< หน้าหลัก / หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ / บาญชีเรื่องหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณ ภาคที่ 1 แพนกบาฬี พ.ศ.2459 >

บาญชีเรื่องหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณ ภาคที่ 1 แพนกบาฬี พ.ศ.2459

บาญชีเรื่องหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณ ภาคที่ 1 แพนกบาฬี พ.ศ.2459

เนื้อหาอย่างย่อ

กรรมการหอพระสมุดฯ สำหรับพระนคร พิมพ์เฉลิมพระเกียรติยศ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ บรมธรรมิกราชวงษ์วิสุทธิ วชิราวุธราชปฤจฉานุวัตน์ รัตนบัณฑิตาติ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร เปรียญ ภ.จ.ก, น.ร, ป.จ.ว, ม.ช, ม.ส.ม, ว.ม.ล, ร.ด.ม, (ศ,พ,) ร.ม.ป.ร,๓ ร.จ.ป.ร,๒ ร.ว.ป.ร,๑ เสนาบดีที่ปฤกษา มหาเสวกเอก สมุหมนตรี รัฐมนตรี องคมนตรี นายกกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓ จน พ.ศ.๒๔๕๘


เมื่อพระบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ เสด็จดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ได้มีปรารภจะพิมพ์บาญชีเรื่องหนังสทอซึ่งมีอยู่ในหอพระสมุด ฯ ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายแลได้ให้เริ่มลงมือทำบาญชีหนังสือแล้ว แต่การยังค้างอยู่ ด้วยการที่จำทำบาญชีหนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เปนการยาก ผิดกับการทำบาญชีห้องสมุด เพราะหนังสือมีมากมาย ปลได้เพิ่มเติมอยู่เสมอไม่รู้สิ้น แต่เดิมได้ทำบาญชีรายเรื่องไว้ตามหนังสือซึ่งได้มายังหอพระสมุด ฯ แต่ครั้นเมื่อจำทำบาญชีลงพิมพ์ เอาหนังสือตรวจเรื่องสอบกับบาญชี ความจริงจึงปรากฏว่า จะเอาหนังสือซึ่งเขาจดบอกไว้ในหนังสือนั้นๆมาเปนหลักของการทำบาญชีไม่ได้ บางทีหนังสือเรียกชื่อเดียวกัน แต่แต่งต่างยุคต่างสำนวน ความสั้นความยาวผิดกัน เปนหนังสือต่างเรื่องก็มี ยกตัวอย่างดังหนังสือไตรภูมิ ถเจดบาญชีตามชื่อ ก็มีแต่ ๒ เรื่อง เรียกว่าไจรภูมิโลกสัณฐานเรื่อง ๑ ไตรโลกวินิจฉัยเรื่อง ๑  แต่ครั้นเมื่อตรวจสอบดูตัวความหนังสือไตรภูมิทุกฉบับบรรดามีในหอสมุด ฯ จึงปรากฏว่ามีต่างกัน ๗ เรื่อง คือ ไตรภูมิพระร่วง แต่งครั้งสมเด็จพระร้วงลิไทยครองรพนครศุโขไทยเรื่อง ๑ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย แต่งในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร เมื่อปีจอจัตวศก พ.ศ. ๒๓๔๕ เรื่อง ๑ ไตรโลกวินิจฉัย แต่งแก้ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีเถอะเบญจศก พ.ศ. ๒๓๒๖ เรื่อง ๑ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย แต่งย่อความในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีเถาะเบญจศก พ.ศ. ๒๓๒๖ เรื่อง ๑ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ชำระในรัชกาลที่ ๓ เรื่อง ๑ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ความชเลยศักดิ์ ได้มาจากวัดท่าในคลองบาทหลวงเรื่อง ๑ หนังสืออื่นๆที่มีชื่อน้อย แต่ต่างความกันหลายเรื่องอย่างไตรภูมินี้ยังมีอีกมาก อีกสถาน ๑ หนังสือซึ่งเรียกชื่อต่างกัน แต่ครั้นเมื่ออ่านตรวจความดู ได้ความว่าที่จริงเปนหนังสือเรื่องเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่นตำนานต่างๆอันมีอยู่มากมายหลายเรื่อง แลเรียกชื่อต่างๆกัน แต่ครั้นเมื่ออ่านตรวจเข้า ได้ความว่าตำนานหนังสือเหล่านี้ โดยมากรวมอยู่ในหนังสือพงษาสดารเหนือแล้วทั้งนั้น ดังนี้เป็นตัวอย่าง เมื่อความจริงเปนเช่นนี้ การทำบาญชีหนังสือจึงต้องอ่านตรวจความก่อนทุกเล่ม จะเอาแต่ชื่อที่จดบอกไว้ในหนังสือนั้นๆเปนประมาณไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนทำบาญชีจำต้องเปนพหูสูตร ได้เคยอ่านหนังสือมากพอที่จะจำได้ว่า หนังสือเรื่องนี้เค้าความเหมือนเรื่องนั้น ซึ่งควรจำต้องสอบกันแลต้องชำนาญทางสังเกตโวหารพอจะรู้ได้ว่า หนังสือเรื่องใด แต่งผิดยุคผิดสำนวนกัน การทำบาญชีหนังสือให้หอพระสมุด ฯ จึงมีพนักงานน้อยตัวคนที่จะทำได้ แลต้องกินเวลาสอบสวนช้านาน เมื่อความลำบากปรากฏขึ้นดังนี้ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ เคยทรงปรารภกับข้าพเจ้าว่า บาญชีหนังสือหอพระสมุด ฯ เห็นจะได้พิมพ์แจกต่อเมื่อศพเราคนใดคนหนึ่งที่จะตายไปก่อน แต่ก็มิได้ทรงย่อท้อในการที่จะเพียรทำบาญชีให้สำเร็จ ได้ทำเสมอมา แต่ที่ทำผิดพลาดไปแล้วต้องกลับทำใหม่ก็หลายครั้ง บาญชีหนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนครจึงยังไม่ได้พิมพ์มาจนตราบทุกวันนี้

