สุภาษิตสอนศิษย์คำกลอน

เนื้อหาอย่างย่อ

หนังสือสุภาษิตสอนศิษย์ในต้นฉบับของหอสมุดแห่งชาติบอกไปว่าเป็นนิพนธ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตารามซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะสงฆ์เกียรติคุณแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปท่านได้ถึงมรณภาพเสียในต้นรัชกาลที่๕นี้เอง หนังสือนี้แต่งเป็นกลอนสุภาพสอนไม่ให้คบคนพาลและยกตัวอย่างวิธีคดโกงของคนพาลเกเรต่างๆนานาตามที่ปรากฏในยุคนั้นแต่ถ้อยคำสำนวนนั้นสังเกตว่าใช้ถ้อยคำสามัญอย่างที่พูดจากันทั่วไปแต่ในทางข้อบังคับบทกลอนนั้นดูเหมือนจะไม่เอาใจใส่เท่าไรนักบางแห่งก็ขาดคำบางแห่งก็ขาดสัมผัสเป็นดังนี้ตลอดเล่นจนทำให้เจ้าหน้าที่บางท่านสงสัยว่าจะไม่ใช่สำนวนโวหารของท่านดังนั้นจึงควรชี้แจ้งความมุ่งหมายในการพิมพ์หนังสือนี้ไว้ด้วยดังนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังนี้ท่านมีเกียรติคุณปรากฏแก่ประชาชนมากมายแม้พระพิมพ์ที่ท่านสร้างไว้ซึ่งเรียกกันว่า "พระสมเด็จพุฒาจารย์" ราษฎรยังเอามารับถือเป็นเครื่องรางกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้อยู่จนทุกวันนี้และปรากฏว่าท่านไม่ได้สั่งสมทรัพย์สมบัติเลยแม้แต่น้อยแต่มีปูชนียวัตถุที่ท่านได้สร้างไว้เป็นอนุสาวรีย์ของท่านที่ยังปรากฏอยู่แบบนี้ก็หลายแห่งเช่นตัวอย่างพระพุทธรูปใหญ่ที่วัดไชโยเมืองอ่างทองและพระยืนที่วัดบางขุนพรหม(อินทรวิหาร)ที่สร้างค้างไว้เป็นต้นส่วนเกียรติคุณของท่านนั้นราษฎรเล่าลือการต่างๆนานาหวังว่าผู้อ่านคงจะทราบอยู่บ้างแล้วซึ่งถ้าจะรวมกล่าวย่อๆก็คือ ท่านไม่เอาใจใส่ในโลกธรรมเลยข้อที่เกี่ยวกับหนังสือนี้ก็ดูเข้ากันได้คือท่านไม่เอาใจใส่ในการติชมของใครๆเลยดังตัวอย่างที่เล่าลือกันว่าท่านไปเทศน์ที่บ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ผู้หนึ่งเมื่อขึ้นธรรมาสน์ให้ศีลแล้วก็ว่า" นโม"3 หนและเทศน์ว่า "พายเถิดหนา พ่อพาย แม่พาย ตลาดจะวายสายบัวจะเน่า"แล้วท่านก็บอกจบเล่ากันว่ามีผู้ตอบว่าท่านว่าทำไมเทศน์สั้นๆเช่นนี้ท่านตอบว่า "เท่านี้ก็พอแล้วขอให้ประพฤติให้ได้ครบบริบูรณ์เถิดพ่อเอ๋ย" เพราะฉะนั้นหนังสือนี้อาจจะเป็นจดหมายที่ท่านบันทึกไว้เพื่อสั่งสอนศิษย์ของท่านก็ได้กล่าวคือนึกอะไรได้ก็เขียนลงไปจะได้สัมผัสกันบ้างไม่ได้บ้างแล้วแต่สะดวกของท่านมุ่งแต่จะสอน 10 เท่านั้นไม่ต้องการจะได้รับชมทางกวีเลยการพิมพ์หนังสือแจกเป็นที่ระลึกแก่ท่านทั้งหลายในการกุศลทอดกฐินพระราชทานนี้มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของท่านเจ้าของหนังสือนี้เป็นข้อใหญ่แต่หากเกรงไปว่าเมื่อท่านเอาไปอ่านเห็นข้อบังคับบทกลอนคาดเคลื่อนมากมายเช่นนี้ อาจจะทำให้เข้าใจเป็นทางประจาน - ร้านเกียรติคุณของท่านก็ได้จึงจำเป็นต้องอธิบายไว้ยืดยาวในที่นี้และคำอธิบายนี้ก็ต้องการเพียงชี้แจงความมุ่งหมายในการพิมพ์หนังสือนี้เท่านั้นส่วนข้อเท็จจริงว่าหนังสือนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ท่านแต่งจึงตามที่เขาบอกไว้หรือไม่นั้นต้องแล้วแต่ท่านผู้อ่านจะวิจารณ์เอาเองอีกชั้นหนึ่งและหวังว่าหนังสือนี้จะส่งเสริมความรู้ความพอใจแก่ผู้อ่านบ้างตามควร ในโอกาสนี้กรมศึกษาธิการขอขอบใจท่านทั้งหลายบรรดาที่มีศรัทธาพร้อมใจกันมาอนุโมทนากฐินณที่นี้โดยทั่วหน้ากัน


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 28/05/2018