พระโสภณอักษรกิจ ( เล็ก สมิตะสิริ ) มาแจ้งความประสงค์แก่กรมศิลปากรว่าใครจะได้หนังสือสักเรื่องหนึ่งไปตีพิมพ์สำหรับแจก ในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่น พงศาดิศร มหิป เพื่ออุทิศกุศลถวายสนองพระคุณและปรารภว่าถ้าได้เรื่องเกี่ยวกับจีนด้วยก็ยิ่งดี กรมศิลปากรจึงได้เลือกสุภาษิตขงจื้อ ซึ่ง พระอมรโมลีสถิต ณ วัดราชบูรณะ แปลไว้เมื่อพ.ศ. 2369 เรื่องหนึ่งกับเรื่องนางเคง เกียงสอนบุตร ซึ่งในบานพะแนก จด ไว้ว่า เป็นของพระยาศรีสุนทรโวหารคัดไว้อีกเรื่องหนึ่งให้ตีพิมพ์ด้วยเห็นว่า หนังสือสองเรื่องนี้เป็นเรื่องขนาดเล็ก สมควรจะพิมพ์รวมกันได้ และในต้นฉบับสุภาษิตขงจู๊ ยังมีเรื่องคนร้อยจำพวกจดไว้ข้างท้ายอีกเรื่องหนึ่ง แม้จะไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับสุภาษิตขงจู๊ แต่ถ้าจะทิ้งเสียก็เสียดาย จึงได้คัดมารวมพิมพ์ไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อรักษาสำนวนและความคิดของเก่าอนึ่งเรื่องสุภาษิตขงจู๊ ฉบับที่ตีพิมพ์นี้ กรมศิลปากรมุ่งหมายจะรักษาต้นฉบับหนังสือของเก่าไว้ไม่ให้สูญเท่านั้นส่วนข้อความจะตรงกับต้นฉบับภาษาจีนที่แปลมาเพียงไร ท่านผู้อ่านที่รู้ภาษาจีนอาจตรวจดูได้ในหนังสือซี้จื้อ หมวด ลุ่นงื้อ การพิมพ์สุภาษิตของจูครั้งนี้ กรมศิลปากร ณ ที่นี้สักเล็กน้อยเท่าที่จะมีโอกาสค้นหามาเล่าได้ ขงจู๊ เกิดเมื่อก่อน พ.ศ. 8 ปีและถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 65 ตำบลที่เกิดเป็นหมู่บ้านน้อยแห่งหนึ่งซึ่งในปัจจุบันนี้อยู่ทางตะวันตกของมณฑล ซัวตัง (ชานตุง) ในประเทศจีนแต่ในสมัยขงจู๊ เรียกว่าเมืองล่อ ในยุคก่อนขงจู๊เกิด ย้อนขึ้นไปจนสมัยดึกดำบรรพ์ พงศาวดารจีนกล่าวว่ามีกษัตริย์อยู่ 3 องค์ที่ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ได้รับความร่มเย็นเป็นศานติสุข คือ เงี้ยวเต้ ซุ่นเต้และอู้เต้ เมื่อครั้งยังไม่ได้เป็นกษัตริย์ได้รับหน้าที่เป็นแม่กองออกไปกำกับการทดน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลล้นท่วมแผ่นดินให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ราษฎร อู้เต้ได้ตั้งความเพียรกำกับการทดน้ำนี้ถึง 8 ปีจึงสำเร็จระหว่างนั้น อู้เต้เคยเดินผ่านหน้าบ้านของตนถึง 3 ครั้งแต่เพื่อรักษาหน้าที่อย่างเคร่งครัด อู้เต้ไม่เคยแวะเข้าไปเยี่ยมบ้านแม้แต่ครั้งเดียว อู้เต้เป็นพระปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์แฮ่ ซึ่งในพงศาวดารจีนนับเป็นราชวงศ์แรก