                บัดนี้พระเจ้าพรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์สิ้นพระชนม์ไป กรรมการแลพนักงานในหอพระสมุด ฯ มีความอาไลย อยากจะพร้อมกันทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเฉลิมพระเกียรติยศ แลเปนเครื่องหมายความเคารพรักใคร่ในพระเจ้าบรมวง์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ มาปฤกษากัน เห็นว่าลำพังหอพระสมุด ฯ จะทำการอย่างอื่นเห็นจะไม่เหมาะยิ่งกว่าพิมพ์บาญชีหนังในหอพระสมุด ฯ แม้แต่ส่วน ๑ ให้สำเร็จตามพระประสงค์ ให้ทันแจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอรพันธุ์ เมื่อคิดเห็นพร้อมกันเช่นนี้แล้ว ตรวจดูบาญชีหนังสือที่ไดทำมา เห็นว่าหนังสือแพนกบาฬีคือบาญชีพระไตรปิฎก แลหนังสืออื่นๆซึ่งแต่งด้วยภาษามคธ กับหนังสือภาษาไทยซึ่งบัณฑิตย์ได้แปลจากภาษามคธนั้น ได้ทำบาญชีร่วมอยู่แล้ว พอจะระดมกันทำที่ยังค้างให้สำเร็จทันพิมพ์แจกในงานพระศพกรมพรสมมตอมมรพันธุ์ได้ จึงตกลงที่จะพิมพ์บาญชีหนังสือแพนกบาฬีภาคที่ ๑ ของบาญชีหนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนคร

                การทำบาญชีหนังสือแพนกนี้ ส่วนหนังสือภาษามคธ พระยาพจนสุนทร (เรือง อติเปรมานนท์) เปนแม่กอง ส่วนหนังสือแปลหลวงญาณวิจิตร (สิทธ์ โลจนานนท์) เปรียญเปนแม่กอง ส่วนหนังสือ ลาว นายพรหมม เปรียญ เปนผู้ทำ พนักงานหอพระสมุด ฯในแพนกอื่นซึ่งมีความสามารถจะทำได้ ได้ช่วยกันมาทำเปนการระดมอีกหลายคน การที่จะทำเพราะจวนวัน บาญชีที่พิมพ์ในเล่มนี้คงจะมีที่พลาดพลั้งอยู่บ้าง ถึงกระนั้นเชื่อว่าคงจะเป็นของพอใจของท่านผู้อ่านทุกจำพวกพระภิกษุสามเณร แลคฤหัสถ์ศึกษาพระปริยัติธรรม คงจะพอใจที่จะบาญชีนี้โดยจะทราบได้ว่ามีหนังสือเรื่องใดๆบ้าง ซึ่งสมควรจะศึกษาเล่าเรียน เพื่อเจริญความรู้ในภาษามคธ แลพระพุทธวจนะในพระสาสนา ตลอดจนรู้เรื่องตำนานต่างๆ ซึ่งโบราณบัณฑิตย์ได้แต่งได้ในภาษามคธ จำพวกที่เปนสัปรุษหรือเปนนักเรียนแสวงหาความรู้ธรรมานุธรรมปฏิบัติ แลสาสนประวัติโดยทางภาษาไทยก็จะพอใจ ด้วยจะเห็นในบาญชีนี้ว่ามีหนังสือเรื่องใดๆซึ่งเปนประโยชน์แก่กางศึกษาของตนบ้าง แม้นอกจาก ๒ จำพวกที่กล่าวมาแล้ว แลเปนผู้ประสงค์ต่อความเจริญรุ่งเรืองของสยามประเทศ ก็จะพอใจที่ได้เห็นว่า หนังสือพระไตรปิฏกอันเปนหลักของพระพทธศาสนา แลหนังสืออื่นๆซึ่งแต่งในภาษามคธ กับทั้งคัมภีร์แปลงหนังสือนั้นๆเปนภาษาไทย มีอยู่ในหอพระสมุดสำหรับพระนครไม่น้อย แลไม่น่าอายหอสมุดประเทศใดๆในโลกนี้

