อตีตังสญาณ
หรือ
เครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต
ของ
ธนิต อยู่โพธิ์
กรมศิลปากร
พิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณร
ซึ่งเข้าชม
พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร
ในเทศการเข้าพรรษา
พ.ศ. ๒๕๑๑
พิมพ์จำนวน ๒๐,๐๐๐ ฉบับ
เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษากรมศิลปากรเคยเปิดหอสมุดแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครให้พระภิกษุสามเณรเข้าชมในวันแรม 4 ค่ำและแรม 5 ค่ำเดือน 8 เป็นประเพณีประจำทุกปีซึ่งในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 และอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2511 ในโอกาสเช่นนี้กรมศิลปากรเคยจัดพิมพ์หนังสือสารคดีถวายเป็นเครื่องประดับสติปัญญาตามฐานานุรูปด้วยและเนื่องจากในระยะหลังนี้กรมศิลปากรได้ก่อสร้างและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขึ้นในต่างจังหวัดหลายแห่งจึงได้ดำริที่จะเปิดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติตามจังหวัดต่างๆนั้นให้พระภิกษุสามเณรในท้องถิ่นนั้นนั้น ได้เข้าชมในเทศกาลเข้าพรรษาด้วยแต่ยังไม่พร้อมที่จะจัดได้จึงรั้งรอมาและมีความหวังอยู่ว่า คงจะเปิดถาวรได้ในภายหน้าในเทศกาลเข้าพรรษาปีนี้จึงคงเปิดให้เข้าชมแค่หอสมุดแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครเช่นเคย และได้เลือกเรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดีจัดพิมพ์ถวายเป็นธรรมบรรณาการแก่พระภิกษุและสามเณรซึ่งเข้าชมหอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรีด้วยเหตุผลดังกล่าวไว้ในคำนำ ของหนังสือเรื่องนั้นกลับได้เลือกเรื่องตีตัง สัญญาณหรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีตจัดพิมพ์ถวายเป็นธรรมบรรณาการแก่พระภิกษุและสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะทราบคำแปลของคำว่าตีตังสัญญาณดีอยู่แล้วซึ่งตามความหมายในพระพุทธศาสนาหมายถึงญาณคือความหยั่งรู้เรื่องราวในอดีตเป็นความรู้อย่างหนึ่งของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกแต่ที่นำมาใช้ในบทความนี้หมายถึงความรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งเป็นความรู้ถอยหลังเข้าไปในอดีตกาลเหมือนกัน โดยนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีแต่ก่อนได้อาศัยจดหมายเหตุเอกสารพงศาวดารตำนานและจารึกตลอดจนหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน แล้วศึกษาเปรียบเทียบกำหนดอายุและสมัยของเหตุการณ์และเรื่องราวนั้นนั้นขึ้นไว้แล้วใช้เป็นหลักฐานศึกษากันต่อมาแต่ในปัจจุบันได้มีนักวิทยาศาสตร์คิดค้นเครื่องทดสอบขึ้นใหม่และสามารถใช้เป็นเครื่องวิทยาการกำหนดรู้และคำนวณอายุสมัยของโบราณวัตถุสถานซึ่งไม่มีเอกสารและจารึกบอกไว้ได้ด้วยแล้วเขาพยายามปรับปรุงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนั้นให้ก้าวหน้าใช้งานการคำนวณรู้ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น อยู่ตามมานะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีตได้อีกทางหนึ่ง แต่บางทีจะเป็นเครื่องมือช่วยการศึกษาค้นคว้าที่ยังเป็นแนวใหม่อยู่และอาจทำให้ผู้รู้ที่เคยมีความสำคัญโดยใช้วิธีค้นคว้าแบบเก่ามาแต่ก่อนหย่อนความสำคัญลงไป จึงเป็นเรื่องน่าประหลาดที่ปรากฏว่ามีพวกนักรู้ ผัวเก่าขัดขวางไม่สู้จะยอมรับ เชื่อถือทั้งที่เครื่องมือวิทยาศาสตร์นั้นเขาคิดค้นขึ้นมาช่วยเหลือพวกตนเองแท้แท้ดังมีกล่าวถึงไว้ในหน้า 26-28 ของบทความนี้อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการที่น่ารู้น่าศึกษาเป็นการเปิดหูเปิดตาให้กว้างขวางออกไป ทั้งแสดงให้เห็นได้ว่าในการศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยนี้นั้นเขาก้าวหน้าไปเพียงใดแล้วนอกจากค้นหาตามเอกสารตำนานพงศาวดารและจารึกเป็นต้นดังกล่าว เขายังขนขวายค้นคว้าหาเครื่องมืออย่างอื่นมาช่วยทดสอบอีกด้วยทั้งนี้ ก็เพื่อ ที่จะให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนจนเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมร่วมกันซึ่งท่านผู้รู้ที่มีใจกว้างคงจะพอใจจึงนำบทความนี้มาเผยแพร่เพื่อได้ทราบทั่วกันและโดยเหตุที่ในบทความนี้มีกล่าวถึงบทวิทยาศาสตร์บางคำอยู่ด้วยข้าพเจ้าจึงขอแรงน้องสาวกุลพันธ์ธาดาแสนศักดิ์ช่วยเขียนคำอธิบายและนำมาพิมพ์ไว้ต่อท้ายบทความนี้หวังว่าท่านผู้ใฝ่หาความรู้จะยินดีอ่านด้วยความสนใจ ขออนุโมทนาในกุศลจริยาทานมัย ซึ่งบรรดาผู้ พุทธศาสนิกชนตั้งแต่คณะพรนายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิงคณะรัฐมนตรีและคุณหญิงท่านเจ้าของผู้จัดการห้างร้านบริษัทองค์การและท่านสาธุชนทั้งหลายซึ่งได้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์น้ำอัดลมเครื่องดื่มยาสูบยารักษาโรคและกลับปิยพันธ์ตะอื่นๆส่งมาให้กรมศิลปากรจัดสิ่งซึ่งเป็นสุขค่ะบริโภคถวายเป็นการและทานแด่พระภิกษุสามเณรที่เข้าชมหอสมุดแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครในเทศกาลเข้าพรรษาปี 2511 นี้ ขอทุกท่านจงประสบแต่สิ่งมิ่งมงคลพิบูลย์พูนผลด้วยจตุพรตลอดกาลละนานเทอญ