< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / ประวัติวัดชุมพลนิกายาราม >

ประวัติวัดชุมพลนิกายาราม

ประวัติวัดชุมพลนิกายาราม

เนื้อหาอย่างย่อ

ในเทศกาลสวายผ้าพระกฐิน พ.ศ. ๒๕๒๓ นี้ กรมศิลปากรได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดถวาย ณ วันชุมพลนิกายาราม อำเภอ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การยำผ้าพระกฐินไปทอดนั้น มีประเพณีพิมพ์ประวัติหรือตำนานและโบราณวัตถุสถานที่มีความสำคัญของวัวด เป็นอภินันทนาการแก่ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล กรมศิลปากรจึงมอบให้นางสาวเพลินพิศ กำราญ นักอักษรศาสตร์ ๕ และนางเบญจมาส แพทอง นักอักษรศาสตร์ ๔ งานวัฒนธรรมและจารีตประเพณี กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ช่วยกันค้นคว้าเรียบเรียงและถ่ายภาพเพื่อนำลงพิมพ์ประกอบในประวัติวัด นายสมชาย พุ่มสอาด หัวหน้างานวัฒนธรรมและจารีตประเพณี และนายประพัฒน์ ตรีณรงค์ ผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นผู้ตรวจแก้ วัดชุมพลพิกายารามเป็นพระอารามหลวงที่สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ.๒๑๗๕ ภายในวัดนี้มีพระเจดีย์เหลี่ยมย่อไม้สิบสอง ซึ่งคิดแบบสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ปรากฏอยู่ ๒ องค์ นับถือกันว่า ทรวดทรงงามนัก ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้โปรดให้ซ่อมครั้งหนึ่ง และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ตามแบบเดิมทุกประการ ส่วนที่เพิ่มเติมจากของเดิม คือ โปรดให้เขียนภาพชาดกไว้ที่ผนังพระอุโบสถด้วย และสมัยชัลกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง นับเป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์วัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้ นอกจากข้าราชการกรมศิลปากรแล้ว ยังมีผู้มีจัติศรัทธาอีกเป็นจำนวนมากได้ร่วมบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระภิกษุสามเณรด้วย จึงขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านปราศจากอุปัทวันตราย มีความสุขความเจริญตลอดไป. เมื่อกรมศิลปากรได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามใดก็ได้มอบให้เจ้าหน้าที่พยายามเรียบเรียงและจัดพิมพ์ประวัติของพระอาราม ตลอดทั้งเรื่องราวเกี่ยวข้องกับท่านผู้สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามนั้นๆ แจกจ่ายเป็นบรรณาการแก่พุทธศาสนิกชนผู้ร่วมในการบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกันและได้ทำติดต่อกันตลอดมา เช่น วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดกาญจนสิงหาศน์ กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดกาญจนสิงหาศน์ วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ นำผ้าพระกฐินไปทิด ณ วัดดุสิดาราม กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดดุสิดาราม วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๐๓ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดพระยาทำ กรุงเทพมหานคร (ปีนี้ไม่ได้พิมพ์หนังสือ) วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดกาญจนสิงหาศน์ กรุงเทพมหานคร พิมพ์มูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ไม่ได้พิมพ์ประวัติเพราะทอดซ้ำ) วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๕ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดอัปสรสวรรค์พร้อมด้วยหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๓ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๐๖ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดชนะสงคราม วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วันเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร พิมพ์กลอนเพลงยาว เรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดวรรณาราม กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดวุสรรณาราม วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดราชสิทธาราม วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดสังข์กระจาย กรุงเทพมหานคร พิมพ์ประวัติวัดสังข์กระจาย วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๑ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร พิมพ์หนังสือพระกฐินวินิจฉัยกถา (เพราะทอดซ้ำ) วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี พิมพ์ประวัติวัดใหญ่สุวรรณาราม วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี พิมพ์ประวัติวัดเสาธงทอง และงานของกรมศิลปากร วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๔ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พิมพ์ประวัติวัดเขาบางทราย และบทขับร้องเพลงไทยบางบท วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พิมพ์ประวัติวัดพระธาตุดอยสุเทพ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์ประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหาร วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๑๗ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน พิมพ์ประวัติวัดช้างค้ำวรวิหาร วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ นำผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดพระธาตุพนมมหาวรวิหาร พิมพ์ประวัติวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ นี้ กรมศิลปากรได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงมอบให้ น.ส.เพลินพิศ กำราญ นักอักษรศาสตร์ ๔ งานวัฒนธรรมและจารีตประเพณีเป็นผู้ค้นคว้าเรียบเรียงประวัติวัดนี้ นายธวัช รัตนาภิชาติหัวหน้างานวัฒนธรรมและจารีตประเพณี เป็นผู้ตรวจแก้ ในการเรียบเรียงประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนี้ เจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปศึกษาสถานที่ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๒๑ กรกฎาคม ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากนางกัลยา จุลนวล หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานนครศรีธรรมราช และนายสวัสดิ์ รัตนเสวี ข้าราชการสาขาหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราชในการศึกษาสถานที่และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัด จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นปูชนียสถานสำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะองค์พระมหาธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นที่เคารพสักการของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ส่วนสิ่งก่อสร้างอื่นในวัดก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมจึงเป็นโบราณสถานที่อำนวยประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังในการศึกษาศิลปวัฒนธรรมซึ่งมีมาแต่โบราณ จะได้ตระหนักในความสำคัญของโบราณสถานและช่วยกันทะนุบำรุงให้ยั่งยืนสืบไป กรมศิลปากรขออนุโมทนากุศลทานในงานกฐินพระราชทาน ซึ่งพุทธศาสนิกชนผู้มีจิดเลื่อมใสได้ร่วมกันบำเพ็ญมาและได้บริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมเนื่องในงานกฐินพระราชทานประจำปี ขออำนาจแห่งผลบุญครั้งนี้จงดลบันดาลให้แก่ทุกท่านปราศจากโรคภัย และเจริญด้วยอายุ วรรณ สุข พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ตลอดกาลนานเทอญ.


หมวด: หนังสือหายาก
วันที่รับเข้า: 29/03/2018