< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / พระรามชาดก (ถอดความบรรยายจากหนังสือเทศน์) >

พระรามชาดก (ถอดความบรรยายจากหนังสือเทศน์)

พระรามชาดก (ถอดความบรรยายจากหนังสือเทศน์)

เนื้อหาอย่างย่อ

ทางเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่ง เวลาตะวันเย็นชาวบ้านทั้งหญิงชายหนุ่มสาวผู้ใหญ่เด็ก ถือดอกไม้ธุปเทียพากันไปฟังเทศน์ตามวัดต่างๆ ด้วยความรัทธาของผู้ใหญ่ เจริญความเลื่อมใสเหล่ารุ่นเพาะเดียงษาในการบุญไปตั้งแต่เด็กเล็ก เมื่อฉะนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทางวัดซึ่งแสดงธรรมประจำทุกมื้อเย็น ย่อมมีหนังสือเทศนามากมายก่ายกอง เนื้อหาที่เทศน์นั้นก็ชาดกต่างๆหรือนิทานพื้นเมืองผูกขึ้นเป็นชาดก เพราะได้ผลที่ผู้ฟังรู้เรื่องได้ดี ไม่ใช่พอจบกัณฑ์ก็พูดไม่ถูกว่าท่านเทศน์อะไร ทั้งยังติดใจอยากฟังต่อในวันหน้า ไปๆท่านก็แทรกสุภาษิตให้ซึมเข้าไปในใจพร้อมด้วยความเพลิน ฉะนี้แหละเมื่อกล่าวโดยฉะเพาะ ชาดกจึงเป็นองค์หนึ่งแห่งนวังคสัตถุสาสน์สำหรับโปรดเวไนยพันธุ์ และโดยฉะเพาะอย่างยิ่ง ชาดกที่ท่านเทศน์ในทางเหนือนี้ เป็นที่นิยมชมชอบเหมาะแก่อุปนิสัยชาวนั้น จึงแต่ละเรื่องมีทั้งบรรยายและพรรณนาโวหารอย่างยืดยาวละเอียดละออ เพียงเรื่องเดียวกว่าจะจบก็ฟังกันเป็นปีๆ หนังสือเทศนาประเภทนี้ มีเรื่องพระเวสสันดร เรื่องพระเจ้าเลียลโลก เรื่องเสียวสวาท และเรื่องสมาสสงสาร เป็นต้น แต่ที่เลื่อมใสศรัทธากันนัก คือเรื่องพระรามชาดกฟังแล้วได้ทั้งบุญทั้งความรู้รอบตัวที่ท่านแทรกไว้เป็นตอนๆ โดยมากเป็นนิยายปากที่เล่าสืบๆ กันมาแต่โบราณเช่นตำนานสร้างเมืองเก่าๆ คะเนว่าจะเป็นเรื่องที่ท่านรจนาขึ้นราวสัก๒๐๐ ปีล่วงมา จะก่อนหรือหลังเวียงจันท์แตกไม่นานนัก

*“แม่น้ำโขง” นำลงไว้พิสดารในประชาชาติตั้งต้นวันที่๒๙พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๖ และอีกสำนวนหนึ่ง ขุนพรมประศาสน์แปลงจากธรรมเทศนาภาษาลาวโบราณ แต่งเป็นคำกลอนภาษาไทยภาคอิสาณ พิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕

นี้เป็นความสังเขปที่หลวงศรีอมรญาณ ได้ฟังจากท่าน พระพรหมมุนี วัดบรมนิวาส และท่านว่ายังได้ถวายต้นฉบับเรื่องพระรามชาดกใบลานจารด้วยอักษรไทยเหนือไว้ที่ราชบัณฑิตยสภาหนึ่งจบ สำหรับข้าพเจ้าเอง ก่อนที่จะทราบว่ามีพระรามชาดก ได้วี่แววที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ตรัสเล่าถึงพระสงฆ์ทางเหนือแสดงเทศนาเรื่องรามเกียรติ์ แต่นั้นก็มีใจจดใจจ่ออยากทราบว่า รามเกียรติ์ที่ท่านเทศน์นั้น เรื่องราวเป็นอย่างไร จะเหมือนที่ทราบกันในบทพระราชนิพนธ์

