บทละคอนเรื่อง อิเหนา ตอนประสันตาต่อนก

เนื้อหาอย่างย่อ

ย่อมเป็นที่รู้จักอยู่แล้วว่าเนื้อเรื่องของละครอิเหนา  แต่เดิมเป็นเรื่องของชวา   ได้เข้ามาสู่วงวรรณกรรมและนาฏกรรมของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย   สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ทรงเล่าไว้ว่าเจ้าฟ้าพระราชธิดา 2 พระองค์  ของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศคือเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ   ทรงมีค่าหลวงเป็นหญิงแขกมลายูเชื้อสายพวกเชลย   ที่ได้มาแต่เมืองปัตตานี พวกข้าหลวงแขกเหล่านี้เล่านิทานอิเหนาถวายให้ทรงฟัง   เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ชอบพระหฤทัยจึงทรงแต่งอิเหนาเป็นบทละครขึ้นองค์ละเรื่อง  เรียกว่า   ดาหลังเรื่อง ๑  อิเหนาเรื่อง ๑  แต่เป็นเรื่องของอิเหนาด้วยกัน   คนจึงมักเรียกกันว่าอิเหนาใหญ่เรื่อง๑   อิเหนาเล็กเรื่อง ๑    ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ทรงสันนิษฐานว่า   เห็นจะหมายความกันในครั้งกรุงเก่าว่าอิเหนาของพระองค์ใหญ่เรื่อง  ๑ อิเหนาของพระองค์เล็กเรื่อง  ๑    จะหาได้หมายความอย่างอื่นไม่   นักศึกษาทางภาษาและกระแสทางดำเนินมาของวัฒนธรรมต่างก็ตั้งข้อสังเกตด้วยความสงสัยว่าคำว่าชวา     ซึ่งใช้กันอยู่โดยปรกติก็ดูมีสำเนียงเป็นอักษรต่ำ    แต่เหตุใดเมื่อนำเข้ามาใช้ในบทละคร   เรื่องอิเหนา   ของเราจึงกลายเป็นสำเนียงอักษรสูงไป  เช่นดาลัง    เป็น   ดาหลัง   บุลัน เป็น  บุหลัน   ดยิวา  เป็น ยิหวา  เป็นต้น  เมื่อปรากฏการณ์ทางภาษามีอยู่ดังนี้ก็ย่อมจะเป็นเครื่องช่วยให้เรามองเห็นทางที่เลือกอิเหนาก่อนจะเข้าสู่ราชสำนักกรุงศรีอยุธยานั้น  ได้ผ่านมาทางทิศและถิ่นใดก่อนซึ่งมีหลายท่าน ได้ตั้งข้อสงสัยอยู่แล้วว่าน่าจะผ่านนครศรีธรรมราชเข้ามาและข้อสงสัยนี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์แจ่มชัดขึ้นตามคอดทรงสันนิษฐานของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งทรงสันนิษฐานไว้ว่าผู้ที่นำเรื่องอิเหนาเข้ามาเล่าในกรุงสยามครั้งกรุงเก่านั้น   คงจะเป็นคนชวาหรือมลายู แต่คงจะมีล่ามแปลล่ามนั้นน่าจะเป็นชาวมลายูทางปักษ์ใต้  ซึ่งพูดไทยได้เป็นเสียงชาวนอก  หรือเป็นคนไทยชาวนอกที่พูดมลายูได้     เหตุฉะนั้นสำเนียง  ชื่อเสียงและคำมลายูทั้งปวง   ที่ใช้ในเรื่องอิเหนาจึงมีเสียงผันเป็นเสียงชาวนอกด้วย   ภาษามลายูก็ดี  ชวาก็ดี  ไม่มีเสียงผัน  ถ้าไม่มีเสียงชาวนอกมาแทรกแล้วชื่อเสียงในหนังสืออิเหนาก็ไม่น่าจะเป็น  ใช้เสียงผันดังนั้นตัวอย่าง  เช่น  ตาฮ่า เป็น  ดาหา ,  สิงคัสซารี  เป็นสิงหัศส้าหรี .  บายัน   เป็น   บาหยัน ,   ว่ายัง   เป็น  ว่าหยัง  ,    เป็นต้น   แต่นี่เป็นการเดาโดยแท้ไม่มีหลักฐานอะไร ประกอบ   กระแสพระราชดำริ ดังกล่าวนี้  แม้จะทรงยอมรับว่าเป็นการเดาโดยแท้ไม่มีหลักฐานอะไรประกอบ   แต่ก็เป็นข้อทรงสันนิษฐานของท่านผู้รู้ซึ่งปรากฏลายลักษณ์อักษรเป็นรายแรกจึงเท่ากับได้ทรงประทานแนวทาง   ให้นักศึกษาผู้ใฝ่ใจทางมา ของวัฒนธรรมเรื่องนี้สอบสวนค้นคว้าหารายละเอียดสืบไป   

