ตำนาน เรื่องเครื่องโต๊ะแลเครื่องปั้น

เนื้อหาอย่างย่อ

     หนังสือเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งขึ้นใหม่หม่อมราชวงศ์หญิงลิ้นจี่ปราโมชณกรุงเทพในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดามาแจ้งความต่อกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณว่ามีความศรัทธาจะพิมพ์หนังสือเป็นของแจกในงานพระศพพระบิดาสักเรื่อง๑ขอให้กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนครเลือกเรื่องหนังสือให้ข้าพเจ้าเป็นผู้เลือกเลือกไปพบพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายเรื่องสิริมงคลของจีนอันกำหนดเป็นฮกลกซิ่วสำหรับเขียนลวดลายสิ่งของต่างๆมีเครื่องถ้วยชามและเครื่องตั้งโต๊ะบูชาเป็นต้นเห็นว่าเหมาะดีด้วยเป็นหนังสือสุภาษิตและเป็นพระราชนิพนธ์ทั้งตัวเนื้อเรื่องเนื่องในพระเกียรติคุณอย่าง๑ของพระองค์เจ้าปรีดาคือซึ่งสมชาติชำนิชำนาญในเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยบ้านยิ่งกว่าผู้อื่นโดยมากแต่พระราชนิพนธ์นั้นไม่ยาวจึงจะพิมพ์เป็นเล่มสมุดโดยลำพังได้ซึ่งคิดว่าจะเอาพระราชนิพนธ์ตั้งเป็นหลักแล้วแต่งเรื่องประกอบว่าด้วยเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นที่ไทยเราชอบเล่นมาแต่โบราณพิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานพระศพพระองค์เจ้าปรีดาเห็นว่าผู้ที่ได้รับแจกไปคงจะชอบอ่านและจะเป็นประโยชน์บำรุงความรู้ด้วยอย่าง๑ ครั้นเมื่อจะลงมือเรียบเรียงมาคิดเห็นว่าผู้ที่อ่านหนังสือเรื่องนี้คงจะมี๒จำพวกจำพวกหนึ่งเป็นผู้เอาใจใส่หรือเคยเห็นกระบวนเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นอีกจำพวกหนึ่งไม่เคยเอาใจใส่ในเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั่นมาก่อนถ้าจะให้หนังสือเรื่องนี้อ่านได้ทั้งสองจำพวกจำจะต้องแต่งเป็นทางตำนานให้รู้เรื่องราวประวัติการณ์ของเครื่องช่วยปั้นแต่แรกเกิดขึ้นและมีมาในเมืองไทยจึงกล่าวออกไปถึงเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นที่เล่นกันมาแต่ก่อนแต่เรียบเรียงทางนี้มีกิจที่จะต้องค้นคว้าหาความรู้อยู่อีกหลายอย่างแต่เผอิญข้าพเจ้ามีหนังสือตำราเครื่องถ้วยจีนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการประทานไว้แต่เมื่อคราวเล่นเครื่องโต๊ะกันเมื่อในรัชกาลที่ ๕ พอจะอาไศรยสอบสวนจากหนังสือที่นายคุลแลนด์แต่งเล่มนี้ได้เรื่องหนึ่งและยังตรวจพบหนังสือซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นพิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณอีก 4 เรื่องคือตำราปั้นเข้าใจว่าพระองค์เจ้าปรีดาเองเป็นผู้เรียบเรียงทูลเกล้าฯถวายเมื่อในรัชกาลที่๕ เรื่อง๑แหล่เทศน์มหาพนแต่งว่าด้วยเครื่องโต๊ะซึ่งตั้งประกวดการเมื่อในรัชกาลที่๔ เรื่อง๑ บัญชีโต๊ะเครื่องบูชาที่ตั้งประกวดกันครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เรื่อง๑ เพลงยาวของพระยาโยธาเขื่อนขันธ์ (โตผักชี)แต่งทูลเกล้าฯถวายว่าด้วยเครื่องโต๊ะที่ตั้งประกวดการคราวนั้นเรื่องหนึ่งนอกจากนี้ยังพบเรื่องราวเบ็ดเตล็ดในหนังสืออื่นๆที่จะตรวจสอบในทางตำนานได้อีกข้าพเจ้าจึงลงมือแต่งหนังสือเรื่องนี้ต่อมาเมื่อการที่ข้าพเจ้าแต่งหนังสือเรื่องนี้ทราบถึงท่านผู้ที่ได้เคยเป็นกรรมการตัดสินประกวดเครื่องโต๊ะมาด้วยกันเมื่อในรัชกาลที่๕ มีหลายพระองค์หลายท่านแนะนำแก่ข้าพเจ้าว่าหนังสือเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นแล้วควรจะพรรณนาถึงลักษณะการที่เล่นเครื่องตรงกันเมื่อในรัชกาลที่๕ลงไว้เสียด้วยด้วยลักษณะการเล่นเครื่องต่อครั้งนั้น นับว่าเป็นการคลุกเพลินยิ่งกว่าครั้งไหนๆที่ได้เคยมีมาแต่ก่อนถ้าทิ้งไว้จนหมดสิ้นตัวผู้ที่ได้เคยเล่นเสียแล้วก็จะเศร้ากันไปผิดผิดถูกๆลูกหลานก็จะไม่ได้รับรู้ความจริงข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำเช่นนี้ก็เกิดความศรัทธาจึงพยายามแต่งพรรณนาถึงลักษณะการที่เร่งเครื่องโต๊ะเมื่อในรัชกาลที่๕ ด้วยเพราะฉะนั้นหนังสือที่ข้าพเจ้าแต่งเล่มนี้ถ้าว่าโดยรูปเรื่องเป็น ๒ตอนตอนที่ ๑ว่าด้วยตำนานเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นแต่ต้นสมุดลงไปจนถึงหน้า ๑๖๓ ซึ่งแต่งสำหรับอ่านกันเป็นสาธารณะต่อนั้นไปเป็นตอนที่๒ ว่าด้วยลักษณะการเล่นเครื่องโต๊ะเมื่อในรัชกาลที่๕ แต่งสำหรับเป็นที่รฤกของผู้ที่ได้เคยเป็นกรรมการหรือเฉพาะผู้อ่านที่อยากทราบว่าครั้งนั้นเล่นโต๊ะกันอย่างไรในการแต่งหนังสือเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้รับความอุปการะของท่านผู้อื่นอีกมากเป็นต้นแต่ได้ไปดูพิพิธภัณฑ์สถานหลายแห่งคือพิพิธภัณฑ์หลวงในกรุงเทพฯ แห่ง๑ อยุธยาพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งหรือพิธภัณของพระยาอุเทนเทพโกสิณธร (ประสาร บุรณศิริ)แห่งหนึ่งพิพิธภัณฑ์ของพระยาสุนทรพิมล (เผล่ วสุวัต)แห่งหนึ่งพระยาวิชิตณรงค์ (คืบ สุวรรณทัต)ท่านหนึ่งท่านผู้เป็นเจ้าพนักงานและเจ้าของพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นได้มีแก่ใจเอื้อเฟื้อมากนอกจากนี้ยังอาศัยปรึกษาหารือไต่ถามและได้รับความแนะนำของผู้อื่นหลายพระองค์หลายท่านจะกล่าวแต่เฉพาะท่านผู้ที่ได้ช่วยเหลือเป็นพิเศษคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ได้ทรงช่วยตรวจสอบเรื่องเหรียญและของรางวัลโต๊ะสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมนริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงช่วยตรวจตราทักทวงต้นฉบับที่ข้าพเจ้าแต่งแต่ต้นจนปลายพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงปราจิณกิติบดีประธานบัญชีของกรมราชเลขานุการมาให้สอบชิ้นเซี่ยงฮ้อแลไหมทองหม่อมเจ้าพูลศรีเกษม ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติได้ให้สมุดตำราเครื่องถ้วยของจีน นายคุลแลนด์แต่งฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ บอกให้จดกลอนน้ำเจ้าของถ้วยและเจ้าของเครื่องโต๊ะเมื่อครั้งรัชกาลที่๔ พระยาเสถียรสุรประเพณี(ชม ชมเสรี)ได้ช่วยในการสอบบัญชีของนายกกรรมการตรวจโต๊ะครั้งรัชกาลที่๕ พระยาชัยสวรียาธิบดี (ฟ้อนศิลป์) ได้ช่วยชี้แจงเรื่องโต๊ะหลวงในรัชกาลที่๕ แหล่บัญชีเซี่ยงฮ้อไหมทอง พระยาศิริสัตว์สถิตย์ (จัน พราหมณะนันท์) ได้เป็นผู้ชี้แจงแนะนำในเรื่องถ้วยปั้น อาจารย์จีนวังส์สมาธิวัตรได้เป็นผู้ชี้แจงในเรื่องเครื่องบูชาจีน หลวงเจนจีนอักษรได้เป็นผู้แนะนำในเรื่องภาษาจีนและเป็นผู้รับธุระเที่ยวสืบสวนไต่ถามความต่างๆที่ต้องการ นายกิ้ด ได้ช่วยชี้แจงเรื่องการทำเครื่องถ้วยในเมืองจีน จีนเทียมซุน ได้ช่วยแนะนำกระบวนลายจีน ข้าพเจ้ารู้สึกขอบพระเดชพระคุณเจ้านายและขอบคุณท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้การที่ได้ช่วยเหลือทั้งที่กล่าวมาในตอนก่อนและตอนนี้เป็นอันมากและยังต้องขอบใจหม่อมราชวงศ์หญิงลิ้นจี่ด้วยโดยเฉพาะอีกโสด๑ ด้วยเมื่อไหร่จะแต่งหนังสือเรื่องนี้หม่อมราชวงศ์หญิงลิ้นจี่ขอให้กรรมการหอพระสมุดช่วยจัดการพิมพ์ให้ด้วยและอยากจะวางเงินค่าพิมพ์ให้ไว้ในหอสมุดให้เสร็จข้าพเจ้าจึงกะจำนวนเงินให้ได้เอาเงินมาส่งไว้เสร็จแล้วครั้นข้าพเจ้าแต่งหนังสือเรื่องนี้มาเห็นเรื่องราวจะยาวไปกว่าจำนวนทุนที่จะพิมพ์จึงคิดจะยุติจบลงเสียครั้งหนึ่งได้บอกแก่ผู้ที่เอาใจใส่ในการแต่งหนังสือเรื่องนี้ให้ทราบบางคนความดันชอบไปถึงหม่อมราชวงศ์หญิงลิ้นจี่จึงมาบอกข้าพเจ้าว่าขอให้ข้าพเจ้าแต่งต่อไปตามพอใจเถิดถ้าเงินค่าพิมพ์ที่ส่งไว้ไม่พอจะเพิ่มให้อีกด้วยเหตุนี้จึงได้แต่งต่อมาจนตลอดเรื่องเมื่อพิมพ์หนังสือนี้เสร็จแล้วมาอ่านตรวจดูพบที่ผิดอันควรจะต้องบอกแก้วไว้ในคำนำนี้แห่งหนึ่งกับอธิบายยังขาดอยู่แห่งหนึ่งที่ผิดนั้นคือที่น่า ๘ ตรงกล่าวด้วยที่ทำเครื่องถ้วยในเมืองจีนตรงหมายเลข ๒ ว่า "ที่ตำบลปรังเคยแขวงเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกวางไส" นั้นผิดไปที่ถูกควรจะเป็น "มณฑลกวางตุ้ง" ที่ว่าขาดคำอธิบายแห่งหนึ่งนั้นคือที่น่า๕๗ กล่าวถึงเรื่องทำกระเบื้องเคลือบในเมืองไทยว่าเมื่อครั้งกรุงเก่าปรากฏในจดหมายเหตุว่ามุงกระเบื้องเคลือบแต่ ๒ แห่ง คือที่พระที่นั่งธัญญมหาปราสาท