คำแปลจดหมายเหตุวันวลิต

เนื้อหาอย่างย่อ

พระยาศรีธรรมสาส์น (แทน บุนนาค) ได้มาแจ้งความว่า  ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงทิพย์ สุรพันธุ์พิสุทธิ   จ่าโผน วิ่งชิงชัย (ประทีป บุนนาค) ประสงค์จะพิมพ์ จดหมายเหตุวันวลิต เพื่อเป็นของแจกสนองคุณมารดา หอสมุดแห่งชาติจึงอนุญาตให้พิมพ์ตามประสงค์       คําแปลจดหมายเหตุวันวลิต ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ ) แปลจากต้นฉะบับภาษาอังกฤษให้ราชบัณฑิตยสภา โดยรับสั่งของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ครั้งยังดํารงตําแหน่ง นายกราชบัณฑิตยสภา ต้นฉะบับมีอยู่ในหอพระสมุดวชิราวุธ แต่ไม่จบ มีเพียงเท่าที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้  จดหมายเหตวันวลิตนี้  ชาววิลันดาชื่อ วันวลิตที่เข้ามาตั้งห้างอยู่ในกรุงศรีอยุธยาครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  เขียนไว้เป็นภาษาวิลันดาในปี ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ.๒๑๙๐) แล้วมีผู้แปลจากภาษาวิลันดา เป็นภาษาฝรั่งเศสและพิมพ์ขึ้นในกรุงปารีสเมื่อ ค.ศ.๑๖ ๖๓ (พ.ศ. ๒๒๐๖)  ต่อมามิศเตอรมันดี เอม.เอ. เจ้าของโรง พิมพ์ และ หนังสือพิมพ์ บางกอกไตม์ ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษอีกต่อหนึ่ง เรื่องในจดหมายเหตุนั้นกล่าวถึงความ เป็นไปตอน ปลายรัชชสมัยพระเจ้าทรงธรรม และ การจลาจลซึ่งเกิดขึ้นในอาณาจักรสยาม ตลอดลงมาจนถึงพระองค์ไล ( คือพระเจ้าปรา สาททอง) ได้ราชสมบัติ ในจดหมายเหตุนี้เรียกพระเจ้าปราสาททอง เมื่อก่อนได้ราชสมบัติว่า พระองค์ไล และกล่าวว่า พระองค์ไล เป็นบุตรออกศรีธรรมาธิราช  ผู้ภาดา ของพระราชชนนีพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ไล รับราชการในกรมมหาดเล็ก ได้เป็นที่พระหมื่นสรรเพธ แล้วเลื่อนเป็นออกศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สวรรคตแล้ว จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นที่สมุหพระ กลาโหม ซึ่งมีเนื้อเรื่องน่ารู้น่าฟังอยู่มาก แต่เป็นธรรมดาของการจดประวัติศาสตร์บ้านเมืองย่อมเป็นไปตามความรู้ความเห็นของผู้จด  ข้อความบางตอนจึงแผกเพี้ยนจากที่อื่น กระนั้นก็ดี ก็ยังเป็นหนังสือที่ช่วยให้แสงสว่างแก่การศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้เป็นส่วนหนึ่ง  เพราะเป็นเรื่องที่ผู้จดได้ยินด้วยหูรู้ด้วยตาใกล้กับความจริงเป็นส่วนมาก.   กรมศิลปากรได้ให้พิมพ์ตามคําแปลที่ผู้แปลทําไว้โดยมิได้แก้ไข    ขอกุศลบุญราศีอันใดที่จะพึงมีพึงได้จากการพิมพ์หนังสือนี้ จงบรรลุถึง คุณหญิงทิพย์ สุรพันธ์ พิสุทธิ ให้ดํารงอยู่ในสุคติตลอดกาลเทอญ.


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
วันที่รับเข้า: 26/03/2018