หนังสือพระราชทานในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิริประภาพรรณวดีกรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา ครบสัตตมวารแลปัญญาสมวาร ได้พิมพ์ประชุมคำกลอนสรรเสริญพระบารมีในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแล้ว ๒ ภาคหนังสือพระราชทานแจกในงานพระศพครบศตมาห จึงพิมพ์ประชุมกลอนสรรเสริญพระบารมีสมเด็จฯพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกภาค ๑ รวมเรื่องแต่เมื่อเสด็จสวรรคตและคำกลอนบูชาพระคุณที่แต่งภายหลังมา
คำกลอนสรรเสริญพระบารมีที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ผิดกับที่พิมพ์มาใน ๒ ภาคก่อนเป็นข้อสำคัญอยู่ ๒ ประการ คำกลอนสรรเสริญพระบารมีที่พิมพ์มาก่อนเป็นสำนวนกวีรุ่นเก่า แลแต่งเป็นหนังสือเฉพาะเรื่องเป็นพื้นมาถึงสมัยในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ มีหนังสือพิมพ์ข่าวเกิดขึ้นหลายอย่างเมื่อเสด็จสวรรคตพวกเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่สามารถจะแต่งเอง แต่งคำกลอนแสดงความอาลัยแลเฉลิมพระบารมีลงในหนังสือพิมพ์ก็มีที่เจ้าของหนังสือพิมพ์แต่งไม่ได้เอง หรือประสงค์จะให้เป็นสํานวนวิเศษขึ้นไปเที่ยววิงวอนขอร้องไห้กรงวีซึ่งตนนับถือว่าสำนวนดี ช่วยแต่งคำกลอนแสดงความอาลัยแลสรรเสริญพระบารมีให้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของตนก็มีที่ตั้งรางวัลประกวดสำนวนก็มีบางทีก็มีบางคนประสงค์จะบำเพ็ญกุศลสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่งคำกลอนเฉลิมพระบารมีชักชวนให้ผู้อื่นทำบุญให้ทานอุทิศส่วนกุศลถวายสนองพระเดชพระคุณก็มี แม้พระนักเทศน์แต่งแหล่เทศน์มหาชาติว่าด้วยเรื่องเสด็จสวรรคตตลอดจนงานพระเมรุเทศน์ให้มหาชนฟังก็มี กระบวนแต่งผิดตัดคำกลอนสรรเสริญพระบารมีซึ่งพิมพ์มาแล้ว ๒ ภาคด้วยประการฉะนี้อย่าง ๑ สำนวนกลอนที่แต่งจะพึงสังเกตได้ว่าเป็นรูปใหม่และโวหารก็เป็นชั้นใหม่ด้วยอีกอย่าง ๑ เมื่อลวกรวมพิมพ์สมุดเล่มนี้ได้ขอให้ผู้เเต่งซึ่งยังมีตัวอยู่ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เป็นต้นแลนายชิต บูรทัต ซึ่งลงนามในหนังสือพิมพ์ว่า “เอกชน” และนายชิณ รายะเลข ตรวจ ตรวจแก้ไขคำกลอนด้วยอีกชั้น ๓ จำนวนเรื่องคำกลอนสรรเสริญพระบารมีที่พิมพ์ในภาคที่ ๓ นี้มี ๑๕ เรื่องด้วยกันคือ
๑ กลอนสุภาพของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแต่งประธานให้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ( พ.ศ. ๒๔๕๓ )
๒โคลงและฉันท์ของนายชิต บูรทัต(ซึ่งลงนามในหนังสือพิมพ์ว่าเอกชน) แต่งลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ปักที่ ๕๗ (คือวันที่ ๑ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๙)
๓ โครงของนายชิณ รายะเลขแต่งเฉลิมพระเกียรติเมื่อเสด็จสวรรคตได้ลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่บางบทเมื่อปรับที่ ๕๗ นั้น
๔ ฉันท์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแต่งประทานให้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ ในปากที่ ๕๗ นั้น
๕ ลิลิตคำหลวง ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงพิมพ์แจกที่วัดราชบพิธ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๙ อันเป็นวันตรงกับวันบรมราชาภิเษกครั้งหลัง
๖ โคลงกระทู้ได้รางวัลในการประกวดสำนวนแต่งลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ปรับที่ ๕๙( คือวันที่ ๑ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๙)
๗ บทดอกสร้อยได้รับรางวัลในการประกวดสำนวนแต่งลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ในปากที่ ๕๙ นั้น
๘ กลอนสุภาพ ของขุนสารัตถ์ธุรธำรง (วอน) แต่งลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ปากที่ ๕๙ นั้น
๙ กลอนกาพย์ ของนายชิต บูรทัต แต่งลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ที่ ๖๖ คือวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๓๐)
๑๐ แหล่เทศน์มหาพนกล่าว เรื่องสวรรคตกับแหล่เทศน์มหาชาติกล่าวเรื่องถวายบังคมพระบรมศพไม่ปรากฏผู้แต่ง
๑๑ ฉันของนายชิต บูรทัตแต่งลงในหนังสือพิมพ์ประตูใหม่ปรับที่ ๖๗ คือวันที่
๑๖ เมษายน ร.ศ. 130
๑๒ แหล่มหาเทศน์แหล่เทศน์มหาพนัส ๙ เรื่องพระบรมศพแลงานพระเมรุมาศไม่ปรากฏผู้แต่งสำนวนเดียวกับผู้แต่งเรื่องสวรรคตนั้น
๑๓ ฉันท์บูชาพระคุณ ของคณะหนังสือพิมพ์ไทย ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑
๑๔ ฉันท์บูชาพระคุณ ของคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ ลงวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓
๑๕ ฉันท์บูชาพระคุณ ของขนาดหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ลงวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ บทกลอนสรรเสริญพระบารมีที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ มีอธิบายดังกล่าวมา