หิโดปเทศคำฉันท์

เนื้อหาอย่างย่อ

นางสาวเลื่อนรัตนวิจิตรได้แจ้งความจำนงยังกรมศิลปากรว่าใคร่จะได้หนังสือเรื่องคำสั่งสอนที่เป็นกวีนิพนธ์สักเรื่องหนึ่งเพื่อพิมพ์แจกในงานปลงศพนายเหล็งรัตนวิจิตรผู้บิดา  เพราะ  นายเหล็งรัตนวิจิตรเมื่อยังมีชีวิตอยู่มีนิสัยชอบหนังสือชนิดกวีนิพนธ์ และในที่สุดได้พอใจเลือกเรื่องหิโดปเทศคำฉันท์นี้กรมศิลปากรจึงอนุญาตให้พิมพ์แจกได้ตามปรารถนาเรื่อง อินโดปเทศเป็นหนังสือซึ่งรู้จักกันแพร่หลายต้นฉบับมีมากในภาษาสันสกฤตปรากฏว่าเป็นนิทานสุภาษิตซึ่งวิษณุมันบัณฑิตได้เลือกคัดมาจากคัมภีร์ปัญจ ทันตะและคัมภีร์อื่นๆ เพื่อเป็นอุปเทศสั่งสอนพระราชกุมารโอรสของพระเจ้าสุทัศนะหิโตปเทศเป็น สุภาษิตโบราณจับใจน่าอ่านแม้เป็นเรื่องซึ่งปุ่มขึ้นครั้งสมัยโบราณแต่ก็มีความมีข้อความที่เปรียบเทียบชักมาอ้างไว้ฟังได้ทุกกาลสมัยไม่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเหตุนี้จึงมีผู้นิยมแปลหนังสือหิโตปเทศนี้ออกสู่ภาษาต่างๆเช่นภาษาอาหรับละตินฝรั่งเศสเยอรมันทรัพย์เป็นต้นส่วนที่มาแพร่หลายแปลเป็นภาษาไทยเราเมื่อไหร่นั้นพระเจ้าเจ้าพระยาภาสกรวงศ์พรบุนนาคกล่าวไว้ในคำนำหนังสือหิโตปเทศฉบับแปลร้อยแก้วของโรงพิมพ์ไทยว่าหิโตปเทศที่เป็นภาษาไทยนั้นจะมีมาแต่ครั้งไรไม่ทราบแต่พบต้นฉบับของพระอมราอภิรักษ์ขิต เกิดวัดบรมนิวาสเมื่อท่านถึงมรณภาพ ปีมะเส็งเอกศกร.ศ 1231 ( พ.ศ. 2412) เล่มสมุดไทยเรียกว่าหิโตปเทศวัตถุอุปกรณ์นำ อยู่ในเล่ม มิตรภาพ แต่ข้อความในหนังสือนั้นแผกเพี้ยนกับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษโดยมากเพราะได้มีข้ออธิบายให้เข้าทำและภาษิตของพุทธศาสนิกชนมากเกินไปหนังสือฉบับนี้ได้ตัดบางตอนลงในหนังสือวชิรญาณและกรมศึกษาธิการได้พิมพ์เรียกว่า นิทานสุภาษิตหิโตปเทศวัตถุอุปกรณ์นำพิมพ์ถึง 2 ครั้งครั้งที่ 2 เมื่อรศ 119 (พ. ศ. 2443 ) และเมื่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงธรรมการอยู่ ได้ ให้พระวิจิตรธรรมปริวรรตเนตรเปลี่ยนแปลจากภาษาสันสกฤตและสอบทานกับฉบับของอังกฤษจบทั้ง 4 เล่มและได้ขอให้พระอาจารย์พระยา อิศรพันโสภณ (  ม.ร.ว. หนูอิศรางกูร)  แต่งบรรยายเป็นลิลิศโคงสี่สุภาพด้วยได้แต่งจบเพียงปรัสดาวนา   คำนำเรื่องและมิตรภาพเล่มหนึ่งเท่านั้นหิริโอตัปปะประเทศนี้โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจได้รับพิมพ์เพียงปรัสดาวนา แต่มิตรภาพเล่มหนึ่งนั้นพิมพ์ค้างอยู่ต่อมาเสฐียรโกเศศและนาคะประทีปช่วยกันแปลตั้งต้นใหม่จนจบ และพิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทยถนนรอบเมืองเมื่อพ. ศ. 2459 ถึง 2466 ส่วนคำฉันท์ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ปรากฏชื่อผู้แต่งในโครง นำเรื่องว่า มีนามตามภาษา มคธว่านายนฤชานอกนั้นก็มิได้กล่าวข้อความอันใดให้ทราบประวัติของผู้แต่งหนังสือนี้อีก สังเกตในวิธีประพันธ์ถ้าอ่านด้วยความมุ่งหมายที่จะรู้เรื่องแล้วนับว่าเข้าใจความได้ดี เสียดายแต่แต่งได้เพียงนิทานเรื่องแร้งกับแมวในตอนมิตรภาพคือผูกมิตรก็หมดเสียเพียงนั้นในที่สุดกรมศิลปากรขออนุโมทนาในกุศลราศีของนางสาวเลื่อนรัตนวิจิตรที่ได้พิมพ์หนังสือโตประเทศคำสั่งแจกจ่ายเป็น ส่วนติดอุปสรรคธรรมเนื่องในงานทักษิณานุประทานกิจของบุพการีนี้จงอำนวยคุณวิบุญญะผลดลบันดาลให้สัมฤทธิ์แต่นายเหล็งรัตนวิจิตร ผู้ที่ไปสู่ปรโลกแล้วนั้นตามฐานนิยมสมเจตนาทุกประการเทอญ


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 27/03/2018