< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / ทรงวิจารย์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช >

ทรงวิจารย์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช

ทรงวิจารย์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช

เนื้อหาอย่างย่อ

ด้วยสำเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๗ทรงพระกรุณาโปรดเอาเป็นพระราชภาระในฐานะเป็นเจ้าภาพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรพินทุ์เพญภาคย์ราสสั่งให้หม่อมเจ้าอุปลีสาณชุมพลทำการแทนพระองค์จึงได้แจ้งประสงค์แก่กรมศิลปากรว่าจะใครได้หนังสือดีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพสักเรื่องหนึ่งถ้าได้เรื่องอันเกียวเนื่องในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยก็จะเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่งกรมศิลปากรจึงเลือกพระราชนิพนธ์วิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารซึ่งได้ไปขอคัดมาจากออฟฟิศหลวงเรื่องหนึ่งกับพระราชนิพนธ์วิจารณ์เรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราชอีกเรื่องหนึ่งพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและปรากฏว่ายังไม่ได้เคยลงพิมพ์มาแต่ก่อนทั้งสองเรื่องถ้าได้โปรดให้ลงพิมพ์ออกแจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าอรพินทุ์เพญภาคย์คราวนี้ก็จะเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวงในพระราชนิพนธ์สองเรื่องเนี้เรื่องพระราชพงศาวดารปรากฏว่าได้ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ “ปีฉลูนพศก” ที่มีเลข ๑๐ทับหลังศกหมายว่าเป็นปีที่๑๐ในรัชการซึ่งตรงกับพ.ศ.๒๔๒๐ก่อนตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ๔ปีอันเป็นสมัยที่การศึกษาหาความรู้ในทางพงศาวดารกำลังเริ่มจะฟื้นตัวพิเคราะห์ความตามท้องเรื่องเห็นว่าได้ทรงเก็บความในพระราชพงศาวดารมาทรงพระราชวิจารณ์ตลอดเรื่องส่วนเรื่องตั้งพระมหาอุปราชไม่ปรากฏว่าได้ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อไรในท้องเรื่องปรากฏว่าได้ทรงเก็บข้อความฉะเพาะที่เกี่ยวกับการตั้งพระมหาอุปราชจากหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงเก่าและพระราชพงศวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์แต่งมารวมไว้ณที่เดียวกันรูปพระราชนิพนธ์เป็นอย่างบอกบัญชีเจ้าหน้าที่ได้ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราชตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์และได้ทรงพระราชวิจารณ์ถึงเหตุที่เจ้านายเหล่านั้นได้ดำรงตำแหน่งพระมาหอุปราชประกอบไว้ด้วยพิจารณาตามเค้าความสันนิษฐานว่าจะได้ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๗ก่อนทรงพระราชนิพนธ์พระราชพงศาวดาร๓ปีการคุมเรื่องในสมุดเล่มนี้ถ้าถือเอาเวลาที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นหลักก็จะต้องเรียงเรื่องตั้งพระมหาอุปราชไว้หน้าเรียงพระราชพงศาวดารไว้ข้างหลังแต่ถ้าทำเช่นนั้นความจะไขว้เขวไม่ติดต่อกันกรมศิลปกรถือเอาความที่เขาเชื่อมกันได้สนิทเป็นหลังจึงได้เรียงพระราชพงศาวดารไว้หน้าเรียงเรื่องตั้งพระมหาอุปราชไว้หลังและยังได้เก็บเรื่องที่สัมพันธ์กับพระราชนิพนธ์สองเรื่องนี้มาลงพิมพ์ไว้ณที่เดียวกันอีกหลายเรื่องดังแจ้งอยู่ในสารบาญแล้วอนึ่งสมควรจะเล่าพระประวัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรพินทุ์เพญภาคย์ให้ปรากฏไว้ในที่นี้สักเล็กน้อยเพื่อเชิดชูพระเกียรติคือพระองค์เจ้าอรพินทุ์เพญภาคย์เป็นพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติณวันอาทิตย์เดือน๖ขึ้นค่ำ๑ปีระกาตรงกับวันที่๒๗เมษายนพ.ศ.๒๔๑๖ในเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อยธิดาหม่อมเจ้าโสภณซึ่งเป้นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ต้นสกุลอิศรางกูรณอยุธยาพระองค์ทรงตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติประพฤติพระองค์สมครแก่ราชสกุลทุกประการและพระองค์มีพระอัธยาศัยเผื่อแผ่กว้างขวางทรงเป็นเป็นประโยชน์ของสาธารณชนเป็นสำคัญดังมีตัวอย่างที่ควรนำมากล่าวในที่นี้ก็คือพระองค์ได้ทรงสร้างตึกไว้ณวัดบวรนิเวศหลังหนึ่งซึ่งเป็นสถานที่เล่าเรียนของกุลบุตรอยู่บัดนี้ขนาดนามว่า “ตึกอรพินทุ์” และเมื่อทรงพระประชวรใกล้จะสิ้นพระชนม์ยังได้ทรงนำพินัยกรรมยกทรัพย์ในกองมรดกของพระองค์ประทานให้เป็นทุนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึง๕๐,๐๐๐บาทเพื่อเก็บผลทะนุบำรงสาธารณชนผู้ป่วยไข้พระกุศลทั้งนี้จะเป็นเครื่องเตือนในสาธุชนผู้ได้รู้เห็นให้รำลึกถึงพระคุณของพระองค์อยู่เสมอแม้พระองค์จะสิ้นพระชนม์ไปแล้วแต่บุญนิธิอันนี้ยังจะเชิดชูพระเกียรติของพระองค์ท่านให้ปรากฏอยู่ตลอดกาลนานพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพินทุ์เพญภาคย์ประชวนพระโรคพระหทัยพิการสิ้นพระชนม์วันอาทิตย์ที่๒๖มกราคมพ.ศ.๒๔๗๘คำณวนพระชันษาได้๖๓ปีกรมศิลปกรของอนุโมทนาในพระราชกุศลบุญราศีทักขิณานุปทานที่ได้ทรงบำเพ็ญเป็นญาติสังคหธรรมกับทั้งได้โปรดให้ดีพิมพ์พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ให้ได้อ่านกันแพร่หลายนับว่าเป็นวิทยาทานอันจะเกื้อกูลแก่การศึกษาได้อีกสถานหนึ่งของพระราชกุศลทั้งนี้จงเป็นปัจจัยอำนวยวิบุลยผลแด่ประเจ้าบรมวงศ์เธอที่ได้กล่าวพระนามมาแล้วทุกปรารเทอญ.

 

DDC: ๙๕๙.๓ จ๒๔๗พอ


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
ผู้แต่ง: จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จฯ พระ
ปีที่พิมพ์: 2479
วันที่รับเข้า: 29/03/2018