หนังสือ พจน์พ้อง  ว่าด้วยคำแลเสียงที่ พ้องๆ กัน สำหรับนักเรียนเลือกเรียนให้ถูก

เนื้อหาอย่างย่อ

เมื่อได้ปรารพภ์ว่านักเรียนทำไมจึงจะเขียนคำตัวสกดให้ถูกได้ ข้าพเจ้าก็รวมคำบนตำราขึ้นด้วยคิดว่าจะพอคาวมต้องการของนักเรียน ครั้นทำเข้าแล้วก็ไม่เป็นทางวินิจฉัยพอได้ จึงได้แยกไปเข้าหนังสือไตรพากย์๑ เป็นหนังสือพจน์พ้อง๑ เปนหนังสือโบราณพากย์๑ มีประเภทได้๓เล่ม ไตรพากย์คือว่าด้วยคำมคธสังสกฤตไทยใช้แยกกัน พจน์พ้อง, ว่าด้วยคำมาธสังสกฤตไทยใช้ปนกัน โบราณพากย์ว่าด้วยคำใช้ตามโบราณ การแยกดังนี้เห็นว่าจะแบ่งความจำของเด็กให้เบาได้ ในเล่มนี้ก็เปนคำเขียนทายให้เด็กเลือกจำคำที่ใช้กันอยู่โดยมากซึ่งไปพ้องแก่คำที่ไม่ใช้แต่เหมือนกัน เพราะเห็นว่าบรรดานักเรียนทั้งสิ้น ซึ่งจะนับว่าเป็นคนรู้นั้นต้องเข้าใจชำนาญในลักษณของอักษร ว่าคำพูดที่ประสงค์ความอยางนั้ต้องเขียนเป็นอักษรเช่นนั้น แม้คำพูดจะมีสำเนียงเหมือนกันแต่เล็งเอาใจความตางกัน, ก็ต้องเขียนหมายคำพูดนั้นด้วยตัวอักษรต่างกันออกไป เพราะคำพูดในภาษาไทยนี้เป็นคำสยามแท้บ้าง แลเป็นคำเจือปนมาแต่ภาษาอื่นๆ มีภาษามคธแลสังสกฤตแท้ หรือแผลงออกจากมคธแลสังสกฤตเป็นต้นบ้าง จึงต้องให้นักเรียนกำหนดตัวอักษรที่จะเขียนหมายคำพูดให้สมกับเนื้อความจงแม่นำ แม้ว่าจะโดยย่อๆ ก็คือให้กำหนดรู้ไว้๒อย่าง


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
ผู้แต่ง: กรมศึกษาธิการ
ปีที่พิมพ์: ร.ศ.120 (พ.ศ. 2444)
วันที่รับเข้า: 28/05/2018