ท่านทั้งหลายข้าเจ้าขอกล่าวว่าหนังสือ”จรรยายุวชน” ชุดนี้ บังเกิดขึ้นเพราะหนังสือ “ ประถมจรรยา” เป็นปัจจัยคือเมื่อข้าพเจ้าได้เรียบเรียงประถมจรรยา ๓ เล่มแล้ว ประทรวงธรรมการได้อนุญาตให้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนทั้งหมดและเกือบจะกล่าวได้ว่าได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนทั้งหมดและเกือบจะกล่าวได้ว่าได้รับอนุญาตคราวเดียวพร้อมกันทั้ง ๓ เล่ม ที่เป็นปัจจัยคือ หนังสือประถมจรรยาได้เป็นที่นิยมของการสอนการเรียนแพร่หลายรวดเร็วอย่างมิได้นึกฝัน “จรรยายุวชน” เป็นจรรยาอีกชุดหนึ่งต่อจาก “ประถมจรรยา” ชุดนี้มี ๔ เล่มสำหรับใช้ในมัธยมตอนต้น เมื่อข้าเจ้าเรียบเรียงขึ้น ๒ เล่มแล้ว กระทรวงธรรมการได้อนุญาตอีก ความแพร่หลายของหนังสือจรรยายุวชนทั้ง ๒ เล่มแรกก็ยังเกิดขึ้นเป็นปัจจัยครั้งที่ ๒ อีก ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นการสนองความตั้งใจดีของข้าพเจ้ายิ่งนัก บัดนี้จรรยายุวชนเล่ม๓ ได้บังเกิดแล้ว และปฏิสนธิขึ้นจากเวลาวาง ในขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ในเพศบรรพชิตปี พ.ศ.๒๔๓๙ ขอท่านที่มีจิตต์นิยมทั้งหลายจงได้รับส่วนกุศลจากความตั้งใจดีของข้าพเจ้าด้วย จรรยายุวชนเล่ม ๓ นี้ ดำเนินไปหาหนังสือแนวสอนขรยาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตามความประสงค์ของกระทรวงธรรมการเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในคำนำเล่ม ๒ แต่นี่เป็นจรรยาในกระทรวงธรรมการ ไม่ใช่ฝนกระทรวงกลาโหมข้อความโวหารจึงต่างกันไป จรรยายุวชนเล่ม๓ นี้ต่อเนื่องจากเล่ม ๒ จึงยากขึ้นเป็นธรรมดา และหันเข้าหาหลักธรรมะของศาสนาพุทธ ด้วยเหตุว่าเมืองไทยคนไทยอยู่ครอบครองทั้งพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเป็นศาสนูปถัมพกทุกๆพระองค์ ฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาที่วิชาจรรยาจะหันไปหาศาสนาอื่นให้เหมาะหรือดียิ่งไปกว่าพุทธศาสนาอีกแล้ว ท่านผู้สอนโปรดอย่างเร่งให้ผู้เรียนท่องจำคำที่ออกมาจากหลักแห่งศาสนานัก เช่นคำว่า “อิทธิบาท วิริยะ หิริ” เป็นต้น ข้าพเจ้าเกรงว่าผู้เรียนจะงันเสียด้วยความวิตกวิจารเกินไป โปรดอธิบายใจความให้แจ่มแจ้งไปก่อนเถิด ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้นย่อมมีความเคยชินในคำกล่าวแล้วนี้ไปเอง อนึ่งขอให้พยายามกระทำความมั่นใจให้ผู้เรียนเป็นพระไป เพราะความจริงผู้เรียนยังไม่มีนิสัยในทางพระเลยก็ว่าได้ อย่างไรก็ดีวิชาจรรยาต้องการสอนและอบรมให้ผู้เรียนเป็นคนดี ถ้าสำหรับยุวชนด้วยแล้วต้องการให้เด็กประพฤติตนให้เรียบร้อยตามวัยของตนได้จริงๆ ดังนี้การหัดเด็กให้มีนิสัยรักวิชาจรรยาพร้อมกับประพฤติตนไปตามที่เรียนรู้ด้วยจึงเป็นข้อสำคัญมาก ที่สุดแห่งความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอขอบคุณพระภิกษุฌาณรโต (แสวงภีมะนัฏ) ในการที่ได้ช่วยเหลือข้าพเจ้าพร้อมด้วยกายวาจาและใจเป็นอย่างดี และพร้อมกันในขณะนี้ ข้าพเจ้าขอขอบคุณบางท่านที่ส่งเสริมความเจตนาดีของข้าพเจ้า อาทิเช่นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแก้เป็นต้น ข้าพเจ้าขอระงึกคุณความดีของท่านทั้งหลายไว้แล้วด้วยกาลนาน
พิมพ์ครั้งแรก ๕,๐๐๐ ฉะบับ
๗๖ หน้า
DDC: ๑๗๐ ส๒๑๔จ