*เสียใจที่กล่าวผิดผิดว่าได้วี่แววที่แท้ได้อ่านพบพระกระแสด้วยตนเองชัดและยังติดตาว่าในวิทยาจารย์ถึงคราวจะอ้างอิงแบบนี้กลับค้นไพ่พบมีผู้ไปทูลถามท่านก็ทรงนึกไม่ได้ว่าตรัสไว้ที่ไหนเป็นอันจนใจแต่ทั้งที่ความจำเลอะเลือนนี้ยังขอยืนยันว่าถ้ามีได้อาศัยพระคุณให้ทราบและแท้ราคาพระกระแสไว้ก่อนก็ไม่มีเค้าเงื่อนอันใดที่จะฝันถึงเรื่องพระรามชาดกตามลำพังข้าพเจ้าคงไม่เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้นได้เป็นแน่นอน

หรือไม่คบใครต่อใครที่คะเนว่าจะทราบเบาะแสก็ถามร้านเราดูเสมอจนได้ตัวคือพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ( ทอง จันทรางศุ เปรียญ) รับรองว่าจริงตามที่ตรัสเล่ายิ่งกว่านั้นท่านเองเป็นผู้ที่เสด็จพระองค์นั้นโปรดให้ช่วยหาฉบับคัดถวายและได้คัดด้วยพิมพ์ดีดวยบริบูรณ์เป็น ๒ จบ ส่งจบต้นไปถวายส่วนจบหลังอยู่ที่คั่นเพื่อไว้อ่านดูว่าเรื่องราวเป็นอย่างไรเพราะอยากทราบด้วยเหมือนกันแต่ตั้งแต่ได้ฉบับมานับด้วยปีพลิกดูเพียง ๔-๕ หน้าก็หวังว่าทนอ่านไปไม่ไหวเมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้อยากทราบเรื่องและมีอุตสาหะจะอ่านก็จะยกให้ทั้งจบและขอให้ช่วยเล่าเรื่องเลาๆให้ทราบบางก็แล้วกันข้าพเจ้าดีใจแทบตื่นเต้นไม่นึกเลยว่าจะสบโชคง่ายดายเช่นนี้ก็รับทันทีโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

