< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / แบบเรียนภูมิศาสตร์ ว่าด้วย ทรีปอาฟริกา สำหรับชั้นมัธยมปีที่ ๕ ถึงมัธยมปีที่ ๘ >

แบบเรียนภูมิศาสตร์ ว่าด้วย ทรีปอาฟริกา สำหรับชั้นมัธยมปีที่ ๕ ถึงมัธยมปีที่ ๘

แบบเรียนภูมิศาสตร์ ว่าด้วย ทรีปอาฟริกา สำหรับชั้นมัธยมปีที่ ๕ ถึงมัธยมปีที่ ๘

เนื้อหาอย่างย่อ

แต่เดิมมาการเรียนภูมิศาสตร์เป็นแต่ท่องจำชื่อภูเขา แม่น้ำ เมืองสำคัญ อาชีพของพลเมือง และสินค้าขาเข้าขาออกเท่านั้น เมื่อเป็นดังนั้นมีผู้เข้าใจว่า วิชชาภูมิศาสตร์ไม่สู้จะเป็นวิชชาสำคัญนัก แต่ที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ วิชชาภูมิศาสตร์ที่สอนถูกย่อมให้สังเกตและเปรียบเทียบ ไม่ใช่แต่จะให้ท่องจำเท่านั้น เมื่อเราจะเรียนภูมิศาสตร์ของประเทศใด เราต้องศึกษาลักษณะพื้นที่ของประเทศนั้น เมื่อเราทราบลักษณะของพื้นที่ ก็ทราบว่าประเทศนั้นมีอากาศเป็นอย่างไร เมื่อทราบอากาศและดินแล้ว ก็บอกได้ทันทีว่า มีพืช และสัตว์อะไรบ้าง พลเมืองในประเทศนั้นมีอาชีพอย่างไร ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือจับสัตว์น้ำ ถ้าประเทศใดมีพื้นที่ราบและอุดมไปด้วยน้ำ ก็ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงวัว แถบเขามีการเลี้ยงสัตว์เช่นแกะ และแถบฝั่งทะเล แม่น้ำ และลำคลอง มีการจับสัตว์น้ำ ถ้าประเทศใดอุดมไปด้วยโลหะธาตุ เช่นเหล็กและถ่านศิลา ประเทศนั้นก็ประกอบการหัตถกรรมหรือทำเหมืองแร่ การไปมาในประเทศจะสะดวกดีหรือไม่ ก็ต้องดูลักษณะพื้นที่ของประเทศ ถ้าการไปมาสะดวกก็มีการพาณิชย์มาก แม้แต่การตั้งภูมิลำเนาและการแบ่งอาณาเขตต์ก็อาศัยลักษณะแห่งภูมิประเทศ เมื่อนักเรียนได้ศึกษาเช่นนี้แล้ว ไม่ได้ใช้แต่ความจำอย่างเดียว ใช้ทั้งความสังเกตและความคิดด้วย การเรียนภูมิศาสตร์ต้องเริ่มต้นที่ที่เราอยู่ก่อน แล้วจึงค่อยขยายออกไปถึงประเทศที่ใกล้เคียง ที่สุดจนประเทศที่เราไม่เคยไปหรือไม่เคยเห็น เมื่อเราจะศึกษาประเทศที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถจะไปด้วยตนเองได้ ก็อ่านเรื่องราวของผู้ที่ได้ไปเรียบเรียงไว้ แล้วเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ ก็จะทราบภูมิสาสตร์ของประเทศนั้นได้ดี สำหรับภูมิศาสตร์ทวีปอาฟริกา ข้าพเจ้าได้แบ่งประเทศที่มีพื้นที่ อากาศ พืช และพลเมืองที่คล้ายคลึงกันออกเป็นแถบๆ ประเทศหนึ่งๆในทวีปอาฟริกา ยังแบ่งออกเป็นแถบๆ ตามลักษณะแห่งภูมิประเทศโดยทำนองเดียวกัน เวลาเรียนภูมิศาสตร์ควรเอาแผนที่ใหญ่ออกกางดูด้วย แผนที่ที่นับว่าดี เช่น Philips’ Modern School Atlas of comparative Geography เวลานี้แบบเรียนภูมิศาสตร์ยังไม่สู้มีมากนัก จึงหวังว่าแบบเรียนนี้คงจะเป็นประโยชน์แก้ครูและนักเรียน


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 05/03/2018