            เมื่อได้นำเรื่องอิเหนามาสร้างเป็นบทละคร คลื่นในภาษาไทยแล้วก็ปรากฏว่าได้รับความนิยมยกย่องเป็นอันมากและเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว  ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี  ทรงรวบรวมคณะละครของเจ้านครสีธรรมราชเข้ามาในกรุงธนบุรี   ก็ได้โปรดให้ฝึกหัดจัดแสดงละครเรื่องอิเหนาตามบทนิพนธ์ครั้งกรุงเก่าเนืองๆ   ดังได้กล่าวไว้แล้วในที่อื่นแล้วดังได้กล่าวไว้ในที่อื่นแล้วต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้   ก็ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ได้โปรดให้บรรดากวีช่วยกันรวบรวมและแต่งบทละครทั้งเรื่องดาหลังและอิเหนาแล้วทรงตรวจตาแก้ไขตราขึ้นไว้เป็นพระราชนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ในรัชกาลที่  ๑ นั้นทั้งสองเรื่อง   ต่อมาในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละคอน  เรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ให้เหมาะเป็นอย่างดีแก่การแสดงละครรำ  ซึ่งกล่าวกันว่ามีผู้นิยมพระราชนิพนธ์นี้มากมิสู้สนใจในบทพระราชนิพนธ์ครั้งรัชกาลที่ ๑  จึงเป็นเหตุให้ฉบับครั้งรัชกาลที่๑  ขาดหายสาบสูญไปเสียบเกือบหมด  ยังคงมีผู้เก็บรักษาไว้ได้เป็นบางตอนซึ่งหอพระสมุดได้เคยรวบรวมฉบับตีพิมพ์ไว้แล้วเมื่อ พ. ศ. 2460  ส่วนบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒  ปรากฏว่ามีผู้นิยมนำไปใช้เป็นบทละคอนกันตลอดมา  แต่ก็มักนิยมเล่นกันไปตามบทจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างก็เพียงแต่ต่อเติมตัดทอนเพื่อให้เหมาะแก่เวลาและโอกาส  ต่อมาในตอนปลายรัชกาลที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ได้ทรงปรับปรุงบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ นั้นเฉพาะบางตอนตั้งแต่ “ตัดดอกไม้ฉายกริช”ถึง “ ท้าวดาหาบวงสรวง”   ให้เป็นแบบแห่งการแสดงซึ่งทรงเรียกว่า ละครดึกดำบรรพ์  และทรงฝึกหัดจัดซ้อมคณะละครของท่านเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว. หลาน  กุญชร )ให้นำออกแสดง  ณ โรงละคอนดึกดำบรรพ์ ซึ่งบทพระนิพนธ์ที่กล่าวนี้ กรมศิลปากรก็ได้เคยนำออกแสดง ณโรงละครศิลปากรคราวหนึ่ง  เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ยังมีตอนหนึ่งซึ่งทรงพระนิพนธ์บทค้างไว้ไม่จบตอนและมิได้นำออกแสดงก็มีเมื่อรัชกาลสมัยรัชกาลที่  ๖ สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนครราชสีมา ทรงมีละครส่วนพระองค์อยู่คณะ ๑ เรียกชื่อว่า คณะสวนกุหลาบ ได้ทรงตัดทอนแก้ไขบทละคอนของเก่าและทรงนิพนธ์ปรับปรุงบทให้ กระทัดรัดเหมาะแก่การแสดงในสมัยนั้น  แล้วโปรดให้ละคอนคณะสวนกุหลาบของพระองค์แสดงหลายเรื่องหลายตอน  ปรากฏว่าละครขณะนี้ได้รับความนิยมยกย่องในทางศิลปะอยู่เป็นอันมาก ในบรรดาบทที่ทรงปรับปรุงแก้ไขไว้นั้นมีเรื่องอิเหนา  ซึ่งทรงปรับปรุงขึ้นจากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒  อยู่หลายตอนและกรมศิลปากรได้บทที่ทรงปรับปรุงแก้ไขเหล่านั้นมาพิจารณาเห็นว่า   ถ้าได้มีโอกาสนำมาฝึกหัดนักเรียนของโรงเรียนนาฏศิลป์และศิลปินของกรมศิลปากร  ให้สามารถแสดงได้ตามบทนั้นๆ  ก็จะเป็นทางงอกงามในศิลปะด้านนี้เป็นอย่างดี  ทั้งท่านที่จะให้การฝึกหัดและควบคุมการฝึกซ้อมให้เป็นไปด้วยดีก็มีอยู่  คือ หม่อมแผ้ว  สนิทวงศ์เสนี  ผู้ซึ่งเคยเป็นศิลปินผู้มีฝีมือมาในสมัยนั้น  เมื่อได้นำความคิดเห็นนี้ปรึกษากับ  หม่อม แผ้ว  สนิทวงศ์เสนี  ก็เห็นด้วยและยินดีรับจะช่วยเหลือตามที่กรมศิลปากรมุ่งหมาย ทั้งให้คำแนะนำว่า  บทที่ทรงปรับปรุงไว้นั้นอาจเหมาะสมในสมัยนั้นแต่ถ้านำออกแสดงในสมัยนี้  ควรจะได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง   เมื่อมีความเห็นร่วมกันจึงตกลงนำเอาบทละครเรื่องอิเหนาตอนซึ่งเรียกว่า  “ประสันตาต่อนก”  ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนครราชสีมาทรงแก้ไขปรับปรุงไว้มาร่วมกันพิจารณาแก้ไขปรับปรุงอีกชั้นหนึ่ง 

