จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๑๙

เนื้อหาอย่างย่อ

สำนักพระราชวังแจ้งความมายังกรมศิลปากร ให้เลือกหาต้นฉะบับสำหรับพิมพ์เป็นของพระราชทาน ในงานพระเมรุสมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ณ ท้องสนามหลวง กรมศิลปากรจึงจัดให้พิมพ์จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนี้ เดิมอยู่ในหอพระสมุดหลวง ต้นฉบับ เป็นอักษรพิมพ์ดีดมี 10 เล่ม กำหนดเล่มละ 1 ปี คือตั้งแต่ปีฉลูจุลศักราช 1239 (พ.ศ.2420) ถึงปีกุน จุลศักราช 1249 (พ.ศ.2430) ขาดปีเถาะ จุลศักราช 1241 ไป1ปี แม้เล่มที่กำหนดว่า 1 ปี บางเล่มก็ไม่ตลอดปีทีเดียว บางวันหรือบางเดือนไม่ได้จดไว้ก็มี บางเล่มก็ขาดไปตั้งหลายเดือน ปรากฏในบานแผนกบางเล่มของหนังสือว่า กรมหลวงปราจิณกิติบดี ตรัสสั่งให้คิดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2460 ครั้น พระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานหอพระสมุดหลวงมาเป็นสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในบัดนี้ หนังสือนี้จึงตกมาเป็นสมบัติของหอสมุดแห่งชาติด้วย สังเกตตามสำนวนที่จดไว้ในหนังสือนี้ เข้าใจว่าข้อความตอนต้นๆ ในเล่มแรกเป็นพระราชนิพนธ์  ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้ด้วยพระองค์เอง เพราะถ้อยคำสำนวนที่ทรงไว้ล้วนเป็นคำสามัญ ไม่มีราชาศัพท์เลยจนถึงหน้า 19 ในภาคที่ 5 “เสด็จพระราชดำเนิน” “ทรงพระราชนิพนธ์” เหล่านี้เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นผู้จดก็พยายามจะเลียนให้เป็นพระราชนิพนธ์ เช่นใช้คำสามัญและใช้คำแทนพระองค์ว่า “ฉัน” และออกพระนามเจ้านายบางพระองค์ อย่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่หัวทรงใช้ แต่ก็ใช้ไปไม่ตลอด มักอดใช้ราชาศัพท์ไม่ได้ ยิ่งในตอนต่อๆมาแล้ว มีใช้ราชาศัพท์เป็นพื้น จึงเห็นได้ว่าในตอนหลังๆมา ตรัสสั่งให้ผู้อื่นจด และผู้รับสั่งก็คงผลัดเปลี่ยนกันมาหลายคน ที่พอจะทราบได้จากความสังเกต เมื่ออ่านจาก “จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน” นี้ก็มี ที่ยังไม่สามารถจะทราบได้ก็มี ที่ทราบได้บางตอนเข้าใจว่าเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ เช่นมีว่า “วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช 1244 เวลาบ่ายวันนี้ไม่ได้เสด็จออกโปรดให้พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (พระนามเดิมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์) เข้าไปตอนเขียนไดอารี ที่ห้องไลบรารี พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร” และมีข้อความทำนองนี้อีกหลายแห่ง และบางตอนก็โปรดให้พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ จด เช่นมีว่า “7ฯ68 ปีวอกศก จุลศักราช 1246 โปรดให้พระองค์ศรีเสาวภางค์ เข้าไปเฝ้า ทรงหนังสือราชการและไดอารี” ดังนี้เป็นต้น และบางตนก็มีว่า “วันนี้ไม่ทรงสบาย ไม่ได้เสด็จออก โปรดให้เราเข้าไปเขียนไดอารีข้างใน” ซึ่งยังไม่ทราบได้ว่า “เรา” ในที่นี้ คือท่านผู้ใด แต่เป็นที่แน่นอนว่าในตอนหลังๆนี้ไม่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือนี้ถ้าได้อ่านแต่ฉะเพาะวันหนึ่งๆ จะเห็นได้ว่าไม่ค่อยได้เรื่องราวอะไรนัก เพราะพูดถึงเรื่องโน้นนิดเรื่องนี้หน่อย ข้อความไม่ติดต่อกัน แต่ถ้าอ่านไปหลายๆวันจะเห็นว่าล้วนมีข้อความติดต่อเกี่ยวโยงถึงกันตลอด ย่อมอำนวยประโยชน์ให้แก่นักอ่านหลายจำพวก โดยฉะเพาะผู้ที่จะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่จากหนังสือนี้ มี 2 จำพวก คือ จำพวกที่หนึ่งนักศึกษาทางประวัติศาสตร์จะมองเห็นคุณค่าของหนังสือนี้อย่างแท้จริงเมื่อเขียนพงศาวดารประเทศไทยยุคนี้เพราะพระราชกิจจ์รายวันวันละเล็กวันละน้อยเป็นต้นเหตุให้รู้เรื่องใหญ่ๆ เช่น การออกพระราชบัญญัติ กฎหมายหรือราชการแผ่นดินอื่นๆ อันปรากฏอยู่ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นนั้นยิ่งกว่านั้นในปีใดถ้าไม่มีการออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาในปีมะโรง จุลศักราช 1242 และปีมะเมียจุลศักราช 1244 ก็ไม่อาจทราบได้ว่าในสองปีนั้นได้มีราชการงานเมืองอะไรบ้าง ถึงแม้อาจค้นหาได้ในหนังสืออื่นเช่นหนังสือราชการต่างกระทรวงต่างๆเป็นต้น จะต้องค้นหาได้ด้วยความลำบากยิ่งที่อ่านไม่ได้เรื่องราวตลอดและเป็นหลักฐานพอ แต่อาจค้นหาได้ในหนังสือนี้ จำพวกที่สองนักศึกษาทางการเมืองเมื่อได้อ่านหนังสือนี้แล้วจะมองเห็นรัฐประศาสโนบาย ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศ และเป็นการภายในว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำประเทศไทยหลีกลัดเกาะแก่งและมรสุมแห่งการเมืองมาด้วยความยากลำบากเพียงไร สมควรเป็นทฏฐานุคติของนักการเมืองในชั้นหลังได้เป็นอย่างดี ขอถวายอนุโมทนาในพระราชกุศล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พูดให้พิมพ์หนังสือพระราชกิจจ์รายวันนี้เป็นพระราชนฤธีสังคหธรรม สำเร็จโดยอนุรูปแห่งพระราชประสงค์จงเพิ่มพูนปีติสุขสถาพร แด่สมเด็จพระราชินีปิตุจฉา เอาฟาร์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธรทุกประการ เทอญ.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 28/03/2018