< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / รายงานการวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการใช้กระดาษสาเพื่อพัฒนางานด้านการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือของหอสมุดแห่งชาติ >

รายงานการวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการใช้กระดาษสาเพื่อพัฒนางานด้านการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือของหอสมุดแห่งชาติ

รายงานการวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการใช้กระดาษสาเพื่อพัฒนางานด้านการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือของหอสมุดแห่งชาติ

เนื้อหาอย่างย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ค้นคว้า วิธีการแก้ปัญหาการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือของหอสมุด
แห่งชาติ ให้มีคุณภาพดีขึ้นโดยคงสภาพเดิมของต้นฉบับ และเพื่อผลิตกระดาษสาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้
งานโดยสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งชาติ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกผลการทดลอง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพ
ของกระดาษสา ด้านการกระจายตัวของเนื้อเยื่อกระดาษสา ด้านคุณสมบัติของกระดาษสาที่เหมาะสม
กับการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือ และด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตกระดาษสา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ด้านคุณภาพของกระดาษสาที่ใช้ในการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือของหอสมุดแห่งชาติ พบว่า
สีของกระดาษสาที่ได้จากการผลิตขึ้นเองมีสีขาวใกล้เคียงกับกระดาษสาสุโขทัย ขนาด 8 แกรม แตกต่างกับกระดาษ
สาญี่ปุ่น ขนาด 3 แกรม ที่มีสีขาวเป็นธรรมชาติ ความเหนียว คงทน กระดาษสาที่ผลิตขึ้นเองมีความเหนียว
คงทนน้อยกว่ากระดาษสาสุโขทัย ขนาด 8 แกรม ส่วนกระดาษสาญี่ปุ่น ขนาด 3 แกรม มีความเหนียวคงทนสูง
มีเส้นใยที่ละเอียด มีความอ่อนนุ่ม และมีความหนืด ความบางของกระดาษสาที่ได้จากการผลิตขึ้นเองมีเนื้อกระดาษ
ที่บางใกล้เคียงกับกระดาษสาญี่ปุ่น ขนาด 3 แกรม เหมาะกับการนำมาใช้ในการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือ
ของหอสมุดแห่งชาติ แต่มีความบางน้อยกว่ากระดาษสาสุโขทัย ขนาด 8 แกรม
2. ด้านการกระจายตัวของเนื้อเยื่อกระดาษสา พบว่ากระดาษสาที่ผลิตขึ้นเองกระจายตัวได้ดีแต่ยังคงมี
เนื้อเยื่อปอสาจับตัวเป็นก้อน แตกต่างอย่างชัดเจนกับ กระดาษสาญี่ปุ่น ขนาด 3 แกรม ที่เนื้อเยื่อมีการกระจาย
ตัวอย่างสม่ำเสมอ เรียบเนียน เช่นเดียวกับกระดาษสาสุโขทัย ขนาด 8 แกรม ที่มีการกระจายตัวได้ดี
3. ด้านคุณสมบัติของกระดาษสาที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือ พบว่ากระดาษสา
ที่ผลิตขึ้นเองมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการนำมาใช้ในการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือ แต่กระดาษสาญี่ปุ่น
ขนาด 3 แกรม มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงกว่า ส่วนกระดาษสาสุโขทัย ขนาด 8 แกรม สามารถ
นำมาใช้ในการอนุรักษ์เอกสารและหนังสือได้ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่ากระดาษทั้ง 2 ชนิด ด้วยมีเนื้อกระดาษ
ที่มีความหนา
4. ด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตกระดาษสา พบว่า สามารลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์เอกสารและ
หนังสือได้มาก เมื่อเปรียบเทียบกับกระดาษสาในขนาดเดียวกัน คือ ขนาด 19×26 ซม. กระดาษสาที่ผลิตขึ้นเอง
ต้นทุนค่าใช้จ่ายราคาแผ่นละ 0.22 บาท กระดาษสาญี่ปุ่น ขนาด 3 แกรม ราคาแผ่นละ 36.75 บาท และกระดาษ
สาสุโขทัย ขนาด 8 แกรม ราคาแผ่นละ 7.50 บาท


หมวด: องค์ความรู้และสิ่งพิมพ์หอสมุดแห่งชาติ
หมวดรอง: -
ISBN: 978-616-283-508-7
ผู้แต่ง: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ปีที่พิมพ์: 2563
วันที่รับเข้า: 01/10/2020