*ครั้นแล้วทรงถวายไว้ในราชบัณฑิตยสภา

รามเกียรติ์หนังสือเทศน์นี้คือพระรามชาดกที่กล่าวมาแล้วเป็นหนังสือมากถึงต้องแบ่งเป็น ๒ ขั้นขั้นต้นมี ๒๖ และขั้นปลายมี ๒๓ ผูกพิมพ์ดีดคัดเป็นผูกละปึก คิดเฉลี่ยราวปึกละ ๒๐ หน้า ฟุลแสก๊ปด้วยบรรทัดถี่ ด้วยความชอบใจนักหนาพอได้ก็ลงมืออ่านเบื้องต้นขึ้น เอวัมเมสุตัง  ดำเนินนิทานวัจนะด้วยถ้อยคำโวหารเป็นภาษาลาว (ดังที่คัดมาให้ดูเป็นตัวอย่างในภาคผนวก) แต่อ่านไปได้เพียง๔-๕ หน้า นัยน์ตาทนไม่ไหวเลยหลับแล้วพักไว้ทีวันหลังขยันขึ้นมาอ่านต่อไปได้สักหน่อยก็วางระหยุดอยู่แค่นั้นเองต่อมาพบพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์คราวไรท่านถามถึงเนืองเนืองหนักเข้าเลิกถามไปเองเป็นอันว่าเห็นใจกันที่สุดท่านถึงแก่กรรมเลยไม่ได้ทราบเรื่องรามเกียรติ์ราวจากข้าพเจ้าจนแล้วจนรอดนึกถึงความนี้ทีไรก็ใจหายศิริจำนวนหนังสือ ๔๓ ปึก อ่านไปได้ไม่เกินครึ่งปลุกในเวลานับเป็นสองสามปีมาคราวนี้หลวงศรีอมรยานเจ้าภาพจะทำการฌาปนกิจศพสนองคุณ ท่านผู้มารดาเหมาะแก่ทางชนบทข้าพเจ้านึกถึงความหลังแนะนำว่าเริ่มพระรามชาดกเหมาะแก่ประเภทถิ่นเช่นนั้นเพราะเป็นหนังสือเทศน์ดำเนินความเป็นชาดกกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ทั้งชาวบ้านมีความรู้รามเกียรติ์เป็นพื้นอยู่แล้วแต่พัฒนาข้อความพิสดารมากมายนักหนาข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยขอให้ข้าพเจ้าช่วยเก็บความบรรยายภาระอันนี้กลับมาตกแก่ข้าพเจ้าอีกต้องขอตัวทันใดว่าทำคนเดียวเป็นไม่ทันงานแน่แต่เมื่อข้าพเจ้าชอบใจเรื่องนี้อยู่แล้วทางข้าพเจ้าเองก็เห็นแก่ตัวว่าถ้าไม่ทำเสียในงานนี้จะหาโอกาสอ่านจบยากจึงตกลงแบ่งเบาช่วยกันทำคนละท่านได้อาศัยเวลาชั่ว ๑๕ วัน ที่ราชการให้หยุดต้นปีพระรามชาดกเป็นกลอนร่ายป่าดงเขาไม้สัตว์จตุบททวิบาทชมบ้านชมเมืองทุกหนแห่งและช่างพูดเป็นอย่างยิ่งเมื่อพรรณนาถึงผู้หนึ่งที่นำเอาเรื่องราวเล่าแก่คนหนึ่งก็มีข้อความพิสดารเท่ากับที่ผู้นั้นพบผ่านมาแล้วในเรื่องมินัมเมื่อเล่าไปแก่อีกคนหนึ่งก็ไม่ยอมสังเขปให้น้อยไปกว่าเดิมบางปึกซึ่งมีตั้ง ๒๐ หน้า ถอดความเป็นเนื้อเรื่องได้เพียง๓หน้าฟุลแสก๊ป ควรชมว่าท่านผู้รจนาเป็นกวีที่มีอุตสาหะทนทานมากที่สุดในการถอดเอาเนื้อเรื่องมาเล่าได้ทำความตกลงกันไว้ว่าถ้อยคำภาษาและโวหารในฉบับของเดิมใครชอบใจจะคงเก็บมาใช้บ้างก็ได้แต่คำภาษิตดีๆน่าเสียดายที่ต้องทิ้งเสียเพราะไม่เกี่ยวกับตัวเรื่องเช่น "หาบซิ่นมาสู่ปากเสือพายเรือมาสู่ปากเงือกฟั่นเชือกมาสู่ดั้งควาย "ตั้งตำนานสร้างเมืองเก่าๆก็ตัดออกเป็นอันมากเพราะแทรกเข้ามาในตอนที่ถูกตัดข้ามไปเสียพยายามเก็บไว้ได้แต่คำเชิญขวัญอันน่าฟังอนึ่งถ้าผู้มีรูปพระเอกนางเอกและผู้ร้ายของเรื่องนี้ให้มีลักษณะไปทางชาวเหนือเหนือจะเข้าทีได้ระเบียบเช่นว่าพระรามของใครก็มีรูปร่างตามประเภทของอินเดียเป็นแขกของไทยเป็นนายโรงนี้เป็นของชาวเหนือเข้าลักษณะลาวเพราะกิริยาพาทีในเรื่องเป็นลาวไปหมด จึงบอกความประสงค์ให้ช่างคิดเขียนเขาก็ทำมาให้หน้าดูดีตามที่พิมพ์ไว้หน้า ๖๗,๗๕ และ๘๕ พระวรวงศ์เธอที่กล่าวพระนามมาแล้ว ทรงทราบความดำรินี้ได้ทรงแนะนำในลายพระหัตถ์ว่า "รูปภาพนั้นแทนที่จะเขียนภาพคิดขึ้นใหม่ใส่เข้าไปถ้าหาภาพรามเกียรติ์ที่เขาเขียนตามผนังโบสถ์ในเมืองลาวเช่นที่วัดกลางหรือวัดเหนือในเมืองร้อยเอ็ด(ฉันเคยเห็นเอง)และถ่ายจำลองมาลงได้จะทำให้หนังสือนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น อีกมากเชื่อว่าไม่ต้องไปหาไกลถึงร้อยเอ็ดก็คงได้ลองสืบเจ้าคุณพรหมมุนีที่วัดบรมนิวาสดูท่านคงบอกได้ว่ามีที่ไหนบ้างที่ทรงแนะนำนี้สมควรนักแต่ท่านพระพรหมมุนีว่ายังไม่พบที่ไหนในกรุงเทพฯจึงเป็นอันพิมพ์ภาพคิดขึ้นใหม่ไปก่อนแต่แม่ไม่มีโอกาสจะจำรองภาพรามเกียรติ์ลาวได้ในขณะนี้ก็ได้ทราบเบาะแสตามลายพระหัตถ์ไว้พลางว่ามีภาพเช่นนั้นอยู่ในวัดทางเหนือๆ ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าขออุทิศน้ำพักน้ำแรงที่ทำเรื่องนี้แด่พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทองจันทรางศุ)ผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับที่ข้าพเจ้าอาศัยได้ความรู้เรื่องสมความประสงค์

 

๒๒๔ หน้า

เลขหมู่หนังสือ: ๒๙๔.๓๑๘๘๓ ช๕๑๒


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
ปีที่พิมพ์: 2476
วันที่รับเข้า: 28/05/2018