ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 จารึกกรุงสุโขทัย

เนื้อหาอย่างย่อ

กรมศิลปากรพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชประสิทธิคุณ ณ สุสานวัดราชธานีจังหวัดสุโขทัย 8 เมษายน 2515 กรุงสุโขทัยแจกในงานนี้ตลอดจนจัดโขนและละครของกรมศิลปากรไปแสดงเป็น มหกรรมสมโภชในงานนี้ด้วย ศิลาจารึกเป็นสิ่งสำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพราะทั่วโลกต่างยอมรับนับถือว่าศิลาจารึกเป็นหลักฐานชั้นที่หนึ่งที่จะใช้อ้างอิงได้ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่หนึ่งนี้ เป็นศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ลักษณะเป็นแท่นศิลารูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลมมนต์สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตรมีจารึกทั้งสีด้านสูง 59 เซนติเมตรกว้าง 35 เซนติเมตรด้านที่หนึ่งและด้านที่สองมี 35 บรรทัดด้านที่สามด้านที่สี่มี 27 บรรทัด เข้าใจกันว่าคงจารึกในปีพ.ศ. 1835 เมื่อปีพ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังส่งผนวชอยู่ได้เสด็จประพาสเมืองเหนือเพื่อ นมัสการเจดีย์สถานต่างๆทรงพบศิลาจารึกหลักนี้พร้อมกับพระแท่นมนังคศิลา ที่นอนปราสาทเก่าเมืองกรุงสุโขทัย จึงโปรดให้นำลงมาไว้ ณ วัดราชาธิวาสที่ประทับจำพรรษา ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็โปรดให้ส่งศิลาจารึกนี้มาด้วยภายหลังเมื่อได้เสวยราชณสมบัติแล้ว โปรดให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศวิหารไปตั้งไว้ที่ ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ข้างด้านเหนือพระอุโบสถหลังที่สองนับจากตะวันตกจนถึงปีพ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายมาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทาน พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ในพระราชวังบวรสถานมงคลให้เป็นที่ตั้งหอพระสมุดวชิรญาณในปีพ.ศ. 2468 จึงโปรดให้ย้ายหลักศิลาจารึกมาเก็บไว้ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ครั้นเมื่อพ.ศ. 2508 หอสมุดแห่งชาติย้ายไปอยู่ ณ อาคารหลังใหม่ที่ท่าวาสุกรี ประกอบกับ กองโบราณคดีดำริจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์ขึ้นที่พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน จึงได้ย้ายศิลาจารึกทั้งหมดไปไว้ที่หอวชิราวุธจนถึงพ.ศ. 2511 จึงได้ย้ายไปตั้งที่อาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครด้านเหนือชั้นบนซึ่งเป็นห้องแสดงศิลปะสมัยสุโขทัยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี หนังสือประชุมจารึกสยามภาคที่หนึ่งจารึกกรุงสุโขทัยฉบับพิมพ์พ.ศ. 2467 อธิบายเกี่ยวกับผู้แต่งศิลาจารึกหลักนี้แล้วมูลเหตุที่จารึกไว้ว่า ผู้แต่งศิลาจารึกนี้เห็นจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงแต่งเอง ถ้ามิฉะนั้นก็คงตรัสสั่งให้แต่งขึ้นแลจารึกไว้ มูลเหตุที่ให้จารึกไว้คือเมื่อมหาศักราช 1214 ตรงกับพ.ศ. 1835 ได้ สกัดกระดานหินพระแท่นมนังคศิลา ประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลานี้คือ ในวันอุโบสถพระสงฆ์ได้ใช้นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรม ถ้ามิใช่วันอุโบสถพ่อขุนรามคำแหงได้ประทับนั่งพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ข้าราชบริพาร และประชาราษฎรที่มาเฝ้า ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลาจารึกชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่า ศิลาจารึกหลักนี้คงจะจารึกไว้ในเวลาฉลองพระแท่น เพราะมีข้อความกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลาในด้านที่ 3 และจารึกนี้คงจะอยู่ใกล้ๆกันกับพระแท่นนั้น คืออยู่บนเนินปราสาทเก่าที่เมืองสุโขทัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรงพบดังกล่าวแล้ว ศิลาจารึกหลักนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชอุตสาหะอ่าน ศึกษาและนำออกเผยแพร่เป็นพระองค์แรกดังกล่าวไว้ในหนังสือประชุมจารึกสยามภาคที่หนึ่งจารึกกรุงสุโขทัย ฉบับพิมพ์พ.ศ. 2467 ว่าทรงพยายามอ่านจารึกนั้นได้ ความตลอดแล้วทรงแสดงแก่นักเรียนทรงแปลและอธิบายถ้อยคำในศิลาจารึกนั้นเป็นภาษาอังกฤษ นับเป็นองมัคคุเทศก์ในการตรวจศิลาจารึกไทย และเป็นพระองค์แรกที่ทำให้บุคคลอื่นเห็นคุณประโยชน์ของศิลาจารึกต่อมามีชาวต่างประเทศสนใจนำศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงไปตีพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ แต่การแปลและพิมพ์ยังไม่บริบูรณ์ดีเมื่อศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญภาษาตะวันออกเข้ามาเป็นบรรณารักษ์ใหญ่ในหอพระสมุทรวชิรญาณกรรมการหอพระสมุทรวชิรญาณเห็นว่ามีความสามารถที่จะแปลสิราจารึกโบราณได้จึงได้มอบให้เป็นผู้จัดทำศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้พยายามตรวจแปลศิลาจารึกต่างๆให้ถูกต้องบริบูรณ์และได้แปลศิลาจารึกเรานั้นเป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่ออำนวยประโยชน์แก่นักปราชญ์ ทั้งหลายที่สนใจและเพื่อเผยแพร่ความสำคัญของศิลาจารึกและชื่อเสียงของประเทศไทยไปยังนานาประเทศอีกด้วยนับเป็นผู้มีพระคุณต่อวงการศิลาจารึกของไทยเป็นอย่างยิ่ง เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชออกเป็นสามตอน ตอนที่หนึ่งตั้งแต่บรรทัดที่ 1ถึง 18 เป็นพระราชประวัติของ พ่อขุนรามคำแหงตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชณสมบัติใช้คำว่ากูเป็นพื้น ตอนที่สองเล่าเรื่อง ประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัยเรื่องสร้างพระแท่นมนังคศิลาเมื่อมหาศักราช 1214 เรื่องสร้างพระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัยเมื่อมหาศักราช 1207 และเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช 1205 ตอนนี้ไม่ใช้คำว่ากูเลยใช้คำว่าพ่อขุนรามคำแหงตอนที่สามตั้งแต่ด้านที่สี่บรรทัดที่ 12 ถึงบรรทัดสุดท้ายเป็นคำยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงและกล่าวถึงอะไรเขตของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้นตอนนี้เข้าใจว่าจารึกภายหลังตอนแรกหลายปีเพราะตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่หนึ่งและตอนที่สองคือตัวพยัญชนะลีบกว่าทางสระที่ใช้ต่างกันบ้าง ศิลาจารึกสุโขทัยนี้ให้คุณประโยชน์หลายด้านอาทิในเชิงประวัติศาสตร์ให้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ทำให้ทราบเรื่องราวความเป็นไปในกรุงสุโขทัยอย่างชัดเจนในเชิงอักษรศาตแล้ววรรณคดีเป็นต้นตำรับเพื่อศึกษาวิวัฒนาการของภาษาไทยและให้ความรู้ทางด้านการริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยดังในหนังสือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชคำอธิบายของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ฉบับพิมพ์พ.ศ. 2477 กล่าวไว้ว่า วิธีเขียนหนังสือไทย ที่พ่อขุนรามคำแหงบัญญัตินั้นเขียนสละอยู่บรรทัดเดียวกันกับพยานชนะไม่เอาสละไว้บนไว้ล่างเหมือนแบบของความจริงวิธีเขียนอย่างพ่อขุนรามคำแหงนี้ตรงกับแบบของยุโรป ซึ่งเป็นทีประหลาดใจ ยิ่งนักว่าพ่อขุนรามคำแหงไม่รู้จักหนังสือยุโรปเลยเหตุไฉนจึงไปมีความคิดตรงกันเข้าได้ นอกจากนั้นศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ยังได้รับนับถือว่าเป็นวรรณคดีฉบับแรกของไทยด้วยในเชิงรัฐศาสตร์ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงช่วยให้ทราบว่าในรัชสมัยนั้น มีการปกครองแบบพ่อกับลูกพระมหากษัตริย์ ใกล้ชิดกับราษฎรโปรดให้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูเพื่อให้ราษฎรได้ร้องเรียนทุกข์สุขและพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ข้าบริพานแล้วราษฎรเนืองนิจ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ศิลาจารึกหลักนี้ก็แสดงถึงเศรษฐกิจอันมั่นคงของชาวสุโขทัยราษฎรมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพดังที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ในเชิงนิติศาสตร์ก็แสดงให้ทราบได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงทรงมีพระมหากรุณาที่คุณและมีน้ำพระทัยกว้างขวางได้โปรดพระราชทานกฏหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพสวัสดิภาพและประโยชน์สุขของราษฎรและบ้านเมืองเป็นอเนกประการดังปรากฏในศิลาจารึกหลักนี้อย่างชัดเจนแล้ว ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่หนึ่งนี้ ได้พิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้งครั้งแรกพ.ศ. 2467 ในหนังสือประชุมจารึกสยามภาคที่หนึ่งจารึกสุโขทัย ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส ครั้งที่สองและครั้งที่สามพ.ศ. 2477 ในหนังสือประชุมศิลาจารึกสยามภาคที่หนึ่ง จารึกกรุงสุโขทัยและหนังสือจารึกพ่อขุนรามคำแหงกับคำอธิบายของหลวงวิจิตรวาทาการครั้งที่สี่พ.ศ. 2500 ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่หนึ่งจารึกกรุงสุโขทัย ครั้งที่ห้าพ.ศ. 2511 ในงานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ ครั้งที่6 พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยรามคำแหงจัดพิมพ์จำหน่ายเฉพาะหลักที่หนึ่งครั้งนี้นับเป็นพิมพ์ครั้งที่ 7 เอาหนึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้กรมศิลปากรได้นำประวัติศาสตร์พระราชณประสิทธิ์คุณ และถ่ายภาพศิลปะโบราณวัตถุบางชิ้นมาตีพิมพ์ไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยกรมศิลปากรขออนุโมทนาในกุศลราศีทักษิณานุปทาน ซึ่งพระครูสุขะวโรทัยรองเจ้าคณะจังหวัด และรักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยและคณะกรรมการพร้อมด้วยศิษย์ยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมใจการบำเพ็ญเป็นกุศลแก่พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยศทินฺโน) อดีต เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยผู้มรณะภาพแล้วได้จัดพิมพ์หนังสือ นี้แจกเป็นกุศลสาธารณะประโยชน์ขออำนาจกุศลทั้งปวงนี้จงเป็นพลวปัจจัยจัย ดลบันดาลให้พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยศทินฺโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยผู้มรณะภาพ ประสบอิฏฐคุณมนุญผล ตามควรแก่คติวิสัยในสมัยปรายภพ ทุกประการเทอญ


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018