เมืองลพบุรีแห่งหนึ่งที่วัดบรมพุทธารามในกรุงเก่าอีกแห่งหนึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าจะเป็นกระเบื้องสั่งมาแต่เมืองจีนราคาแพงจึงมิได้มุ่งแพร่หลายไปในที่อื่นๆเพราะฉะนั้นเข้าใจว่าครั้งกรุงเก่าคงจะไม่ได้ทำกระเบื้องเคลือบในเมืองไทยเหมือนในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ข้อสันนิษฐานอันนี้ขัดกับหนังสือพระราชพงศาวดารด้วยในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่าโปรดให้หมื่นจันทราชช่างเคลือบทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุงหลังคาโบสถ์วิหารวัดบรมพุทธารามข้าพเจ้าไม่เชื่อหนังสือพระราชพงศาวดารตรงนี้ด้วยเหตุ 2 ประการประการที่ 1 เศษกระเบื้องเคลือบที่พบทั้งที่กรุงเก่าและที่ลพบุรีได้ตรวจกันหลายคนเห็นเนื้อดินสีอ่อนเป็นดินเมืองจีนมีใช่ดินเมืองไทยอีกประการหนึ่งถ้าทำกระเบื้องเคลือบได้โครงมุงแพร่หลายออกไปหลายแห่งเหมือนอย่างที่ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้เห็นว่าครั้งกรุงเก่าทำไม่ได้เองจึงมุงน้อยแห่งรักเมื่อมุมวัดบรมพุทธารามจึงเห็นเป็นการแปลกประหลาดจนพากันเรียกชื่อวัดนั้นว่าวัดกระเบื้องเคลือบแต่ถ้าหากว่าความสันนิษฐานของข้าพเจ้าจะผิดไปความจริงกระเบื้องนั้นทำที่ในกรุงเก่าดังกล่าวในหนังสือพระราชพงศาวดารไซส์ได้เข้าใจว่าเห็นจะได้ช่างเคลือบเข้ามาเมื่อในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำกระเบื้องเคลือบมุมพระที่นั่งธัญญมหาปราสาทกับพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุเมืองลพบุรีอีกแห่งหนึ่งข้าพเจ้าเพิ่งขึ้นไปพบเศษกระเบื้องเคลือบมีเวลาอยู่ที่พระวิหารหลวงบางทีจะเป็นช่างคนนั้นเองอยู่มาจนแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชาด้วยระยะเวลาไม่ห่างกันนักจึงโปรดให้ทำกระเบื้องเคลือบขึ้นมุมวัดบรมพุทธารามความที่กล่าวมาในข้อนี้แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะวินิจฉัยกันเทอญข้าพเจ้าหวังใจว่าท่านทั้งหลายที่ได้หนังสือเรื่องนี้ไปคงจะพอใจอ่านแต่ถ้าหากท่านผู้ใดเห็นว่าความรู้ในเรื่องเครื่องถ้วยที่แสดงไว้ในหนังสือเรื่องนี้ยังวิปลาสคลาดเคลื่อนหรือว่าไม่ฤกซึ้งสมควรแก่เรื่องที่แต่งเห็นว่าเรื่องเครื่องถ้วยนี้ข้างฝรั่งเขาถือกันว่าเป็นความรู้อันลึกซึ้งอย่างหนึ่งและมีหนังสือเรื่องเครื่องถ้วยแต่งไว้ในภาษาต่างประเทศมากมายหลายฉบับจะเห็นว่าข้าพเจ้าแต่งไม่ทัดเทียมที่ชาวต่างประเทศเขาแต่งได้ถ้าท่านผู้ใดนึกติเตียนเช่นนั้นไซร้ขอจงได้เข้าใจว่าข้าพเจ้ามีใช่ผู้ชำนาญในเรื่องเครื่องถ้วยเหตุใดจึงแต่งหนังสือเรื่องนี้ได้กล่าวไว้ข้างต้นคำนำนี้แล้วความมุ่งหมายของข้าพเจ้ามีอยู่เพียงเท่าที่กล่าวไว้เท่านั้น

พิมพ์ในงานพระศพพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พ.ศ. ๒๔๖๐

๔๑๐ หน้า

DDC: ๗๓๘.๒๘ ก๔๙๕


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
ผู้แต่ง: ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ปีที่พิมพ์: 2460
วันที่รับเข้า: 26/05/2020