ในการแก้ไขปรับปรุงใหม่นี้  ก็คงยืนตามบทเดิมที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนครราชสีมา  ทรงแก้ไขปรับปรุงไว้ เพียงแต่ตัดทอนบางตอนออก เพื่อให้การแสดงกระทัดรัดและเปลี่ยนเพลงร้องกับเพลงหน้าพาทย์บางเพลง กับแทรกการแสดงบางตอนเข้าไว้ตามสมควร ซึ่งเข้าใจกันว่าจะเป็นการส่งเสริมศิลปะให้เป็นที่ชวนดูชวนชมสำหรับท่านผู้ดูโดยทั่วไป   และเนื่องจากเปลี่ยนเพลงที่ใช้ในการแสดงหลายเพลง ซึ่งบางเพลงก็มีสำเนียงเป็นแขก  และมีสร้อยเพลงเป็นคำภาษาแขกอีกด้วย   เนื่องจากใช้ร้องสืบปากต่อคำกันตลอดมาจึงผิดเพี้ยนไป ไม่อาจทราบความหมายและความคำแปลกันได้  ในการปรับปรุงบทใหม่ครั้งนี้จึงแต่งเพลงชวาขึ้นใหม่  สำหรับร้องแทรกเป็นสร้อยแทนของเดิมและบางเพลงก็เปลี่ยนใช้เนื้อร้องเป็นคำชวาตลอดก็มี  เช่นเพลงแขกยิงนกใน  ( หน้า 14)  ในการนี้ได้รับพระเมตตาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี และหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัฒน์ โปรดแต่งคำชวาประธานโดยตลอด  ดังท่านผู้อ่านจะเห็นได้ในบทละคอนฉบับพิมพ์เล่มนี้  ซึ่งนับว่าทรงพระเมตตาแก่กรมศิลปากรเป็นอย่างยิ่ง  จึงขอขอบพระคุณไว้  ณ  ที่นี้ด้วย

เนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขบทละครเรื่องอิเหนาตอน  “ประสันตาต่อนก”  นี้ กรมศิลปากรได้ถึงบทพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ  กรมหลวงนครราชสีมาซึ่ งได้ทรงปรับปรุงแก้ไขไว้เป็นหลักและได้ปรับปรุงไปตามบทนั้น  หากบทที่ปรับปรุงใหม่นี้ก็ดี   การแสดงของศิลปากรที่นำออกเสนอแก่ประชาชนก็ดี   สามารถอำนวยสาธารณประโยชน์และบันดาลความบันเทิงใจให้แก่ผู้ดูผู้ชม  แล้วไซร้ขอน้อมเกล้าอุทิศถวายเป็นมหา กรรมสักการแด่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น  ซึ่งเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ โลกโพ้น

เทอญ.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018