พระพุทธรูป และ พระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมศิลปากร
จัดพิมพ์ครั้งแรก
เนื่องในโอกาวนำพระพุทธรูปและพระพิมพ์
ซึ่งได้จากพระปรางค์วัดราชบูรณะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มาจัดตั้งให้ประชาชนได้ชมในเทศกาลสงกรานต์
พ.ศ. ๒๕๐๒
ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
การค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ในพระปรางค์วัดพระมหาธาตุ และเครื่องทองกับศิลป วัตถุอื่นๆ ในกรุพระปรางค์วัดพระราชบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมนำความเลื่อมใสศรัทธา และความปลื้มปิติมาสู่ประชาชนเป็นอันมาก พระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นจังหวัดที่มีโบราณสถานและศิลปวัตถุน่าดูน่าชมเป็นอันมากอยู่แล้ว จึงเป็นจุดสนใจแห่งหนึ่งที่ชักจูงประชาชนให้พากันเดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและไปดูไปชมศิลปะโบราณวัตถุเพิ่มทวียิ่งขึ้น แต่การที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุกับเครื่องสักการะไว้ในโรงพระอุโบสถ วัดใหม่ไชยวิชิตก็ดีเก็บเครื่องทองกับศิลปวัตถุอื่นๆ ไว้ในห้องลูกกรง หน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ดี เนื่องจากเป็นสถานที่ไม่เหมาะสมและยังเพิ่มความหนักใจเป็นอย่างยิ่งให้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของกรมศิลปากรและของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะสิ่งของเรานั้นเพียงแต่ค่า ทางวัตถุก็เป็นราคาเงินหลายล้านบาทและเมื่อคำนึงถึงคุณค่าของฝีมือช่างและความเลื่อมใสศรัทธาแล้วก็ย่อมเป็นของหาค่ามิได้จึงได้ร่วมปรึกษาการที่จะจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขึ้น และสถานที่อันเหมาะสมและได้เรื่องสถานที่กันไว้แล้วซึ่ง ฯพณฯ พลเอกถนอมกิตติขจร ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในเวลานั้นก็ได้โปรดให้เกียรติเดินทางไปวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2501 แต่ยังไม่มีงบประมาณพอที่จะดำเนินการสร้างได้ แม้จะได้ขอตั้งงบประมาณในการสร้าง ก็ยังไม่ได้รับงบประมาณตามที่ขอตั้ง จึงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดกังวลและหนักใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และมีหน้าที่ดูแลรักษาศิลปะโบราณวัตถุ อยู่ตลอดมา แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็ได้กรุณาโปรดอนุมัติขึ้นเงินงบประมาณสำหรับสร้างอุโมงค์ และทำบันไดเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสลงไปชมภาพเขียนผนังภายในกรุในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ ให้กรมศิลปากรได้ดำเนินการช่างต่อมา อาจเป็นด้วยพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือของพระมหากษัตริย์เจ้าในอดีตและปัจจุบันหรือด้วยแรงศรัทธา ประสาทของประชาชนหรือร่วมกันหลายประการก็ได้จึงเกิดเหตุบังเอิญเป็นเสมือนปาฏิหาริย์กล่าว คือต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2501 ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรกำลังดำเนินงานสร้างอุโมงค์วัดทำบันไดเพื่อให้ลงไปชมภาพเขียนผนังภายในนั้นก็ได้พบกรุพระพุทธรูปและพระพิมพ์บรรจุอยู่ภายในองค์พระปรางค์เข้าอีกดังปรากฏในรายงาน “เปิดกรุวัดราชบูรณะ” จังหวัดพระนครศรีอยุธยาของรองอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้วการพบกรุพระพุทธรูปและภาพพิมพ์ครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้องตรากตรำทำงานหนักมาก ต้องอดหลับอดนอนในเวลาติดต่อกันหลายวันโดยพยายามทำงานขุดค้นมาควบคุมดูแลรักษานำของขึ้นจากกรุแต่ต่างก็พากันปราบปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง เพราะในการค้นพบศิลปะโบราณวัตถุเหล่านี้นอกจากจะได้พบหลักฐานเป็นความรู้เพิ่มเติมทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีดังกล่าวไว้ในเรื่องโบราณวัตถุที่ค้นพบจากพระปรางค์วัดราชบูรณะรุ่นที่ 2 ของหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และในเรื่องพระพิมพ์วัดราชบูรณะของ นายมานิต วัลลิโภดม แล้วยังเกิดความปราบปลื้มปิติ ที่เห็นประชาชนเกิดศรัทธาเลื่อมใสพากันมาขอรับพระพิมพ์ที่ได้จากกรุในพระปรางค์วัดราชบูรณะไปสักการะบูชาประจวบกับวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2502 อย่างคับคลั้ง โดยต่างพากันยินดีบริจาคเงินเข้าสมทบในการสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนได้เงินเพียงพอแก่การก่อสร้าง ด้านที่ทางราชการของกรมศิลปากร และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เปิดประมูล และดำเนินการก่อสร้างอยู่ในเวลานี้อีกไม่ช้าเราก็จะมีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ใหม่เพิ่มขึ้นอีก แห่งหนึ่ง ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งทั้งนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดฝันอาจบันดาลขึ้นด้วยพระบรมเดชานุภาพดังกล่าวข้างต้นก็เป็นได้เพื่อที่จะให้นักศึกษาประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ความเห็นเพิ่มเติมเนื่องในการค้นพบพระพุทธรูปและภาพพิมพ์กับศิลปะวัตถุอื่นๆ ที่ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะครั้งนี้จึงได้เชิญชวนท่านผู้รู้มาประชุมปรึกษาทำการวิจัยกำหนดสมัย และแบบอย่างฝีมือช่างศิลปะ และจัดตั้งเข้าหมวดหมู่ไว้ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพ พร้อมที่จะเปิดให้นักศึกษาและประชาชน เข้าชมได้ดังที่ได้ จัดไว้ให้เข้าชมในเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2502 รวม 3 วันพร้อมกับจัดตีพิมพ์ภาพพระพุทธรูปกับพระพิมพ์และวัตถุที่ค้นพบไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อสนองความต้องการของท่านผู้สนใจอีกส่วนหนึ่งด้วยขอขอบคุณบรรดาข้าราชการกรมศิลปากร และข้าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับแต่รองอธิบดีกรมศิลปากรและผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งได้ร่วมมือช่วยกันดำเนินงานเปิดกรุและควบคุมจัดภาพพิมพ์ ที่ได้จากกรุ นำออกตอบแทนสัมมนาคุณแก่ท่านผู้บริจาคทรัพย์สัมมนาสมทบทุน ในการสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้สำเร็จด้วยดีตลอดมาและขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้บริจาคทรัพย์สมทบทุนในการนี้ ขอให้พระบรมเดชานุภาพและแรงศรัทธาภาษาไทยของท่านทั้งหลาย จงให้ความคุ้มครองรักษาโดยทั่วกัน