มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพิธโภไคสวรรย์ (เชฐ หังสสุต) ให้มาแจ้งความต่อกรรมการหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ว่าจะทำการปลงศพคุณหญิงจันทร์ พิพิธโภไคสวรรย์ มีศรัธทาจะรับพิมพ์หนังสือในหอพระสมุดฯ เปนของแจกสักเรื่อง ๑ ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้ ข้าพเจ้าจึงเลือกหนังสือเรื่องลัทธิรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๕ ให้พิมพ์ตามประสงค์ เรื่องราวหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่างๆภาคนี้เปนอย่างไรจะอธิบายต่อไปข้างท้าย จะกล่าวถึงประวัติผู้มรณะภาพก่อน
ประวัติคุณหญิงจันทร์ พิพิธโภไคสวรรย์ คุณหญิงจันทร์ พิพิธโภไคสวรรย์ จ,จ. เปนธิดาหลวงมงคลรัตน์ (ช่วงไกรฤกษ์) แลเปนธิดาคนใหญ่ของขัวยายไข่ จึงเปนพี่ร่วมบิดามารดากับเจ้าจอมมารดาซุ่มในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเปนเจ้าจอมารดาของพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทร์เกิดในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๗
คุณหญิงจันทร์ได้ทำการวิวาหมงคลกับมหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพิธโภไคสวรรย์ (เชฐ หังสสุต) แต่เมื่อยังเปนตำแหน่งนายราช ภัณฑ์ภักดี หุ้มแพรมหาดเล็ก เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ แล้วได้ถวายตัวเปนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้ ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อสามีได้เปนตำแหน่งพระยาพิพิธโภไคสวรรย์อยู่ในกระทรวงพระคลัง ฯ คุณหญิงจันทร์ได้รับพระราชทานเครืองราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ในรัชกาลปัจจุบันนี้ได้รับพระราชทานเข็มเสือป่าชั้นที่ ๓
พระยาพิพิธโภไคสวรรย์กับคุณหญิงจันทร์มีบุตรธอดาด้วยกัน บุตร ๖ ธิดา ๓ รวม ๙ คน ถึงแก่กรรมเสียแต่ยังเยาว์ ๔ คน คงเหลืออยู่ ๕ คน คือ
๑ นางสาวเจิม ได้ทำการวิวาหมงคลกับหลวงนรการวิสุทธิ์(กระจ่างแพ่งสถภา) บุตรพระยาเกษมศุขการี
๒ นายชู มหาดเล้กข้าหลวงเดิม รับราชกสรเปนตำแหน่งสมห์บาญชีอยู่กรมรถไฟหลวง ได้ทำการวิวาหมงคลกับนางสาวเลื่อนไกรฤกษ์กาพระยาบุรุษรัตนราชพลลภ น้องของคุณหญิงจันทร์
๓ นาย ชอย มหาดเล็ก เมื่ออายุครบอุปสมบท สมเด็จกระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดจัดการอุปสมบทพระราชทาน ได้อุปสมบทที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งลาสิกขาบทแล้ว ได้รับราชการอยู่ในศาลฎีกา
๔ นายโชติ มหาดเล็ก
๕ นางสาวจำเรียง
คุณหญิงจันทร์อยู่ร่วมทุกข์สูขภัยพระยาพิพิธโภไคสวรรย์ ๑๔ ปีป่วยถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคมปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒ คำนวณอายุได้ ๕๖ ปี สิ้นเรื่องคุณหญิงจันทร์เพียงเท่านี้
อธิบายเรื่องที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เรื่องหนังสือที่พิมพ์ในลัทธิธรรมเนียมตามต่างๆภาคที่ ๕ นี้ เปนเรื่องลัทธิเนียมของช้าวป่าชาติต่างๆ ที่อยู่ในพระราชอาณาจักรสยามช้างฝ่ายเหนือ หนังสือเรื่องนี้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี (เจิม แสงชูโต) เมื่อยังเปนเจ้าหมื่นไวยวรนารถ เปนแม่ทัพขึ้นไปตั้งอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ได้เอาใจใส่สืบสวนเรื่องพวกชาวป่าแลลัทธิธรรมเนียมของพวกนั้นๆส่งมายังหอพระสมุดฯ ได้พิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเปนตอนๆ ยังหาเคยรวมพิมพ์แยกออกเปนเรื่อง ๑ ต่างหากไม่ เห็นว่าหนังสือเรื่องนี้ให้ความรู้อันหาได้ด้วยยาก หนังสือเช่นนี้แม้ในนานาประเทศก็นับถือกันว่า สมควรจะมีสำหรับบ้านเมืองทั่วไปทุกประเทศ เพราะพวกชาวป่ามักเปนประชาชนที่อยู่ในประเทศนั้นๆมาเก่าก่อน เมื่อรู้ภาษาแลลัทธิธรรมเนียมที่ถือในคนจำพวกนั้นๆมาเก่าก่อน เมื่อรู้ภาษาแลลัทธิธรรมเนียมที่ถือในจำนวนคนจำพวกนั้นๆมาเก่าก่อน อาจจะสอบสวนเปรียบเทียบให้รู้เรื่องพงศาวดารโบราณคดีของประเทศนั้นๆ นี้ คือในอักขรวิธีหนังสือไทยเราบัญญัติคำให้ใช้ไม้ม้วนไว้ ๒๐ คำ ยังไม่มีอธิบายแน่ชัด ว่าเหตุใดจึงใช้ไม้ม้วนแต่ ๒๐ คำเท่านั้น มีนักเรียนพึ่งพบในหนังสือของพวกอาหมซึ่งเปนไทยจำพวก ๑ อยู่ในแดนพม่าข้างฝ่ายเหนือ ปรากฏว่าคำที่ใช้ไม้ม้วนในภาษาอาหม เขาอ่านำเนียงคล้ายเอ สะกด ย ไม่ได้อ่านเปนสำเนียงไอ เมื่อได้ความรู้ขึ้นเช่นนั้นอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ ข้อนี้เปนตัวอย่างที่จะเห็นว่าได้ความรู้เพราะมีหนังสือเรื่องลัทธิธรรมเนียมแลภาษาของชนชาติต่างๆ เช่นพิมพ์ในสมุดเล่มนี้มีประโยชน์สำหรับเปรียบเทียบกัน จึงเปนของที่สมควรจะพิมพ์ให้แพร่หลาย
ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศลบุญราศีทักษิณานุปทาน ซึ่งพระยาพิพธโภไคสวรรย์ ได้ทำการปลงศพคุณหญิงจันทร์ผู้ภรรยา แลได้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้แพร่หลาย เชื่อว่าท่านทั้งหลายที่ได้รับเรื่องนี้ไปคงจะอนุโมทนาทั่วกัน
๕๗ หน้า