภาคอีสานและท่านได้เคยแสดงความจำนงไว้ว่าถ้าท่านวายชนม์งานศพของท่านจะต้องแต่งหนังสือเรื่องศิลาจารึกคือที่ยังไม่ได้พิมพ์อีกเท่าใดจะต้องพิมพ์มาให้หมด การพิมพ์เรื่องศิลาจารึกที่เจ้าพระยามุขมนตรีได้รับพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2467 นั้นได้พิมพ์รูปถ่ายคำจารึกทั้งหมด แล้วพิมพ์คำจารึกเป็นตัวอักษรไทยยังใหม่แต่เรื่องตัวตามแบบจารึกเดิมแล้วจึงพิมพ์คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่อประโยชน์แก่นักโบราณคดีต่างประเทศ ดังนี้ผู้รับพิมพ์จะต้องเป็นผู้มีทุนและมีศรัทธามากถึงจะทำได้เพราะการพิมพ์โดยวิธีนี้เป็นการแพง ต่อจากเจ้าพระยามุขมนตรีลงมามีผู้รับพิมพ์อีกรายหนึ่ง คือ สมเด็จกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฐ์ ได้ทรงรับพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2472 หลักศิลาจารึกทั้งหมดที่ได้ตรวจพบแล้วในประเทศลาวมีอยู่ถึง 210 หลัก เจ้าพระยามุขมนตรีได้พิมพ์แล้ว 15 หลักสมเด็จกรมพระสวัสได้ส่งพิมพ์ต่ออีก 14 หลักเป็นอันว่ายังมีเหลืออีกถึง 181 หลักการที่เจ้าพระยามุขมนตรีรับจะพิมทั้งหมดในงานศพของท่านนั้น ต้องนับว่าเป็นอดิเรกลาบของชาติไทยและประชาชนผู้รับการศึกษาทางโบราณคดีทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ แต่ใครจะนึกฝันว่าเจ้าพระยามุขมนตรีจะด่วนถึงแก่อสัญกรรมโดยรวดเร็ว การพิมพ์ศิลาจารึกไม่ใช่ทำได้ง่ายเพราะต้องคาสต์ต้องถ่ายต้องแปลต้องสันนิษฐาน ต้องค้นคว้าประกันแรมปีถึงแม้คุณหญิงมุขมนตรีจะรับสนองกุศลเจตนาของท่านเจ้าคุณสามีโดยจะรับพิมพ์หลักศิลาจารึกทั้งหมดหอสมุดแห่งชาติก็ไม่สามารถจะจัดหาตระเตรียมให้ทัน นับว่าได้เสียโอกาสอย่างสำคัญในการพิมพ์ศิลาจารึก ความแตกดับของเจ้าคุณมุขมนตรีที่เป็นไปโดยรวดเร็วเช่นนี้เป็นการขาดเสียอย่างสำคัญสำหรับญาติมิตรทั้งหลายที่เคยได้รับความอบอ้อมอารีของท่าน เป็นการขาดเสียสำหรับรัฐบาลซึ่งไม่ว่าในรัฐบาลใดใดย่อมใช้เจ้าคุณมุขมนตรีทำประโยชน์ได้เสมอ เป็นการขายเสียสำหรับสภาผู้แทนราษฎรที่เคยใช้เจ้าคุณมุขมนตรีทำงานแก่สภามามากซึ่งสภาได้ลงมติ แสดงความเศร้าสลดใจมาบัดนี้ตัวข้าพเจ้าเองได้พบความเศร้าสลดอันใหม่เว้นวรรคเมื่อมาจับพิจารณาเรื่องศิลาจารึกสยามเพราะว่าถ้าเจ้าคุณมุขมนตรีมีอายุต่อไปอีกแม้เพียงห้าปี หอสมุดแห่งชาติคงจะสามารถเตรียมจารึกศิลาที่ยังเหลืออยู่ทุกอันให้ท่านพิมพ์ได้ในงานศพของท่านดังที่ท่านปรารถนาไว้ แต่ถึงแม้หอสมุดแห่งชาติจะไม่สามารถทำงานให้ได้เต็มตามเจตนาของเจ้าคุณมุขมนตรีในการพิมพ์จารึกอื่นๆต่อไปก็ดีหอสมุดแห่งชาติได้พยายาม จะทำให้กิจที่เจ้าคุณมุขมนตรีได้ทำมาแล้วนั้นโดยผลสมบูรณ์กล่าวคือการพิมพ์จารึกสุโขทัยเท่าที่ทำมาแล้วศาสตราจารย์ เซเดส์ เป็นผู้อำนวยการเรียบเรียงตรวจตราและได้พิมพ์อย่างที่จะเป็นเอกสารคู่มือของนักศึกษาโบราณคดีชั้นสูง