บอทละคอนพันทาง เรื่องพญาผานอง

เนื้อหาอย่างย่อ

เมื่อระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมกับต้นเดือนมิถุนายน พ.. ๒๕๐๐ ข้าพเจ้าได้เดินทางโดยรถยนตร์ไปสำรวจโบราณวัตถุและโบราณสถานในจังหวัดทางภาคเหนือหลายจังหวัด ก่อนไปก็ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวและตำนานของจังหวัดและโบราณสถานแห่งนั้น จากหนังสือตำนานและพงศาวดารไว้บ้าง และเมื่อไปถึงจังหวัดนั้นๆ ก็ได้หาโอกาสไปดูโบราณวัตถุสถานและติดต่อสอบถามเรียนรู้เรื่องราวเพิ่มเติม จากท่านผู้รู้ในท้องถิ่นนั้นๆ อีก ครั้งกลับถึงที่พักก็หาเวลาตรวจดูแผนที่และอ่านหนังสือเรื่องราวและตำนานหรือพงศาวดารที่รวบรวมติดกระเป๋าไปด้วย เมื่อเปิดเป็นปัญหาก็ยดขึ้นเป็นข้อถกเถียงกับท่านที่ร่วมคณะไปด้วยกัน ซึ่งได้ปฏิบัติเป็นธุรกิจประจำวันตลอดเวลาที่เดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานในต่างจังหวัด และเมื่อกลับมาแล้วถ้าโอกาสอำนวยก็ยังศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปอีก ขณะพักอยู่ที่จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ ๑ และวันที่ ๒ มิถุนายน พ.. ๒๕๐๐ รวมเวลา ๒ วัน ก็ได้ไปชมโบราณวัตถุสถานพร้อมกับติดต่อสอบถามเรียนรู้เรื่องราวและศึกษาตำนาน ทั้งของโบราณวัตถุสถานและของจังหวัดด้วย เมื่อได้เห็นทั้งสถานที่และได้อ่านเรื่องราชวงศ์ปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน จากประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๐ หลายครั้งเข้า ก็เกิดข้อคิดเห็นว่า เรื่องราวเบื้องต้นของพงศาวดารเมืองน่าน ตอนกล่าวด้วยรางวงศ์ภูคา ก่อนลงมาสร้างเมืองน่าลงในท้องที่อำเภอเมืองน่านปัจจุบัน มีโครงเรื่องที่พอจะนำมาสร้างขึ้นเป็นเรื่องละคอนรำ ให้บรรจุไว้ด้วยเพลงดนตรีและบทขับร้องอันไพเราะ ประกอบด้วยท่ารำอันงดงามได้ เมื่อกลับลงมาถึงพระนคร ข้าพเจ้าจึงนำเอาโครงเรื่องและข้อคิดเห็นนี้ไปร่วมปรึกษากับหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ซึ่งท่านทั้งสอนนั้นก็ตกลงเห็นชอบด้วย ข้าพเจ้าจึงมอบให้นายมนตรี ตราโมท ช่วยดัดแปลงแบ่งโครงเรื่องออกเป็นองก์ให้เหมาะแก่ที่จะสร้างขึ้นเป็นละคอนรำ แล้วได้มอบหมายให้ผู้ซึ่งมีนามปรากฎอยู่ในหน้า ๘ รับไปแต่งขึ้นแต่ละองค์ โดยให้อยู่ในความควบคุมของนายมาตรี ตราโมท บทละคอนพันทาง เรื่อง พญาผมนอง อันเป็นละคอนรำเรื่องประวัติศาสตร์ ของกรมศิลปากร จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ บางทีท่านผู้อ่านคงจะใคร่ทราบเรื่องราวเบื้องต้นของราชวงศ์ภูคา ในเรื่องราชวงศ์ปกรณ์พงศาวดารเมืองน่านบ้าง เพื่อมิให้เสียเวลาไปค้นหาอ่านจากประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๐ จึงขอนำเรื่องย่อเฉพาะตอนที่นำมาสร้างขึ้นเป็นบทละคอนพันทางมากล่าวไว้เสียในที่นี้ ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่าพญาภูคา เสวยราชย์อยู่ในเมืองย่าง และบางทีก็เรียกว่าเมืองภูคา ซึ่งเข้าใจว่า ปัจจุบันคงจะอยู่ในท้องอำเภอปัว ทางทิศใต้ และคงจะตั้งอยู่บนภูเขาหรือที่สูง จะใช้เกวียนหรือล้อเป็นพาหนะขึ้นไปไม่ได้ ต้องเกิดเท้าขึ้นไป จึงเรียกเมืองย่าง ซึ่งคำว่า “ย่าง” ก็แปลว่า ยกเท้า, ก้าวเดิน นั่นเอง พญาภูคาได้เด็กมาเลี้ยงไว้เป็นลูก ๒ คน ภายหลัง คนพี่ชื่อขุนนุ่น ว่าไปครองเมืองจันทรบุรี เข้าใจว่าผู้แต่งตำนานจะให้หมายถึงเวียงจันทน์ ส่วนคนน้องมีชื่อ(ต่อมา) ว่าขุนฟอง ให้ครองเมืองวรนคร คือเมืองปัว ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีอำเภอปัวขึ้นอยู่ในจังหวัดน่าน ขุนฟองมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า เก้าเกื่อน ได้ครองราชย์สืบแทนพ่ออยู่ในวรนคร ต่อมาพญาภูคา ผู้เป็นปู่ให้มาเชิญพญาเก้าเกื่อนไปครองเมืองย่างหรือเมืองภูคา พญาเก้าเกื่อนจึงมอบให้นางคำบิ่นผู้เป็นพระชายา ซึ่งตั้งครรภ์อยู่แล้ว อยู่ครองเมืองวรนคร พญาเก้าเกื่อนเองไปครองเมืองภูคาตามคำเชิญของปู่ ขณะที่นางพญาคำปิ่นครองวรนครอยู่ทางนี้ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยายกกองทัพมาตีได้วรนคร นางพญาคำบิ่นกับเด็กหญิงผู้หนึ่งหนีเล็ดลอดออกจากเมืองไปหลบซ่อนอยู่ในไร่แห่งหนึ่งและประสูติโอรส ณ ที่ห้างไร่นั้น บังเอิญฝนตกซึ่งแล้งมาหลายวันแล้ว ก็ตกลงมาห่าใหญ่พัดพาเอกก้อนหินห้อนผามากองเต็มไปหมด วันต่อมาเจ้าของไร่ซึ่งเคยเป็นพ่อครัวของพญาเก้าเกื่อนอยู่แต่ก่อนมาพบเข้า ก็เชิญไปอยู่ด้วย ครั้งพระกุมารผู้เป็นโอกาสนางพญาคำบิ่นกับพญาเก้าเกื่อนเจริญวัย ก็ถูกพาตัวไปอยู่กับพญางำเมืองๆ ก็โปรดปรานทรงรับเลี้ยงไว้เป็นลูก และตั้งชื่อว่า เจ้าขุนไส่ หรือเจ้าขุนไส แล้วต่อมาทรงโปรดให้เจ้าขุนไสไปกินเมืองปราด พระราชทานนามว่า เจ้าขุนไสยศ ซึ่งอาจเป็น เจ้าขุนไชยยศ ก็ได้ ส่วนเมืองปราดนั้นเวลานี้ยังไม่ทราบว่าอยู่แถวหน และคำอักษรกล้ำ ป.. ในสำเนียงเหนือนั้นก็เป็นสิ่งที่สงสัยกันอยู่ว่าควรจะเป็นเมืองปราด ถ้าเช่นนั้น คงจะตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอและในจังน่านนั่นเอง เพราะในท้องที่ตอนเหนือของอำเภอและ มีศาลาสบปาดและน้ำปาด จึงเข้าใจว่าบางที่จะตั้งอยู่แถวนั้นก็ได้ แต่ในพงสาวดารเขียนไว้ว่าเมืองปราด ในบทละคอนนี้จึงคงไว้ตามพงศาวดาร ส่วนทางเมืองวรนคร พญางำเมืองมอบให้ชายาองค์หนึ่งชื่อว่าอั้วสิม ซึ่งมีโอรสชื่อเจ้าอามป้อมกับพระองค์แล้วให้อยู่ครอบครอง ภายหลังนางอั้มสิมกับพญางำเมืองเกิดเรื่องขัดใจกัน นางอั้วสิมจึงให้ไปเชิญเจ้าขุนไสยศมาวรนคร พญางำเมืองทรงทราบก็ยกกองทัพมาจากเมืองพเยา