เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดี

เนื้อหาอย่างย่อ

เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดี เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษากรมศิลปากรเคยเปิดพิพิทภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร   และหอสมุดแห่งชาติให้พระภิกษุและสามเณรเข้าชม  ในวันแรมสี่ค่ำ  และแรมห้าค่ำเดือนแปดเป็นประจำปีเว้นวรรคเช่นที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่ครั้ง พิพิธภัณฑ์สถานฯ และหอพระสมุดวชิรญาณ ขึ้นอยู่ในสังกัด   ของราชบัณฑิตยสภา   และตั้งอยู่ในบริเวณเดียวและใกล้เคียงกันซึ่งในโอกาสนั้น   ราชบัณฑิตยสภาเคยจัดพิมพ์หนังสือที่เป็นความรู้ถวายแก่พระภิกสุและสามเณรด้วย และกรมศิลปากรก็ได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาแต่ในปัจจุบัน กิจการของหอสมุดแห่งชาติ    และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปมากและรัฐบาลได้ให้ความสนับสนุนแก่กรมศิลปากร โดยโปรดให้สร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติขึ้นใหม่ ณ ริมถนนสามเสน คือหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี     บัดนี้กรมศิลปากรจึงเปิดทั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร    ถนนหน้าพระธาตุและหอสมุดแห่งชาติถนนสามเสน     ให้พระภิกษุและสามเณรเข้าชมในเทศกาลเข้าพรรษาร     ซึ่งในปีนี้ วันแรมสี่ค่ำและห้าค่ำเดือนแปด ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2511 แล้วจัดพิมพ์หนังสือถวายเป็นธรรมบรรณาการเช่นเคย     ในปีนี้ได้จัดพิมพ์แยกเป็นสองเล่มคือจัดพิมพ์เรื่อง อตีตังสญาณ หรือ เครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีตถวายเป็นธรรมบรรณาการแก่พระภิกษุและสามเณร     ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร      และจัดพิมพ์เรื่อง อ่านหนังสือวรรณคดี และสมาคมวรรณคดีถวายเป็นธรรมบรรณาการแก่พระภิกษุและสามเณร   ซึ่งเข้าชมหอสมุดแห่งชาติ ในที่นี้   ขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดีสองเรื่องนี้ ข้าพเจ้าได้แปลและเรียบเรียงจาก on reading in relation to literature และเรื่อง not upon the abuse and the use of literary societies ของท่านลาฟคาดีโอ เฮอร์น (Lafcadio Hearn)    ซึ่งท่านได้บรรยายแก่นิสิตนักศึกษาชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นสิทธิ์ของท่านใน   มหาวิทยาลัยอิมพิเรียล    แห่งกรุงโตเกียว เรื่องแรกบรรยายไว้เมื่อพ.ศ. 2442 แต่เรื่องหลังไม่มีกำหนดบอกไว้    เข้าใจว่าคงจะอยู่ในระยะปีใกล้เคียงกันส่วนประวัติสังเขปของท่านลาฟคาดิโอ เฮอร์น นั้นได้ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือเรื่อง วรรณคดีกับชีวิตและการเมือง  ซึ่งข้าพเจ้าได้แปลและเรียบเรียงไว้และกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่แล้วเมื่อพ.ศ. 2510 ท่านผู้สนใจในประวัติของท่านลาฟคาดิโอ เฮอร์น อ่านหาอ่านได้ในหนังสือดังกล่าวนั้น หวังว่าคำบรรยายของท่านลาฟคาดิโอ เฮอร์น ทั้งสองเรื่องจึงได้นำมาจัดพิมพ์ถวายเป็นธรรมบรรณาการนี้ จะเป็นสารคดีที่อำนวยประโยชน์และเป็นเครื่องประดับสติปัญญาตาม ฐานานุรูป


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018