จึงได้พิมพ์รูปถ่ายคำจารึกทั้งหมด พิมพ์คำจารึกเป็นอักษรอย่างใหม่แต่เรียงตัวอักษรตามแบบจารึกเดิม กลับพิมพ์คำอ่านและคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสไว้การพิมพ์โดยวิธีนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เชี่ยวชาญภาษาและอักษรศาสตร์ของไทยโบราณ และผู้ที่รู้ภาษาฝรั่งเศสแต่จะไม่เป็นประโยชน์สำหรับคนส่วนมากที่ขาดความรู้ในสองทางนั้นถ้าได้พิมพ์คำอ่านให้นักเรียนใหม่ๆหรือคนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ กลับทำคำอธิบายเท่าที่ควรอธิบายไว้ด้วยแล้วนาเรื่องจารึกกรุงสุโขทัยจะนับว่าสมบูรณ์เท่าที่พึงปรารถนา อีกประการหนึ่งเราจารึกกรุงสุโขทัยเฉพาะอย่างยิ่งหลักของพ่อขุนรามคำแหงนั้นต่างประเทศได้เอาไปพิมพ์ให้ชนชาติของเค้าได้อ่านเข้าใจสะดวกมาก่อนไทยเราตั้งเกือบศตวรรษมาแล้ว เช่นทางอังกฤษ เซอร์ยอนเบาริง ได้เอาไปพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ. 2400 คือเมื่อ 70 ปีเศษมาแล้ว ทางเยอรมัน นายบัสเตียน ได้เอาไปพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ. 2408 คือเกือบ 70 ปีมาแล้วเหมือนกัน ทางฝรั่งเศสนายฟูร เนอโร ได้เอาไปพิมพ์ที่ปารีสเมื่อพ.ศ. 2437 คือเมื่อราว 40 ปีมาแล้ว และศาสตราจารย์ เซเดส์ ได้มาทำอย่างละเอียดในพ.ศ. 2467 อีก แปลว่าคนต่างประเทศโดยทั่วไปเขาสามารถจะอ่านสิราจารึกของเราให้เข้าใจง่ายๆได้มาตั้งหลาย 10 ปีแล้ว สมควรที่ไทยเราเองผู้เป็นเจ้าของจะพิมคำจารึกให้อ่านเข้าใจกันได้ทั่วไปศิลาจารึกเป็นเครื่องมือที่มีอำนาจยิ่งกว่าเครื่องมือใดใดในการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ กล่าวโดยเฉพาะศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้ให้แสงสว่างแก่การศึกษาประวัติศาสตร์สยาม ตัดข้อสงสัยทำลายข้อสันนิษฐานลบล้างความเดาและปลดเปลื้องเรื่องนิยายที่เรากันมาโดยปราศจากความจริงได้เป็นอันมาก ในการเรียบเรียงคำอ่านศิลาจารึกที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ข้าพเจ้าได้มอบให้ข้าราชการในกรมศิลปากรผู้คุ้นเคยกับงานศิลาจารึกมาแล้วคือ หลวงบริบาล บุรีภัณฑ์ นายสมบุญ โชติจิตร นายสิน เฉลิมเผ่า และนายฉ่ำ ทองคำวรรณ(เปรียญ) แบ่งงานกันไปทำโดยเร่งรัดข้าราชการทั้งสี่ได้พยายามทำมาทันความประสงค์แต่มีบางคำบางแห่งที่ยังสงสัยไม่แน่ใจได้ทิ้งไว้ตามตัวเดิมและพยายามคิดค้นคว้าต่อไป เรื่องจารึกกรุงสุโขทัยนั้นศาสตราจารย์ เซเดส์ ได้ทำคำอธิบายประวัติไว้โดยพิสดารในหนังสือที่เจ้าคุณมุขมนตรีได้พิมพ์มาแล้วในพ.ศ. 2467 ในการพิมพ์ครั้งนี้ข้าพเจ้าทำคำอธิบายไว้บ้างเพื่อให้ผู้อ่านทราบประวัติของศิลาจารึกไม่ต้องไปค้นหาเล่มเดิมและเพื่อเพิ่มเติมความบางข้อที่ ศาสตราจารย์ เซเดส์ มิได้อธิบายไว้ในครั้งกว่านั้นบ้าง


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 26/03/2018