สีและลักษณะหัวโขน

สีและลักษณะหัวโขน

เนื้อหาอย่างย่อ

เรื่องสีและลักษณะของหัวโขนในสมุดเล่มนี้เกิดจากความสงสัยด้วยเมื่อหัวโขนที่ใช้ในการเล่นการแสดงเกิดชำรุดขึ้น เจ้าหน้าที่เก็บ รักสาก็ส่งผ่านมาขอให้ส่งผ่านไปให้ช่างซ่อมเมื่อซ่อมแล้วช่างก็ส่งคืนมาผ่านไปยังเจ้าหน้าที่เก็บรักษา ครั้งแรกๆก็ไม่เกิดความสงสัย เพียงแต่เห็นว่าซ่อมแล้วใหม่ดี ต่อในตอนหลังๆจึงสังเกตเห็นว่าลวดลายที่ซ่อมใหม่ไม่ประณีตและไม่ช้อยชดงดงามเท่าของเก่า เมื่อมีเวลาก็หาโอกาสพิจารณาดูต่อๆไปจึงเป็นเหตุให้เห็นอะไรๆอย่างอื่นอีก โดยเฉพาะสีซึ่งดูเหมือนจะไม่คงที่เลยเกิดสงสัยและอยากรู้อยากเห็นขึ้น ลองเลียบเคียงถามช่างซ่อมดู ก็ได้ทราบว่าช่างซ่อมแล้วช่างทำหัวโขนแต่ละฝ่ายต่างมีตำราสีและลักษณะหัวโขนเป็นคู่มืออยู่ด้วยกันแล้วต่างฝ่ายต่างอ้างกันว่าได้มาจากครูช่างคนนั้นๆ ซึ่งล่วงลับไปแล้วและต่างก็หวงแหนตำราของต้นถ้าไม่ใช่ลูกหลานหรือศิษย์หาคนโปรดปรานเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจจริงๆ ก็ไม่ยอมเปิดเผยหรือให้ดูคงจะเป็นเพราะข้าพเจ้าไม่เป็นทั้งสองอย่างจึงได้รับแต่คำผัดเพี้ยนไปแต่ไม่ให้ดูก็ไม่เป็นไร อยู่ๆ มาข้าพเจ้าก็เกิดมีตำราเรื่องสีและลักษณะหัวโขนขึ้นอวดช่างบ้างตอนนี้เลยได้ดูหลายตำรา และได้ความรู้ว่าตำรานั้นๆบางอย่างก็ขัดแย้งและไม่ตรงกัน ทั้งบางตำราก็สังเกตเห็นได้ว่าจดไว้อย่างคร่าวๆเป็นที่หมายรู้กันเฉพาะตัวเข้าใจว่าบางอย่างก็จดไว้ด้วยเข้าใจผิดด้วยซ้ำ แต่อย่างไรก็ดีในการสอบสวนค้นคว้าเรื่องนี้เป็นเหตุให้ได้ความรู้ใหม่อีกอย่างหนึ่งว่าความรู้ในเรื่องสีและลักษณะหัวโขน เช่นตีพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่ความรู้ของครูบาอาจารย์ทางโขนหากแต่เป็นความรู้ของช่องผู้สร้างหัวโขน ถ้าไปไต่ถามครูอาจารย์ทางโขน ก็ได้ความรู้ในเรื่องนี้น้อยเต็มทีหรือบางคราวก็กลับได้ความรู้เป็นอย่างอื่นไปเสีย และก็เช่นเดียวกับความรู้ในศิลปทางโขน คือมิได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายคงรู้กันอยู่แต่ในวงการช่างทางนั้นด้วยกัน ทั้งในบรรดาช่างก็คงรู้ดีกันอยู่แต่ครูหรือช่างผู้ควบคุมส่วนช่างลูกมึงก็คงทำไปตามแต่ครูหรือหัวหน้าผู้ควบคุมสร้างความรู้อันเป็นรายละเอียดที่มีอยู่เป็นหลักฐานก็ดูเหมือนจะเพียงแต่จดไว้เพื่อช่วยความจำมากกว่าที่จะมุ่งหมายให้เป็นตำรา ที่เป็นดังนี้อาจเป็นเพราะในสมัยโน้นไม่มีช่องฉันครูบาอาจารย์ที่รู้เรื่องนี้อยู่แล้วติดขัดสงสัยอย่างใดก็สอบถามและปรึกษาท่านได้ ทั้งอาจเป็นได้ว่าท่านผู้รู้เรื่องดีสมัยโน้นต่างก็ไม่ถนัดที่จะ-เขียนกันอยู่แล้วจึงไม่สู้มีผู้เรียบเรียงขีดเขียนขึ้นไว้แต่สังเกตจากสีและลวดลายลักษณะหัวโขนของเดิมที่ปรากฏอยู่ เห็นได้ว่าท่านผู้รู้แต่ก่อนโน้นได้วางกำหนดเรื่องสีและบัญญัติลักษณะหัวโขนไว้เป็นแบบแผนเรียบร้อยเป็นอันดี โดยเฉพาะเรื่องสีเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะโขนบางตัวให้สีผิดนิดเดียวก็กลายเป็นคนละตัวไปได้ แต่ที่ความรู้ในเรื่องเหล่านี้มาเกิดเสริมสร้างขึ้นในภายหลังนั้น ก็คงเนื่องจากท่านผู้รู้เรื่องดีหมดตัวไปและช่างบางคนก็มีน้ำใจไม่สู้กว้างขวางความรู้ความจำและฝีมือช่างในเรื่องผสมสีและสร้างหัวโขนจึงเสื่อมทรามไปด้วย เคราะห์ดีที่ยังมีหนังสือบางเรื่องทำนองเรื่อง พงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์ ของเก่าเช่นที่นำมาตีพิมพ์ไว้ต่อท้ายในสมุดเล่มนี้ยังเหลืออยู่บ้างและเมื่อครั้งรัชกาลที่ห้าได้โปรดให้บรรดากวีช่วยกันแต่งโคลง ประจำภาพตัวสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์จารึกไว้ณ พระระเบียงในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในงานสมโภชพระนครครบ 100 ปี เมื่อพ.ศ. 2425 โครงประจำภาพเหล่านั้นได้บอกลักษณะและสีของตัวโขนไว้ด้วย แม้จะไม่ครบทุกตัวเช่นที่นำมากล่าวไว้ในสมุดเล่มนี้ แต่ก็มีประโยชน์อยู่มากทั้งต่อมาท่านนะคะปลาที่ผู้ล่วงลับไปแล้วและสนใจค้นคว้ารวบรวมและเรียบเรียงหนังสือไว้เล่มหนึ่ง ให้ชื่อว่า สมญาภิธานรามเกียรติ์ และมีผู้ตีพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มซึ่งท่านนาคประทีป ได้เมตตามอบให้ไว้แก่ข้าพเจ้าหนึ่งเล่มจึงเป็นโอกาสได้ศึกษาและได้รับความสะดวกจากหนังสือเล่มนั้นเป็นอันมากเรื่องสีและลักษณะของหัวโขนในลักษณะสมุดเล่มนี้ ส่วนใหญ่ข้าพเจ้าได้มาจากหนังสือดังกล่าวนั้นแล้วศึกษาเปรียบเทียบจากหนังสืออสูรพงษ์วานรพงษ์และอื่นๆบ้าง สืบสวน ไปถามจากท่านผู้รู้บ้างซึ่งแต่ละท่านต่างก็เมตตาให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นอย่างดีโดยเฉพาะท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน ได้เมตตาช่วยชี้แจงแนะนำเรื่องสีและกรุณาบันทึกเพิ่มเติมให้จากที่ข้าพเจ้ารวบรวมไว้ดังได้นำมาตีพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้และอีกท่านหนึ่ง คือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งได้เมตตาแสดงวิธีผสมสีสำหรับเขียนหัวโขนตามชื่อที่เรียกไว้ในภาษาไทยแล้วระบายลงแผ่นกระดาษมอบ ให้มาไว้ดูเป็นตัวอย่างครบทุกสีนับว่าเป็นความกรุณาพิเศษแก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งข้าพเจ้าได้ใช้สีตัวอย่างนั้นเป็นหลักมอบให้ช่างผู้มีหน้าที่ซ่อมและสร้างหัวโขนใช้สีตามนั้นทางได้จัดถ่ายรูปโขนตัวสำคัญๆ แล้วให้ช่างภาพระบายตามสีที่ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีให้ตัวอย่างไว้นั้นเป็นจำนวนมากแต่สีและลักษณะของหัวโขนตามที่บอกไว้ในสมุดเล่มนี้บางตัวก็ไม่ตรงกันกับภาพที่ผนังพระระเบียงในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาข้าพเจ้าได้ติดต่อเรื่องจะตีพิมพ์สีตัวอย่างนี้กับเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนในประเทศไทยก็ได้รับทราบว่าไม่มีโรงพิมพ์ใดในประเทศไทยสามารถตีพิมพ์ได้ถูกต้องตามสีเหล่านี้แต่แนะนำให้ส่งไปตีพิมพ์ในต่างประเทศ ซึ่งเมื่อคิดนึกตรึกตรองทบทวนดูแล้ว รู้สึกว่าเป็นการเหลือบ่ากว่าแรงและเกินกำลังที่จะทำได้ในระยะนี้ จึงจำต้องยุติไว้ก่อนแต่ภาพสีและสีตัวอย่างเรานั้นยิ่งเก็บไว้นานก็นับวันแต่จะเลือนลางจางไป จนในที่สุดอาจใช้เป็นแบบและเป็นสีตัวอย่างไม่ได้ซึ่งเป็นสิ่งน่าเสียดายสมุดเล่มนี้จึงขาดความสมบูรณ์อย่างสำคัญที่ไม่สามารถนำสีมาตีพิมพ์ ไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างได้ถามเรื่องสีและลักษณะของหัวโขนที่นำมากล่าวไว้ก็ยังไม่สมบูรณ์ในเล่มดังท่านผู้อ่านอาจสังเกตเห็นได้ว่าหัวโขนที่มีอยู่ในรายชื่อนั้นบางแห่งก็มิได้บอกสีและรูปลักษณะไว้ เพราะยังไม่พบหลักฐานและตำราทั้งที่มีบอกไว้ก็อาจจะผิดผิดๆถูกๆ ในบางแห่งด้วยความพลั้งเผลอหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงขอถือโอกาสเรียนปวารณาแก่ท่านผู้อ่านไว้ในที่นี้ด้วย ถ้าท่านทราบและมีหลักฐานว่าหัวโขนนั้นนั้นมีสีและรูปลักษณะเป็นอย่างอื่นผิดแผกแตกต่างไปจากที่กล่าวไว้ในสมุดเล่มนี้ ขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบด้วยจะเป็นทั้งความกรุณาและเท่ากับได้ช่วยกันแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องสมบูรณ์ในกาลต่อไป เนื่องจากชวนขยายรวบรวมและเรียบเรียงจะตีพิมพ์สมุดเล่มนี้ขึ้นหากมีการใดอันจะพึงนับได้ว่าเป็นส่วนแห่งกุศลข้าพเจ้าขออุทิศส่วนแห่งกุศลนั้นแก่ท่านนะคะประทีปและแก่บรรดาช่างฝีมือผู้ประดิษฐ์สร้างหัวโขนซึ่งได้ล่วงลับไปแล้วทุกท่าน ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งแดกท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน และท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งได้เมตตาชี้แจงแนะนำความรู้ในเรื่องสี และขอขอบใจนายชลหมู่ ชลานุเคราะห์ กับนายปราโมทย์ ค้าเจริญ ซึ่งได้มีแก่ใจช่วยถ่ายภาพและเขียนภาพลายเส้นหัวโขนให้ใช้ตีพิมพ์ประกอบไว้ในสมุดเล่มนี้ หวังใจว่าภาพเหล่านั้นคงจะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเรื่องตามที่กล่าวในสมุดเล่มนี้แจ่มแจ้งดีขึ้นเป็นแน่


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018