เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

เนื้อหาอย่างย่อ

การที่มนุษย์เราอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ๆ นั้นความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของสังคมนั้นย่อมเป็นหัวใจสำคัญและเป็นสิ่งที่แต่ละสังคมปรารถนาให้มีมากที่สุดแล้วที่จะสร้างสรรค์ขึ้นได้ด้วยเหตุนี้ในชุมชนต่างๆจึงต้องกำหนดมาตรการในอันที่จะนำความสุขสงบมาสู่สังคมของตนขึ้นไว้มาตรการสำคัญๆ ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในขณะนี้น่าจะได้แก่กฎหมายกฎข้อบังคับและระเบียบต่างๆซึ่งเป็นข้อควบคุมความประพฤติของบุคคล ในชุมชนนั้นให้อยู่ในขอบเขตที่จะนำแต่ความสงบสุขมาสู่ส่วนรวมแต่ถึงกระนั้นก็ปรากฏว่ากฎหมายกฎข้อบังคับระเบียบเท่านั้นยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์สุขและความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมได้สมความประสงค์ผู้นำหรือประมุขของชุมชนทั้งหลายจึงพยายามหาวิธีต่างๆที่จะส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่สังคมของตนอีกทางหนึ่งด้วยเป็นต้นว่าให้รางวัลประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏหรือมอบเครื่องหมายสรรเสริญในประเทศไทยนี้พระมหากษัตราธิราชเจ้าของเราก็ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณคำนึงถึงประโยชน์สุขของพสกนิกรไทยเป็นเสมอมาตั้งแต่โบราณกาลดังปรากฏว่าได้ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเข็มเครื่องหมายเพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่บำเพ็ญคุณความดีมีประโยชน์แก่บ้านเมืองในด้านต่างๆเป็นการประกาศเกียรติคุณของท่านผู้นั้นและเป็นเครื่องโน้มน้าวจิตใจพสกนิกรในชาติให้ใฝ่ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีมีคุณภาพอยู่แก่ชาติบ้านเมืองด้วยในบรรดาเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องหมายประกาศเกียรติคุณเหล่านั้นมีเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปะวิทยารวมอยู่ด้วย เหรียญนี้จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ใช้ศิลปะวิทยาเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างเยี่ยมยอดเท่านั้นโดยจะมีคำจารึกพระนามหรือนางของผู้ที่ได้รับเปลี่ยนไว้ด้านหลังด้วยเพื่อเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้รับและได้ทรงมีพระมหากรุณาที่คุณโปรดเกล้าให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้ด้วยเป็นเครื่องเชิดชูตระกูลวงศ์ได้ เว้นแต่ถ้าทายาทนั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียก็อาจจะทรงเรียกคืน แต่ก่อนเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา เป็นเหรียญชนิดหนึ่งที่อยู่ในจำพวกเหรียญดุษฎีมาลาตามพระราชบัญญัติ ซึ่งสร้างเหรียญดุษฎีมาลาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ กำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญ รวม5 ชนิด แล้วแต่ผู้ใดทำความชอบอย่างไร ก็พระราชทานเข็มอย่างนั้นๆ เป็นเครื่องหมาย คือ๑. เข็มราชการในพระองค์ ใช้อักษรย่อว่า รดม. (พ)๒.เข็มศิลปวิทยา ใช้อักษรย่อว่า รดม.(ศ)๓. เข็มราชการแผ่นดิน ใช้อักษรย่อว่า รดม.(ผ)๔. เข็มความกรุณา ใช้อักษรย่อว่า รดม.(ก)๕. เข็มความกล้าหาญ ใช้อักษรย่อว่า รดม.(ห)เข็มที่ได้ใช้กลัดติดกับแพรแถบ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงคุณพิเศษตามความชอบของผู้ที่ได้รับพระราชทาน ต่อมาเมื่อมีเหรียญพระราชทานแทน เหรียญและเข็มอื่นๆจึงเลิกไป เหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยาอย่างเดียว ถึงแม้ตามกำหนดในพระราชบัญญัติฉบับแรก เหรียญดุษฎีมาลาจะมี4 ชนิด คือ ทองคำ, เงินกาไหล่ทอง, เงินเปล่า และสำริด แต่ทั้ง ๔ ชนิดนี้มีเกียรติยศเสมอกัน พระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลาพ.ศ. ๒๔๒๕ นั้น ได้ใช้มาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พุทธศักราช ๒๔๘๔ ออกใช้แทน ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิมเหรียญดุษฎีมาลาจึงมีลักษณะเป็นเหรียญเงินกาไหล่ทอง ชนิดเดียว ถึงพ.ศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลาใหม่และได้ใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน หากผู้รับพระราชทานทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติถึงขนาดอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษคิดเป็นเงินปีตลอดชีวิต. แต่จะถูกตัดเมื่อประพฤติตนไม่เหมาะสม เนื่องจากกรมศิลปากรเห็นว่า ความรู้เรื่องเกี่ยวกับเรียนดุษฎีมาลาเป็นเข็มศิลปวิทยานี้  ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เพราะในปีหนึ่งๆ มีผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเป็นจำนวนน้อย บางปีก็ไม่มีผู้ได้รับพระราชทานเลย จึงได้พิมพ์เผยแพร่ขึ้นครั้งหนึ่ง เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๔ โดยกรมศิลปากรได้มอบให้เจ้าหน้าที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ มีนางกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และนางสาวอารี สุทธิเสวันต์ รวบรวมและเรียบเรียงในโอกาสที่ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการได้รับเหรียญนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ และ ๒๕๑๔ ครั้งนั้นจึงมีรายนามเฉพาะท่านที่ได้ใน 2 ปีนี้เท่านั้น มาบัดนี้กรมศิลปากรเห็นควรเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยานี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น จึงได้รวบรวม และเรียบเรียงรายพระนามและนามของผู้ที่ได้รับตั้งแต่เมื่อเริ่มสถาปนาเหรียญเพิ่มเติม แต่เข้าใจว่าการรวบรวมอาจยังบกพร่องอยู่ เพราะในปีที่สถาปนาเหรียญดุษฎีมาลา เมื่อวันศุกร์เดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเมีย จัดวาสกจุลศักราช ๑๒๔๔ (พ.ศ. ๒๔๒๕) นั้น ไม่มีราชกิจจานุเบกษา ทำให้คนพระนามและนามได้ไม่ครบถ้วนและอีกประการหนึ่ง บางคนทราบแต่นามเดิมในปีที่ได้รับพระราชทาน แต่ไม่ทราบยศบรรดาศักดิ์ และชื่อสกุลในเวลาต่อมา เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดเห็นข้อบกพร่องนี้แล้ว เมื่อทราบนามของผู้ที่ได้รับพระราชทานขาดตกไป หรือทราบยศ บรรดาศักดิ์ หรือสกุลของผู้ใดแล้ว จะกรุณาแจ้งให้กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ทราบ ก็จะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของชาติ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมเผยแพร่เกียรติคุณของบุคคลผู้ซึ่งได้สละกำลังกาย กำลังความคิด และแม้กระทั่งชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อประเทศชาติทั้งทหารและพลเรือน สมดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ผู้ทรงสถาปนาเหรียญดุษฎีมาลาด้วย กรมศิลปากรหวังว่า หนังสือนี้จะอำนวยประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจศึกษาค้นคว้าตามควร


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018