นิราศพระบาทของสุนทรภู่

เนื้อหาอย่างย่อ

เนื่องในการที่กรมศิลปากรได้จัดงานสตาร์แห่งวรรณคดีขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อต้นปีพ.ศ. 2503 และจัดให้มีการประชุมสัมมนาทางโบราณคดีขึ้น ณ จังหวัดสุโขทัย เมื่อเดือนก่อนได้สังเกตเห็น ว่ามีผู้สนใจในความรู้เรื่องไว้คดีและโบราณคดีมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องวรรณคดี มีผู้สนใจใครหาใครอ่านหนังสือดีดีเช่นหนังสือประเภท กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ กันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นประโยชน์ไม่น้อยเท่ากับเป็นการบริหารปัญญาและเพิ่มพูนจินตนาการของเราไปตามความงามของศิลปะซึ่งกวีได้บรรจงสร้างสรรค์ไว้แต่ก็เป็นได้ดังกล่าวไว้ในคำนำหนังสือ วรรณคดีสัญจร ว่าคำประพันธ์หรือหนังสือวรรณคดีบางเรื่องบางประเภทซึ่งกวีหรือผู้ประพันธ์ ได้แต่งกันไว้ในบางโอกาสถ้าเราผู้อ่านผู้ฟังหาทางเข้าไปสู่โอกาสนั้นได้มากหรือน้อยก็ตามอาจสร้างจินตนาการของเราขึ้นตามโดยถูกต้องตามที่กวีมุ่งหมายได้และสามารถเข้าถึงรสนิยมของไว้คดีเรื่องนั้นๆและประเภทนั้นๆ ถูกต้อง เพื่อหาทางส่งเสริมให้ท่านผู้อ่านผู้ฟังสร้างหรือคิดตามจินตนาการของกวีที่เดินทางไปนมัสการพระพุทธบาทและสร้างสรรค์ คำประพันธ์ขึ้นไว้เมื่อประมาณ 200 ถึง 350 ปีมาแล้ว ประกอบกับความสัมพันธ์ของพระพุทธบาทในจังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญ ของประชาชนคนไทย นับเวลากว่า 300 ปีมาแล้วกรมศิลปากรจึงได้จัด วรรณคดีสัญจร ครั้งนี้ขึ้นพร้อมกับจัดพิมพ์คำประพันธ์ของกวีคนสำคัญสองท่านขึ้นในโอกาสนี้ 2 เล่มคือบุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทรายในพระนครศรีอยุธยาและนิราศพระบาทของสุนทรภู่เพื่อท่านผู้ร่วมวรรณคดี สัญจรจะได้อ่านแล้วสร้างจินตนาการไปกับสิ่งที่พบเห็น  หรือไม่พบเห็น  แต่มีพรรณนาไว้ในวรรณคดีสองเรื่องนี้ บางทีจะเป็นทางช่วยให้เราเข้าถึงรสนิยมทางวรรณคดียิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย สุนทรภู่ท่านผู้แต่งหนังสือนิราศพระบาทเกิดเมื่อพ.ศ. 2329 บิดาเป็นชาวเมืองแกลง จังหวัดระยองมารดาเป็นแม่นมอยู่ในพระราชวังหลังสุนทรภู่ก็คงมีชีวิตเกี่ยวข้องเข้าๆ ออกๆ อยู่ในพระราชวังหลังมาตั้งแต่เล็กและอาจเป็นไข้อยู่ในพระราชวังหลังด้วยครั้นโตเป็นหนุ่มขึ้นก็ เกิดรักใคร่กับหญิงชาววังหลังผู้หนึ่งชื่อจันทร์ เมื่อสุนทรภู่ไปยังเมืองแกลงในต้นพ.ศ. 2350 และพรรณนาไว้ในนิราศเมืองแกลงที่ท่านแต่งขึ้น แสดงว่ายังมิได้ร่วมเป็นสามีภรรยากันกับหญิงชื่อจันทร์แต่เมื่อกลับมาจากเมืองแกลงแล้วจึงได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา แต่น่าจะอยู่ด้วยกันได้ไม่เท่าไหร่ก็เกิดเรื่องราวแตกร้างเราแยกกันอยู่   คงจะเนื่องจากสุนทรภู่ก็มีนิสัยเป็นคนเจ้าชู้และนางจันทร์พยาก็เป็นคนขี้หึง ครั้น ในปลายปีพ.ศ. 2350 นั้นสุนทรภู่ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังซึ่งทรงผนวชอยู่วัดระฆังโฆษิตาราม ขึ้นไปนมัสการ พระพุทธบาทในเดือนสามประจวบกับ เป็นเวลาที่สุนทรภู่กับนางจันทร์อยู่ในระยะโกรธเคืองแยกกันอยู่มาแต่เดือน 2 สุนทรภู่ ตามเสด็จคราวนี้ได้แต่งนิราศพระบาทขึ้นไว้เรื่องหนึ่งครวญคร่ำรำพันถึง  นางจันทร์อยู่มาก นอกจากจะได้อ่านรู้เรื่องชีวิตรักระหว่างสุนทรภู่กับนางจันทร์แล้ว   นิราศพระบาทของสุนทรภู่ยังช่วยให้เรารู้เรื่องการเดินทางไปพระพุทธบาท  และสภาพของพระพุทธบาทในสมัยนั้นดีไม่น้อย สุนทรภู่แต่งนิราศพระบาทเรื่องนี้ขึ้นเมื่อท่านมีอายุ 21 ปี   และแต่งกลอนดีอ่านแล้วลื่นไหลไปตามกลอนด้วยความไพเราะโดยตลอดจนลืมจับเนื้อความเป็นอย่างที่สุนทรภู่เตือนไว้ว่า “ อย่าฟังเปล่าเอาแต่กลอนสุนทรเพราะจงพิเคราะห์คำเลิศประเสริฐศรี”    ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงพยายามจะทำเชิงอรรถ เป็นหมายเหตุไว้ว่าสร้างแล้วให้ท่านผู้อ่านช่วยกันพิจารณาเรื่องราวทางตำนานไปพร้อมกันด้วยซึ่งในการนี้ นางสาวกุลทรัพย์  ชื่นรุ่งโรจน์ ผู้ซึ่งสนใจในวรรณคดีมากครูหนึ่งได้ขวนขวาย ช่วยตรวจสอบและเอาเป็นธุระในการตรวจทานฉบับพิมพ์โดยตลอดจนสำเร็จเรียบร้อยเป็นเล่มดังที่ท่านได้อ่านอยู่นี้ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบใจนะสาวกุลทรัพย์เชิญรุ่งโรจน์ไว้ในที่นี้ด้วย


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 29/03/2018