มาพบเจ้าอามป้อมผู้เป็นโอรสของพระองค์ตั้งรับเป็นทัพหน้าของวรนครอยู่ ก็ทรงสงสาร จึงยกทัพกลับ เจ้าขุนไสยศก็ได้อุสาภิเษกขึ้นครองเมืองวรนคร มีพระนามว่า พญาผานอง เรื่องที่นำมาดัดแปลงสร้างขึ้นเป็นบทละคอนก็มีเพียงนี้ แต่อาจมีท่านที่สนใจใคร่ศึกษาเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อยู่บ้าง จึงขอเล่าเรื่องต่อไปว่า พญาผานงมีโอรส ๖ องค์ แต่จะมีกับนางอั้มสิมหรือกับชายาอื่นหากล่าวไว้ในตำนานไม่ ต่อมาโอรสองค์ใหญ่ ชื่อพญาการเมือง ได้ครองเมืองวรนครสืบมา และได้ร่วมคิดกับพระมหาเถรธรรมบาล พากันลงมาสร้างพระธาตุแช่งแห้งชิ้นไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งนับว่าเป้นบูชนียสถานสำคัญของจังหวัดน่านอยู่ในทุกวันนี้ แล้วพญาการเมืองก็ได้ลงมาสร้างตัวเมืองน่านขึ้น ณ บริเวณนั้นด้วย พญาการเมืองมีโอรสครองราชย์สืบมา คือ พญาผากองซึ่งเป็นไมตรีกับกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัยตอนปลาย ดังมีกล่าวถึงเจ้าพรญาผากองและท้าวผากอง ในศิลาจารึกสุโขทัยและในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ส่วนพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ผู้มีบทบาทสำคัญอยู่ในละคอนเรื่องพญาผานองนี้ ปรากฎในพงศาวดารโยนกและตำนานบางฉบับว่า เกิดปีจอ พ.. ๑๗๘๑ (จ.. ๖๐๐) ขึ้นครองเมืองพระเยาสืบต่อพญาเมืองมิ่ง ผู้เป็นพระบิดา เมื่อ พ.. ๑๘๐๑ เวลานั้นมีพระชนมายุ ๒๐ ปี เป็นพระปิยสหายกับพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย และพญาเม็งราย แห่งแคว้นล้านนา บางตำนานว่าเกิดปีเดียวกับพญาเม็งราย พญางำเมืองครองราชย์อยู่ ๖๐ ปี ถ้าเป็นไปตามนี้ พญางำเมืองก็ต้องสิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.. ๑๘๖๑ ต่างเวลากับที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองน่าน ว่าพญาผานองขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.. ๑๘๖๕ (จ.. ๖๘๔) จึงอาจเป็นว่า พญาผานองได้ขึ้นครองราชย์ หลังจากที่พญางำเมืองสิ้นประชนม์แล้ว ราว ๔-๕ ปี ก็ได้ ซ้ำในบางตำนานบ่งว่า พญางำเมืองสิ้นพระชนม์ก่อนอายุ ๘๐ ปี จึงควรพิจารณากันในทางประวัติศาสตร์ต่อไป แต่ในการนำเอาเรื่องราวมาสร้างขึ้นเป็นละคอนเรื่องพญาผานองนี้ ได้รวบรัดเหตุการณ์ให้กระชับเข้า เพื่อสะดวกแก่การดำเนินเรื่องทางนาฎกรรม จึงย่อมจะแตกต่างไปจากพงศาวดารอยู่บ้าง แต่ก็เป็นส่วนพลความและตัวประกอบ ส่วนเหตุการณ์ที่เป็นหลักของเรื่องและตัวละคอนสำคัญ ได้พยายามที่จะดำเนินไปตามพงศาวดารโดยตลอด ข้อยุ่งยากในการสร้างบทละคอนเรื่องนี้มีอยู่อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งขอเรียนให้ท่านผู้ดูผู้ชมได้ทราบ คือ บทเจรจาของตัวละคอน ถ้าจะสร้างคำเจรจาขึ้นตามสำนวนและสำเนียงพูดของชามเหนือ ก็จะลำบากแก่ผู้แต่งบทและยุ่งยากแก่การฝึกหัดพูดออกสำเนียงของผู้แสดง ทั้งท่านผู้ดูเองก็จะฟังรู้เรื่องยาก แต่จะไม่ใช้คำพูดและสำเนียงแบบไทยชาวเหนือเสียเลย ก็จะขาดรสไพเราะและบรรยากาศที่ควรมีในการดำเนินเรื่องไป ซึ่งเท่ากับขาดสิ่งส่งเสริมรสศิลปทางนาฎกรรมอย่างสำคัญไปด้วย เมื่อได้ปรึกษาหารือกันดูแล้ว จึงตกลงแต่เพียงแทรกถ้อยคำและเจรจาเลียนสำเนียงพูดของไทยเหนือไว้บ้าง เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศและรสไพเราะตามท้องเรื่องและถ้ามีตอนใดขัดเขินหรือผิดพลาด ก็หวังว่าจะได้รับอภัยจากท่านผู้รู้ ด้วยความเห็นใจ ในการสร้างนาฎกรรมเรื่องพญาผานองขึ้นเป็นผลสำเร็จจนสามารถนำออกเสนอแก่ประชาชนได้นี้ ข้าพเจ้าขอขอบใจผู้แต่งบทบาททุกคนตามที่ปรากฎชื่ออยู่แล้วในหน้า ๘ นั้น กับขอขอบใจบรรดาเจ้าหน้าที่และครูนาฎศิลปในกองการสังคีต กรมศิลปากร ที่ได้เอาเป็นธุระและเอาใจใส่ช่วยฝึกสอนศิลปินและนักเรียนนาฎศิลปจนสามารถออกแสดงได้ ซึ่งจะเป็นสมบัติศิลปที่ติดตัวศิลปินและนักเรียนนาฎศิลปเหล่านั้นไปในอนาคต และขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งแก่นายมนตรี ตราโมท ซึ่งได้เอาเป็นธุระควบคุมการสร้างบท โดยได้ช่วยแก้ไขตัดทอนและแต่งเติมขึ้นใหม่ทั้งบทกลอนและเพลงดนตรีให้เข้ากับท้องเรื่องได้ดียิ่ง เป็นการก่อให้เกิดความไพเราะเป็นอย่างดี, ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งแก่หม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้ซึ่งได้กรุณาอำนายการฝึกสอนด้วยตนเอง และยังฝึกหัดจัดท่ารำทางนาฎศิลปอันงดงาม มอบให้แก่ครูนาฎศิลปของกรมศิลปากร นำไปช่วยฝึกสอนศิลปินและนักเรียนนาฎศิลปผู้แสดง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ท่ารำที่สร้างขึ้นอย่างงดงามและสอดประสานกับบทร้องและเพลงดนตรีเป็นอย่างดีนั้น ได้สร้างความรู้สึกในเกิดแก่ผู้ดูผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้อยู่แล้วในละคอนเรื่องนี้, ขอขอบใจเป็นอย่างยิ่งแก่นายโหมด ว่องสวัสดิ์ ผู้ซึ่งสามารถออกแบบและประดิษฐ์ฉากให้เข้ากับท้องเรื่องอย่างมีศิลป และเสริมส่งตัวละคอนให้เด่นดีขึ้นเป็นอันมาก และขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งแก่นางชุมศิริ สิทธิพงศ์ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่งได้เอาเป็นธุระติดต่อประสานงานทุกด้านและทุกฝ่ายในการสร้างและจัดแสดงละคอนเรื่องนี้ ให้สำเร็จเรียบร้อยลงด้วยดีทุกประการ อนึ่ง หากท่านผู้ดูผู้ชมพิจารณาเห็นว่าละคอน เรื่อง พญาผานอง นี้ควรจะได้รับความขอบใจและคำชมเชยแล้ว ขอได้โปรดแสดงความขอบใจและชมเชยตรงไปยังท่านที่กล่าวนามมาข้างต้น.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018