บทละคอนเรื่องรถเสน

บทละคอนเรื่องรถเสน

เนื้อหาอย่างย่อ

เรื่องรถเสน เป็นชาดกเรื่องหนึ่งชื่อว่ารถเสนชาดกมีอยู่ในคัมภีร์ปัญญาชาดกซึ่งเป็นหมวดชาดกนอกนิบาต(พาหิรชาดก)เช่นเดียวกับเรื่องสุธนชาดกที่กรมศิลปากรเคยสร้างบทละครเรื่องมโนห์ราขึ้นแสดงเมื่อพ.ศ.๒๔๙๗แต่รถเสนชาดกมีเรื่องชวนคิดอยู่อย่างนึงที่นามละครตัวเอกคือพระรถเสนและนางเมรีไปพร้อมกับนามสกุลในนิยายประวัติศาสตร์ตอนแรกเริ่มของพงศาวดารล้านช้าง( ซึ่งเป็นตอนต้นของพงศาวดารชาติไทยในแหลมอินโดจีนทั่วไปด้วย)เป็นแต่ในพงศาวดารล้านช้างระบุนามว่าเจ้าพุทธเสนและนางกางรี(ดู-ประชุมพงศาวดารภาคที่๑)ไม่เรียกว่าเมรีถึงในรถเสนชาดกก็เรียกว่ากังรีและในหนังสือเก่าเช่นโคลงนิราสหริภุญชัยก็ระบุว่ากังรีเหตุใดชื่อนางเอกในเรื่องนี้จึงมาเปลี่ยนเป็นเมรียังไม่พบต้นเหตุแต่ถ้าจะลองเดาดูก็พอได้นางกังรีในเรื่องรถเสนชาดกนั้นเมื่อตอนจะต้องจากรถเสนผัวรักถูกมอมเหล้าจนเมามายไม่ได้สติบทบาทของนางกังรีตอนเมาเหล่านี้คงจะเป็นที่รู้จักกันเด่นดีกว่าตอนอื่นจึงเลยเรียกชื่อกันให้เข้ากับบทบาทว่าเมรีคู่กับคำว่าเมรัยซึ่งเป็นน้ำดอกของเมาสมกับบทบาทอันเด่นของเธอในตอนนั้นเรื่องรถเสนเคยมีผู้แต่งไว้เป็นกาพย์ขับไม้และบทโหรีมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในครั้งโบราณคงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือเช่นปรากฏว่ามีผู้นำเอามาเล่นละคอนกันแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาคู่กับเรื่องสุธนมโนห์ราแต่รู้จักกันดีโดยชื่อว่าพระรถเมรีนิทานของเขมรก็มีเราเรียกว่ารถทิเสนดำเนินเรื่องก็คล้ายคลึงกันยังมีสถานที่บางแห่งระบุไว้เป็นชื่อของพระเอกนางเอกในเรื่องเช่นพระรถในอำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรีและเขานางเนรีตั้งอยู่นะฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามกับนครหลวงพระบางของลาวซึ่งกล่าวว่าภูเขาลูกนั้นคือลูกที่นางเมรีตามพระรถมาแล้วสิ้นใจลงที่นั่นและซ้ำกล่าวว่าภูเขานั่นคือตัวนางเมรีเองเมื่อสิ้นชีวิตแล้วร่างกายก็กลายเป็นหินเลยเป็นภูเขาอย่างไรก็ตามเรื่องพระรถเมรีที่มารู้จักกันแพร่หลายต่อมานั้นคงจะเกี่ยวกับที่มีผู้นำเอาเรื่องมาเผยแพร่หลายทางเช่นในสมัยหนึ่งพวกวณิพกนำไปขับร้องเป็นอาชีพเรียกว่าเพลงขอทานกับพวกหัดละคอนลิงนำไปฝึกหัดลิงให้เล่นเช่นที่ตั้งชื่อว่าปรีดาวานรเป็นต้นและมีผู้นำเรื่องมาแต่งเป็นกลอนอ่านบ้างแต่งเป็นกลอนเทศน์บ้างต่อเติมห้องเรื่องและขยายความให้พิสดารออกไปเรื่องพระรถเมรีจึงเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายตลอดมาโดยเหตุที่ได้พิจารราเห็นว่าเรื่องพระรถเมรีมีช่องทางที่สร้างขึ้นเป็นบทละคอนประกอบฉากและแซกชั้นเชิงศิลปทางนาฎกรรมได้ดีเรื่องหนึ่งซึ่งควรสร้างบทขึ้นไว้เป็นคู่กับเรื่องมโนห์ราที่เคยนำออกมาแสดงแล้วนั้นเพราะมีเรื่องเล่ากันมาว่าพระรถและนางเมรีเป็นบูรพชาติของพระสุธนและนางมโนห์ราจึงได้ปรึกษาตกลงแล้วช่วยกันสร้างบทขึ้นคนละฉากสองฉาก(ดังปรากฏนามผู้ประพันธ์ในหน้าต่อไป)โดยยึดรถเสนชาดกเป็นหลักและพยายามดำเนินเรื่องตามนั้นแต่ก็ได้นำเอาเรื่องราวบางตอนเช่นที่มีอยู่ในหนังสือกลอนอ่านซึ่งแต่งขึ้นไว้ตามนิทานที่เล่ากันมาแต่ก่อนเพิ่มเติมเข้าไว้และปรับปรุงทั้งบทละครและวิธีเล่นวิธีแสดงขึ้นใหม่ตามแนวนาฏกรรมอีกด้วยละครเรื่องนี้จึงมีเนื้อเรื่องแตกต่างออกไปจากรถเสนชาดกของเดิมแต่คงให้ชื่อเรื่องไว้ตามชื่อชาดกว่าเรื่องรถเสนในการจัดแสดงนาฏกรรมเรื่องรถเสนณโรงละครศิลปากรนี้หากท่านพิจารณาเห็นว่าการแสดงยังไม่บรรลุความสำเร็จด้วยดีทางนาฏกรรมเท่าที่ควรขอให้ได้โปรดทราบว่าสิ่งที่จะเป็นความสำเร็จด้วยดีของนาฏกรรมแต่ละเรื่องนั้นนอกจากอาศัยสมรรถภาพและอะไรๆในด้านต่างๆแล้วโอกาสและระยะเวลาที่ใช้ในการปรับปรุงก็เป็นปัจจัยสำคัญอยู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามกรมศิลปากรก็ยังมั่นใจว่าคงจะได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากประชาชนเช่นเคยมาซึ่งจะเป็นกำลังใจให้พยายามปรับปรุงเชิดชูศิลปด้านนี้ของไทยให้ยิ่งยืนก้าวหน้ายิ่งขึ้นสมกับความปรารถนาดีของท่านที่เคยเคารพทั้งหลายสืบไป.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018