                ข้าพเจ้าควรชี้แจงแก่ท่านทั้งหลาย ว่าบาญชีหนังสือที่พิมพ์ในเล่มนี้ เปนแต่บาญชีเรื่อง เรียบเรียงให้รู้ว่ามีเรื่องอะไรๆบ้าง แลเรื่องใดการผูกกี่เล่มจบเรื่อง มิใช่บาญชีจำนวนหนังสือ หนังสือที่มีในหอพระสมุดสำหรับพระนคร จำนวนหนังสือมีมากกว่าที่ได้ลงในบาญชีนี้มาก ด้วยหนังสือยังมีมากกว่าที่ได้ลงในบาญชีนี้มาก ด้วยหนังสือหลวงคัมภีร์ ๑ โดยมากมีหลายๆจบ ที่มีแต่จบเดียวนั้นน้อย คัดลงบาญชีที่เรื่องต่างกัน ยังควรชี้แจงอีกข้อ ๑ ด้วยเรื่องพระรุปกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ซึ่งจำลองไว้ข้างหน้าหนังสือนี้ พระรูปนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเปนพระรูปหลังทุ่ดที่ท่านได้โปรดให้ถ่าย ก่อนนั้นได้ทรงค่ายพระรูปทรงเครื่องเต็มยศราชเสวกรูป ๑ เมื่อกรมพระสมมต ฯ ประทานพระรูปนั้นแก่ข้าพเจ้าๆทูลว่า อยากจะฉายพระรูปกรมพระสมมต ฯ โดยฐานที่เปนสภานายกหอพระสมุดวิชิรญาณอีกสักรูป ๑ ก็เต็มพระไทย จึงเสด็จมาให้ถ่ายที่บ้านข้าพเจ้า เมื่อต้นปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๗ ข้าพเจ้าได้ถ่ายพระรุปนี้เอง พัดเปรียญที่ตั้งไว้ในรูปนั้นมิใช่เครื่องประดับ เปนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ทรงตั้งกรมพระสมมตฯเปนเปรียญ โดยเหตุกรมพระสมมตฯได้แปลหนังสือนิบาตชาดกถวายเมื่อปิ่มโรงฉศก พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จพระมหาสมณะทรงตรวจหนังสือนั้นแล้ว ประทานหนังสือสำคัญว่า กรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงชำนาญมคธภาษา ถึงภูมิเปรียญ ๕ ประโยคชั้นสูง พระบาทสมเด็จพระจุลจอเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินดี จึงโปรดให้สร้างพัดเปรียญ ๕ ประโยคขนาดน้อย พระราชทานเปนเกียรติยศ มีคฤหัสถ์แต่กรมพระสมมตอมรพันธุ์พระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานพระเกียรติยศอย่างนี้

                การที่กรรมการแลพนักงานหอสมุด ฯ ได้พร้อมกันพิมพ์บาญชีหนังสือเล่มนี้ให้แพร่หลาย ด้วยเจตนาที่จะเฉลิมพระเกียรติยศพระบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ครั้งนี้ ถ้าแลหนังสือที่ได้พิมพ์เปนเหตุให้เกิดกุศลานิสงษ์ได้ด้วยประการใด เปนต้นว่า ให้เจริญความศรัธทาเลื่อมใสในพระรัตนไตรยก็ดี ให้เจริญการเล่าเรียนพระพุทธวจนะ เปนประโยชน์แก่การสืบอายุพระพุทธสาสนาก็ดี แม้ที่สุดถ้าสามารถจะเปนเหตุให้เจริญความยินดีแก้ผู้ใดผู้หนึ่ง โดยแลเห็นคุณประโยชน์ของหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตั้งขึ้นเฉลิมฉลองพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกกนารถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับตำแหน่งสภานายกแรกทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ จนเปนสถานที่อันหนึ่ง เปนที่หมายเกียรติคุณของสยามประเทศ อันสาธุชนควรเลื่อมใสยินดี แลรฤกถิ่งพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ พระองค์นั้น กูศลทั้งปวงบรรดาสามารถจะเกิดได้ด้วยการพิมพ์สมุดเล่มนี้ ถ้าหากมีขึ้นได้ด้วยประการใดๆ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนั้นถวายแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ผู้เปนสภานายกของหอพระสมุด ฯ ซึ่งเสด็จไปสู้ปรโลก แม้จะสถิตในทิพยสถานแห่งใดๆ ถ้ามีญานวิถีสามารถจะทรงทราบได้ไซร้ ขอจงได้ทรงรับส่วนกุศล แลจงทรงอนุโมทนาด้วยเทอญ ฯ

๑๑๕ หน้า

เลขหมู่หนังสือ: ๐๑๕.๕๙๓ บ๒๘๘ ภ.๑


หมวด: หนังสือหายาก
หมวดรอง: -
ผู้แต่ง: หอพระสมุดสำหรับพระนคร, รวบรวม
ปีที่พิมพ์: 2459
วันที่รับเข้า: 28/05/2018